ดอกชมพูภูคาแห่งใหม่บานสะพรั่งที่สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถาน อ.นาน้อย จ.น่าน ต้อนรับฤดูร้อน

นายต่อพงศ์ จันโทภาส หัวหน้าอุทยานแห่งชาติขุนสถานอ.นาน้อย จ.น่าน เปิดเผยว่า
ดอกชมพูภูคาหนึ่งเดียวในโลกอวดโฉม บานชมพูสะพรั่งที่ต้นน้ำขุนสถาน ต้อนรับนักท่องเที่ยวช่วงวันหยุดคลายร้อน ที่สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถาน บ้านขุนสถาน หมู่ 3 อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ช่วงวันหยุด นักท่องเที่ยวที่มาชมดอกชมพูภูคาหนึ่งเดียวในโลก

ขณะนี้ดอกชมพูภูคาหนึ่งเดียวในโลก มีให้เลือกชมถึง 2 แห่งแล้ว คือ แหล่งดั้งเดิมแห่งแรกที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน และที่กำลังมาแรงคือที่สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถาน บ้านขุนสถาน(ม้ง) หมู่ 3 ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน กำลังบานบานเต็มที่อวดความงามสีชมพูบานสะพรั่งไปทั้ง 4 ต้น ที่ นายมนตรี พุทธวงศ์ อดีตหัวหน้าสถานีวิจัยฯ ได้นำพันธ์จาก อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มาปลูก เมื่อปี 2529 จำนวน 5 ต้น เป็นเวลา 33 ปี มาแล้ว และได้ออกดอกบานสะพรั่งครั้งแรกช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งขณะนี้ สถานีต้นน้ำขุนสถาน ที่มีความงามจากธรรมชาติให้นักท่องเที่ยวได้ทั้งปี โดยในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างจังหวัดพากันไปเที่ยวชมดอกชมพูภูคากันมาก นอกจากนี้ยังมีสตอเบอรี่รสดีปลอดสารสดกรอบสามารถเดินชิมได้จากไร่ โครงการหลวง และของชาวม้ง บ้านขุนสถาน หมู่ 3 บ้านแสนสุข หมู่ 9 ตลอดเส้นทาง สถานีวิจัยฯ จนถึงอุทยานแห่งชาติขุนสถาน

สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถาน บ้านขุนสถาน(ม้ง) จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มาแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวจังหวัดน่าน เพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่ง นอกจากสถานที่ท่องเที่ยว 7 แห่งของอุทยานแห่งชาติจังหวัดน่าน เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถมาพักได้ทั้งปี

ชมพูภูคา มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ : Bretschneidera sinensis Hemsl. เป็นต้นไม้อยู่ในวงศ์ : BRETSCHNEIDERACEAE ชมพูภูคา เป็นพันธุ์ไม้หายากที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลก ชมพูภูคา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15-25 เมตร จะเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณป่าดงดิบ ตามไหล่เขาสูงชันที่มีความสูงตั้งแต่ 1,200 เมตรขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล และมีความชื้นของอากาศสูง มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีค่อนต่ำ ซึ่งปัจจุบันมีรายงานการค้นพบในโลกเพียงที่เดียวคือที่ อุทยานแห่งชาติดอยภูคาโดยเมื่อเกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาเคยมีรายงานการสำรวจพบต้นชมพูภูคาทางตอนใต้ของประเทศจีนและทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม จากนั้นก็ไม่มีรายงานการค้นพบต้นไม้ชนิดนี้อีกเลย ทำให้มีการคาดการณ์ว่าอาจจะสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ไปแล้ว จนในปี พ.ศ. 2532 ดร.ธวัชชัย สันติสุข นักพฤกษศาสตร์ ได้ค้นพบต้นชมพูภูคาอีกครั้งที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน

ร่วมแสดงความคิดเห็น