ชานกะเล-เทพสิงห์ จากสามัญชนสู่ “เจ้าฟ้าเมืองเหนือ”

ในเอกสารงานศึกษา วิจัย เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน มีความสลับซับซ้อนของฐานข้อมูลที่ต้องให้ความสนใจ พิจารณา ทำความเข้าใจ เพราะหากหยิบยกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแง่มุม ประวัติศาสตร์โบราณ จะมีรายงานอ้างอิงหลากหลายทั้งตำนาน บันทึกพงศาวดาร คำบอกเล่าต่อๆกันมา

เพียงแค่ช่วงเวลาที่”เทพสิงห์ ” ปรากฎในประวัติศาสตร์พื้นเมืองเชียงใหม่ ราวๆพศ.2270 ภาพเหตุการณ์เมื่อเกือบ 300 ปีล่วงมา แถวๆเชิงสะพานจันทร์สมในวันนี้ กลุ่มผู้คนที่มีหนุ่มจาก เมืองยวมใต้ แม่ฮ่องสอน นำสมัครพรรคพวกลุยขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ ก่อนจะขึ้นครองเมือง ในระยะเวลาสั้นๆแค่ 1 เดือน และต่อมา อนุชนคนรุ่นหลังๆบางพื้นที่ได้เชิดชูวีรกรรม ยกย่องดั่งผู้กล้า มีการสถาปนาค่ายเทพสิงห์ขึ้นที่แม่ฮ่องสอน เป็นสิ่งย้ำเตือนคุณานุคุณ ที่บอกเล่าผ่านตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่สั้นๆฅ

สำหรับ”ชานกะเล” ซึ่งมีบันทึกเอกสารประวัติความเป็นมา ผ่านการสืบค้นค่อนข้างเป็นระบบ ตั้งแต่ครั้งเกิดกบฎสู้รบในหัวเมืองเงี้ยว ฝั่งตรงข้ามน้ำสาละวิน แล้วมีการอพยพหนีภัยศึกสงครามเข้ามาอยู่ในแผ่นดินแม่ฮ่องสอน ในปีพศ. 2397 ราวๆรัชสมัย ร.3 หนึ่งในครอบครัวชาวเงี้ยวที่อพยพเข้ามาคือ “ชานกะเล” มาอยู่บ้านโป่งหมู ด้วยความขยัน ซื่อสัตย์จนทำให้ “พะกาหม่อง” หนึ่งในผู้ดูแลจัดการไม้สักของเจ้าเมืองเชียงใหม่ ( พระเจ้ามโหตรประเทศราชาธิบดี) พอใจยกลูกสาวชื่อ”นางใส”เป็นภรรยา

ต่อมาในปีพศ. 2417 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 พระบิดาพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ใน ร.5 เห็นความขยัน ความจงรักภักดีต่อบ้านเมือง และเป็นผู้ที่ชาวเงี้ยว หรือ”ไทใหญ่” ให้ความเคารพนับถือเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเห็นว่าบ้านแม่ฮ่องสอนและบ้านปางหมูมีผู้คนอาศัยอยู่มากมาย สมควรยกฐานะเมืองแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองหน้าด่าน มีเมืองขุนยวม เมืองปายเป็นเขตแดน และมีเมืองยวมใต้ (แม่สะเรียง)เป็นเมืองรอง จึงแต่งตั้ง “พก่าเติ๊กซาน” นามเดิมของ”ชานกะเล” เป็นพญาสิงหนาทปกครองเมืองขุนยวม ต่อมาเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น”พญาสิงหนาทราชา” เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอน

ประวัติศาสตร์เชิงโครงสร้างสังคมในกลุ่มชาติพันธุ์ชนชาติไตหรือ ไท ถ้าเจาะลึกเอกสารหลักฐานในที่มาแตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพงศาวดาร ตำนานเรื่องเล่าอ้างอิงยุคพม่าปกครองและยุคเปลี่ยนผ่านมาสู่อาณานิคม ต่อเนื่องมาถึงล้านนาและปัจจุบัน จะมีความมหัศจรรย์พันลึก น่าติดตาม วิเคราะห์สารัตถะ ฐานข้อมูลเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม “ชานกะเล และ นรสิงห์ คือ เกียรติคุณ ที่จดจารึก ในประวัติศาสตร์ 2 เมืองสำคัญๆในภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน

“นรสิงห์ ” แม้จะมีตำนานเล่าว่า เคยต่อสู้ปกป้องเมืองเชียงใหม่ แล้วสถาปนาเป็น”เจ้าเมือง” แต่ร่องรอยที่ควรจะปรากฎในตำนานเมืองแทบสืบค้นหาไม่พบ ไปปรากฎเพียงตำนานพื้นเมือง ที่ยกย่องเชิดชู เป็น วีรบุรุษขุนยวมใต้ มีพลานุภาพในฐานะ “นามนี้มีที่มาของค่ายกำลังพล”ในพื้นที่ เพื่อสดุดี วีรกรรมนิรนามเท่านั้น ส่วน “ชานกะเล”หรือ” พญาสิงหนาทราชา” เพียงแค่สถานที่ประดิษฐาน อนุสาวรีย์ ในเมืองแม่ฮ่องสอน กอร์ปด้วยลักษณะการออกแบบ รูปหล่อ พร้อมจัดงานประเพณีบรวงสรวงกราบไหว้ บูชาของชาวไทใหญ่ จากรุ่นสู่รุ่นยิ่งใหญ่ๆ ยิ่งขึ้น

ประวัติศาสตร์สามัญชนสู่เจ้าฟ้าเมืองเหนือสลักแน่น ในเอกสาร ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ร่วมสมัยชัดเจนยิ่งในบันทึกที่ว่า พศ. 2427 สิ้นไป มีการแต่งตั้ง นางเมี๊ยะ ภรรยา เป็น”เจ้านางเมี๊ยะ” เจ้าฟ้าองค์ที่ 2 ครองแผ่นดินแม่ฮ่องสอน เมื่อพศ.2434 เจ้านางเมี๊ยถึงแก่กรรม แต่งตั้ง ปู่ขุนโทะ เป็นเจ้าเมืองคนต่อมา ก่อนจะยกเลิกเจ้าเมือง ยกฐานะเป็นจังหวัด แม่ฮ่องสอน เมืองแห่งขุมทรัพย์ในแผ่นดินล้านนา ที่คนรุ่นหลังๆ ปฏิเสธไม่ได้ ภาพความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อเจ้าฟ้า เจ้าเมืองของชาวไทใหญ่ ในแผ่นดินนี้คือส่วนสำคัญยิ่งของชีวิตทุกคน ทุกรุ่นชั่วนิจนิรันดร์

ร่วมแสดงความคิดเห็น