15 มีนาคม 2562 วันสิทธิผู้บริโภคสากล

สิทธิผู้บริโภคไทย เป็นอย่างไรบ้าง

สำหรับประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิผู้บริโภคด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่า ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ก็ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 57 ว่า “สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภค ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” และในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ก็ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไว้ 5 ประการ ดังนี้

1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้อง และเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริง และปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้อง และเพียงพอที่จะไม่หลงผิดในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม

2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความสมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม

3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว

4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ

5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว

วันที่ 15 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันสิทธิผู้บริโภค ในบ้านเราก็จะมีประเด็นเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคแตกต่างกันออกไปในแต่ละปี แสดงให้เห็นว่าขอบเขตการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยมีการพัฒนาและขยายบทบาทไปอย่างกว้างขวาง โดยมีทั้งการทำงานเชิงนโยบาย เช่น ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค การจัดยุทธศาสตร์การเข้าถึงยาถ้วนหน้าของประชากรไทย การจัดการความรู้ในเชิงประเด็น เช่น การจัดการปัญหาน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ และการจัดการอันตรายจากแร่ใยหิน เป็นต้น

สื่อออนไลน์ (Online Media) มีบทบาทกับสังคมปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ข้อมูลข่าวสารบนสื่อออนไลน์ซึ่งมีอยู่มากมายนี้ มีทั้งข้อมูลจริง ข่าวลือ  และ ข่าวลวง เนื่องจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถทำหน้าที่ได้ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร โดยมีสื่อใหม่ (New Media) อาทิ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไลน์ ยูทูป เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความสะดวกในการติดต่อสื่อสารแล้ว ยังมีบทบาทในการกำหนดประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ดังนั้น สื่อออนไลน์ จึงมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรมการเสพข้อมูลข่าวสารของผู้คนในยุคปัจจุบัน ขณะที่ สื่อสิ่งพิมพ์ดั้งเดิม หรือ สื่อกระแสหลัก ก็ให้ความสำคัญกับการผลิตข่าวออนไลน์มากขึ้น และลดปริมาณการผลิตสิ่งพิมพ์ตามความต้องการที่ลดลงเช่นกัน นอกจากนี้ สื่อประเภททีวี ก็มีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปด้วยการผลิตข้อมูลเพื่อเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกในการชมข้อมูลย้อนหลังในรูปแบบคลิปวิดีโอ รวมถึงการพัฒนาไปสู่ระบบทีวีดิจิทัล

สื่อออนไลน์ นับวันยิ่งมีอิทธิพลต่อมนุษย์มากขึ้น ก่อนหน้านี้สื่อสังคมออนไลน์จะไม่มีน้ำหนักเท่าในปัจจุบัน แต่ทุกวันนี้คนมุ่งเน้น ให้น้ำหนักกับประเด็นต่าง ๆ บนโลกออนไลน์มากขึ้น ทั้งประชาชน สถาบันสื่อสารมวลชน ภาครัฐ ต่างหันมาหยิบยกประเด็นบนโลกออนไลน์ไปจุดประเด็นต่อ ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ชาวบ้านร้องเรียนเรื่องราวเรื่องหนึ่งเท่าไรก็ไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐ แต่เมื่อมีการเคลื่อนไหวผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์และเกิดเป็นกระแสโด่งดังขึ้นมา หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องรีบเร่งพากันลงพื้นที่ไปแก้ไขปัญหานั้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของสื่อออนไลน์ ที่นับวันยิ่งมีอานุภาพมากขึ้น ๆ

   เสพสื่อออนไลน์อย่างมีสติ ปัจจุบัน ผู้บริโภคไทยมีพฤติกรรมการบริโภคสื่ออินเตอร์เน็ตสูงขึ้น จากผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2557 ของ ส านักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. พบว่า ค่าเฉลี่ยของการใช้อินเทอร์เน็ตต่อสัปดาห์เพิ่มสูงขึ้นจากการใช้งาน โดยเฉลี่ย 4.6 ชั่วโมงต่อวัน ในปี 2556 เพิ่มขึ้นเป็น 7.2 ชั่วโมงต่อวัน หรือ อาจจะกล่าวได้ว่า ใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ของวันเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต ทำให้คาดการณ์ได้ว่าในอนาคตข้างหน้าคนส่วนใหญ่จะยิ่งใช้เวลาอยู่กับคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือมากขึ้นไปอีก ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องให้โลกของสื่อสังคมออนไลน์ขยายตัวเพิ่มขึ้น

เมื่อสื่อออนไลน์กลายเป็นเทคโนโลยีที่เข้าถึงง่าย สามารถโต้ตอบได้อย่างรวดเร็ว ทำให้บางครั้งไม่มีการ กลั่นกรองข้อมูล ผู้คนกดไลก์ กดแชร์ในสิ่งที่ตนชอบหรือตรงกับทัศนคติของตน โดยไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง เน้นการอ่านพาดหัวข่าวที่ตรงกับความชอบแล้วกดแชร์ในทันที จนลืมคำนึงไปว่าการกระทำเช่นนี้อาจล้ำส้นเรื่อง สิทธิ เสรีภาพ เกิดการละเมิดสิทธิอีกทั้งยังเสี่ยงต่อการกระทำผิดตามกฎหมาย พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น พฤติกรรมการเสพสื่อออนไลน์ของผู้บริโภค นับได้ว่าน่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง เพราะการเสพแบบไร้สตินี่เองที่ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น เด็กและวัยรุ่นติดเกมออนไลน์อย่างไร้การ ควบคุมดูแล นำมาซึ่งปัญหาการใช้เงินจำนวนมากผ่านเกมออนไลน์โดยไม่รู้ตัว การแชร์ ภาพ เสียง ข้อมูลโดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือที่มาอย่างแน่ชัด

ซึ่งบางเรื่องอาจเป็น เรื่องละเอียดอ่อน เช่น เรื่องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งขัดต่อขนบธรรมเนียม ประเพณีไทย เป็นต้น การแก้ไขปัญหานั้น ผู้ที่สร้างสื่อต้องมีการควบคุมคุณภาพของเนื้อหา และ จริยธรรม อีกทั้งหน่วยงานของรัฐต้องมีความเข้มงวดและมีกฎหมายที่แรงมากพอที่จะ ทำให้คนกลัว ไม่กล้ากระทำผิด รวมไปถึงสถาบันครอบครัวก็ต้องมีความเข้มแข็ง ที่จะช่วยกันดูแลบุตรหลานให้เสพสื่อออนไลน์อย่างถูกต้องและพอเหมาะและเนื่องจากผู้บริโภคสามารถเป็นได้ทั้งผู้รับ และผู้ส่งสารในเวลาเดียวกัน การแชร์ข้อมูลสู่โลกสังคมออนไลน์แบบผิดๆ ทั้งในด้านของเนื้อหา เจตนาและขาด การกลั่นกรองทำให้เกิดปัญหาขึ้น การแก้ไขเบื้องต้นจึงควรเริ่มต้นที่ตัวเราเอง ด้วยการสร้างความตระหนักและ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเสพข่าวออนไลน์ควรระมัดระวังและมีวิจารณญาณในการวิเคราะห์ข่าวสารเพื่อ ป้องกันการกระทำความผิดโดยไม่ได้ตั้งใจ เรียกได้ว่า “ต้องตั้งสติก่อนแชร์”

กฎหมายฉบับนี้ก็ได้เปิดโอกาสให้ รัฐมนตรีสามารถออกประกาศกำหนดลักษณะและวิธีการส่ง รวมทั้งลักษณะและปริมาณของข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่เป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ และลักษณะอันเป็นการบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่ายเอาไว้ด้วย

นั่นจึงหมายถึงว่า การออกประกาศกำหนดในลักษณะดังกล่าวเป็นประเด็นที่น่าติดตาม เพราะประกาศฉบับนี้จะเป็นตัวชี้ว่า สิ่งใดทำได้ หรือทำไม่ได้ และทำได้แค่ไหนอย่างไร นั่นเอง

นอกจากเรื่องของการฝากร้านใน IG หรือส่งอีเมลขายของที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. คอมพ์ฉบับใหม่ที่เราขอนำมาฝากกันดังนี้

  • การทำลาย แก้ไข ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนของข้อมูลคอมพิวเตอร์ผู้อื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 9)
  • การระงับ ชะลอ ขัดขวาง รบกวนระบบของผู้อื่นจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ โทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 10)
  • การโพสต์ข้อมูลที่บิดเบือน หรือปลอม จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
  • การโพสต์ข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ หรือทำให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
  • การโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร – การก่อการร้าย จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
  • การกด Like ทำได้ไม่ผิด พ.ร.บ. คอมพ์ยกเว้นการกด Like ข้อมูลที่มีฐานความผิดดังที่กล่าวมาข้างต้น
  • การกด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
  • ผู้ดูแลระบบ หรือแอดมินเพจที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น เมื่อพบเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ถ้าได้รับการแจ้งเตือนแล้วลบออกไม่ต้องรับโทษ แต่ถ้าไม่ยอมลบออก โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ผู้ให้บริการเว็บไซต์ต้องขยายเวลาการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log) เอาไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน และกรณีที่จำเป็น อาจสั่งให้ขยายเป็น 2 ปี สาเหตุที่ขยายเวลาเนื่องจากเทคโนโลยีมีความเปลี่ยนแปลง รูปแบบการกระทำความผิดจึงอาจซับซ้อนมากขึ้น
  • การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทำให้ระบบทำงานไม่ปกติ ทำให้บาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหาย โทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  • การโพสต์ภาพลามกและสามารถแชร์สู่ประชาชนคนอื่นได้ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
  • การโพสต์ภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้าง ตัดต่อ หรือดัดแปลง ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  • การโพสต์ภาพผู้เสียชีวิต หากเป็นการโพสต์ที่ทำให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท

โดยในจุดที่เรานำมาฝากกันอาจเป็นพฤติกรรมการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับ Social Media เป็นสำคัญ แต่ใน พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวยังมีโทษเกี่ยวกับการโจมตีระบบโดยใช้มัลแวร์ หรือการเจาะระบบผู้อื่นโดยมิชอบอยู่ด้วย ซึ่งท่านที่สนใจสามารถศึกษาได้จาก พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับ 2) พ.ศ.2560

12 ข้อ ที่เราขอช่วยรักษาสิทธิให้ผู้บริโภค

ทุกวันนี้ผู้บริโภคมีความตื่นตัวในเรื่องต่างๆ มากขึ้นกว่ายุคก่อน หากพบสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควรก็จะ ร้องเรียนมายังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันทีนับเป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่ผ่านมา สำนักงาน กสทช. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคที่ถูกเอาเปรียบจากการรับชม ทีวีหรือฟังวิทยุ นับแต่เหตุเดือดร้อนรำคาญเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงเสียทรัพย์เสียสุขภาพ หรืออาจถึงเสียชีวิต จากโฆษณาที่หลอกลวง ออกอากาศซ้ำไปซ้ำมาจนทำให้เราหลงเชื่อ ดังนั้น เพื่อรักษาสิทธิและคุ้มครองผู้บริโภค กสทช.จึงออกประกาศ เรื่องการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบ ผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์พ.ศ. 2555 โดยเฉพาะสาระสำคัญในข้อ 5 ที่ผู้บริโภคควรทำความเข้าใจอย่างละเอียดเพื่อเราจะได้‘รู้ทัน’ ว่ารายการหรือโฆษณาที่เรากำลัง รับชมหรือฟังจงใจหรือเจตนาหลอกลวงหรือไม่ มีทั้งหมด 12 ข้อย่อย ได้แก่

(1) การออกอากาศรายการหรือการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายต่างๆ เช่น การโฆษณาอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ ต้องได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยาก่อน ภาพยนตร์ที่นำมาฉายต้องถูกต้องตามกฎหมายลิขสิทธิ์เป็นต้น

(2) การออกอากาศรายการหรือการโฆษณาที่มีเนื้อหาสาระที่มีลักษณะจูงใจให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการหรือสินค้า โดยหลอกลวงหรือกระทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับบริการหรือสินค้านั้น หรือโดยการใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติหรือข้อมูลที่ไม่จริงหรือเกินความจริง

(3)บริษัทกำหนดเงื่อนไขในการให้บริการที่มีข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม

(4) การกระทำที่บังคับให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการของตน หรือเจ้าของวิทยุหรือโทรทัศน์รายหนึ่งรายใดหรือหลายรายอย่างไม่เป็นธรรม

(5) การกระทำที่กีดกันไม่ให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้ตามปกติทำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระเพิ่มขึ้นในการเข้าถึงบริการของวิทยุหรือโทรทัศน์

(6) การกระทำของผู้ประกอบการวิทยุ โทรทัศน์มากกว่าหนึ่งรายขึ้นไป ร่วมกันกำหนดเงื่อนไขในการเข้าถึงบริการที่บังคับให้ผู้บริโภคต้องเลือกใช้บริการรายใดรายหนึ่ง หรือสร้างภาระให้กับผู้บริโภคในการเข้าถึงบริการนั้น

(7) การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการให้บริการ หรือระงับหรือหยุดให้บริการ โดยไม่แจ้งให้ผู้บริโภคทราบล่วงหน้า โดยไม่มีเหตุอันสมควร

(8) การออกอากาศรายการโดยมีการโฆษณาบริการหรือสินค้าเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือบ่อยครั้งจนทำให้รับชมรายการอย่างไม่ต่อเนื่อง

(9) การออกอากาศรายการที่มีข้อความหรือข้อมูล ซึ่งมีขนาดพื้นที่รวมกันเกินหนึ่งในแปดของขนาดพื้นที่หน้าจอโทรทัศน์ ซึ่งรบกวนการชมรายการของผู้บริโภค

(10) การออกอากาศรายการหรือการโฆษณาโดยใช้วิธีการเพิ่มเสียงดัง เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค

(11) การออกอากาศรายการที่เป็นการเชิญชวนให้ผู้บริโภคส่งข้อความหรือเน้นย้ำเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่มีเหตุอันสมควร

(12) กรณีอื่นๆ ที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควรว่าเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

12 ข้อในประกาศนี้จะเป็นตัวช่วยให้ผู้บริโภคตื่นตัวและรับรู้สิทธิตัวเองมากขึ้น ทุกวันนี้ช่องรายการทั้งโทรทัศน์และวิทยุมีมากมายนับพันช่องรายการ ต้องให้ผู้บริโภคช่วยกันสอดส่องดูแล เมื่อพบการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบต้องช่วยร้องเรียน 1200

‘การรู้จักสื่อ รู้จักสิทธิ’ ของผู้บริโภคสำคัญอย่างยิ่งในการคุ้มครองตัวเราเอง รวมทั้งยังช่วยพัฒนาวงการสื่อมวลชนด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น