มาทำความรู้จัก “ต้นม่อน” ประโยชน์และสรรพคุณเพียบ!!

วันนี้มามาปลูกต้นม่อนไว้กินดีกว่า ประโยชน์และสรรพคุณเพียบ!!

ลักษณะต้น

ไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านไม่มากนัก

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ ผิวใบสาก ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน

ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก

ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว

สรรพคุณ

ลดระดับคอเลสเตอรอล สาร Phytosterol ในใบหม่อนเป็นสารที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด โดยยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้

ลดน้ำตาลในเลือด สารที่เรียกว่าดีอ๊อกซิโนจิริมายซิน ซึ่งมีอยู่ 0.1% ในใบหม่อน โดยสารนี้จะพบเฉพาะในใบหม่อนเท่านั้น ซึ่งมีผลในการยับยั้งการทำงาน ของเอนไซม์ที่ย่อยสลายน้ำตาล และชะลอการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้ ซึ่งมีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด

ลดความดันโลหิต สาร Gamma-amino butyric acid ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต

บำรุงร่างกาย นอกจากมีสารที่เป็นประโยชน์ในทางการแพทย์แล้ว ยังพบว่าในการวิเคราะห์ชาเขียวจาก ใบหม่อนพบแร่ธาตุต่าง ๆ และโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

“ผลหม่อน” นอกจากใช้รับประทานผลสดเมื่อสุกได้แล้ว ยังใช้ทำน้ำผลไม้ ไวน์ และมีสรรพคุณตามตำราเภสัชศาสตร์ของจีน คือ รักษาโรคท้องผูก บำรุงโลหิต ขจัดลม บำรุงไต บำรุงสายตา ทำให้ดวงตาสว่าง (ข้อนี้ตรงกับอาซิ้มบอกผมไว้เลย) มีประโยชน์ต่อข้อ กระดูก รักษาโรคไขข้อ บำรุงหัวใจ บำรุงผมให้ดกดำ (หลายท่านที่กำลังอ่านอยู่นี้ ควรเริ่มทานผลหม่อนได้แล้วครับ)แก้พิษสุรา (แต่คงทำให้เลิกสุราไม่ได้นะครับ เลี่ยวฮียัง นักแพทยศาสตร์ สมัยราชวังศ์เหม็ง กล่าวถึงผลหม่อนว่า “ผลหม่อนมีรสหวานเย็น ขจัดความร้อน บำรุงโลหิต มีคุณต่อธาตุตัวเมีย (ตามข้อวินิจฉัยของแพทย์จีนนั้นหากธาตุตัวเมียในร่างกายไม่เพียงพอก็จะทำให้เลือดลมในกระดูกไม่ผ่าน โลหิตเกิดเต็ม ถ้าพลังตัวเมียเพียงพอ เลือดลมก็จะผ่านไปได้) เพื่อขจัดความร้อนออกไปจากร่างกายได้ ธาตุตัวเมียก็จะเกิดทำให้ตับไม่มีไฟ หัวใจคายความร้อนรุ่ม เส้นประสาทตาดี สายตาก็แจ่มใส ร่างกายก็สุขสบาย

“ใบหม่อน” ก็สามารถนำไปปรุงเป็นยาได้เช่นเดียวกัน นอกจากนั้นชาวจีนยังนำใบหม่อนและกิ่งก้านหม่อนมาทำสบู่ได้อีกด้วย แต่ต้องขออภัยที่ไม่สามารถหารายละเอียดเกี่ยวกับการทำสบู่จากหม่อนมาให้ท่านทราบได้ หรือถ้าท่านทราบก็อย่าลืมส่งข่าวมาให้เราทราบบ้างนะครับ เมื่อเป็นเช่นนี้คาดว่าน่าจะมีสรรพคุณในการบำรุงผิว หรือรักษาโรคผิวหนังได้ แต่ที่แน่ๆ คือ สามารถนำยอดหม่อนมาใส่ต้มยำเป็ดหรือต้มยำไก่ เพิ่มความอร่อยไม่แพ้ยอดน้อยหน่าและกัญชาเลยนะครับ แถมยังไม่ผิดกฎหมายอีกด้วย

“รากหม่อน” น้ำคั้นจากรากหม่อน (Morus nigra) สามารถลดการเกิดน้ำตาลในเลือดสูงนั่นคือ สามารถลดความรุนแรงและรักษาโรคเบาหวานได้ (Indian Silk,1990) เมื่อเร็ว ๆนี้ คณะนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น สามารถแยกฮอร์โมนชนิดหนึ่งจากรากหม่อนชื่อ Moranoline ปัจจุบันสารนี้รู้จักกันอย่างแพร่หลายในนามของ DNJ เนื่องจาก DNJ มีคุณสมบัติที่สามารถเปลี่ยวน้ำตาล Sucrose ให้เป็น Gluclose ได้ ซึ่งจากผลการกระทำนี้ จะช่วยต่อต้านการระบาดของ เอดส์ โดยไกลโคโปรตีน ที่ผิวของเชื้อ HIV ( Human Immunodeficiency Virus) เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์จะเก็บน้ำตาลที่ไม่จำเป็นไว้เป็นจำนวนมาก ส่วนแขนเชื่อมด้านข้างของน้ำตาลจะอิ่มตัวหมดสภาพจะไปทำลายเซลล์ใหม่ได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น