22 มีนาคม 2562 วันอนุรักษ์น้ำโลก

วันอนุรักษ์น้ำโลก มีจุดเริ่มต้นจากการประชุมเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ในวันที่ 22 มีนาคม ปี 1992 ที่มีเนื้อหาสำคัญโดยตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรน้ำของมนุษย์ จึงมีแนวคิดที่จะจัดกิจกรรมที่จะเป็นแผนแม่บทให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้เฝ้าระวังทรัพยากรน้ำในประเทศนั้น ๆ และในวันนั้นเองสมัชชาทั่วไปแห่งสหประชาชาติก็ได้ออกประกาศให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปี เป็นวัน World Water Day หรือ วันอนุรักษ์น้ำโลก

ข้อมูล การประปาส่วนภูมิภาค สาขาเชียงใหม่ (ชั้นพิเศษ) *
ประเภท จำนวน หน่วย
จำนวนผู้ใช้น้ำทั้งหมด 118,502 ราย
กำลังผลิตที่ใช้งาน 151,859 ลบ.ม./วัน
ปริมาณน้ำผลิต 4,733,662 ลบ.ม./เดือน
ปริมาณน้ำผลิตจ่าย 4,117,467 ลบ.ม./เดือน
ปริมาณน้ำจำหน่าย 3,073,847 ลบ.ม./เดือน

* แหล่งข้อมูล: กองศูนย์ข้อมูลและแผนเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล

เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เดิมชื่อว่า เขื่อนแม่งัด ตั้งอยู่บนลำน้ำแม่งัด สาขาแม่น้ำปิง ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และยังตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติศรีลานนา สำหรับทางเข้าเขื่อนอยู่ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 41 บนทางหลวงหมายเลข 107 (สายเชียงใหม่-ฝาง) เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 11 กิโลเมตร

การก่อสร้าง

เขื่อนแม่งัดเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยกรมชลประทาน การก่อสร้างตัวเขื่อนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2527 ต่อมา กฟผ. ได้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำในปี พ.ศ. 2528 แล้วเสร็จในปีเดียวกัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเขื่อนว่า เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2529 และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529

ข้อมูลทั่วไป

ประเภทเขื่อน: เขื่อนดิน

ตัวเขื่อน: สร้างปิดกั้นลำน้ำแม่งัด ที่บ้านใหม่ ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ลักษณะเขื่อน: เป็นเขื่อนดินถม สูง 59 เมตร ยาว 1,950 เมตร อ่างเก็บน้ำมีพื้นที่ 16 ตารางกิโลเมตร สามารถเก็บกักน้ำได้สูงสุด 26.5 ล้านลูกบาศก์เมตร  มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 332 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 4,500 กิโลวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 9,000 กิโลวัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละ 24.5 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ประโยชน์

ด้านการชลประทาน – สามารถส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการได้ประมาณ 30,000 ไร่ และช่วยส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่ เพาะปลูกของฝายสินธุกิจปรีชา (ฝายแฝก) จังหวัดเชียงใหม่ โครงการแม่ปิงเก่า จังหวัดลำพูน และพื้นที่เพาะปลูกโดยฝายของราษฎรอีกด้วย รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 188,000 ไร่

ด้านพลังงานไฟฟ้า – เขื่อนสามารถผลิตกระไฟฟ้าได้ประมาณ 24.50 ล้านกิโลวัตต์

ด้านการประมง – เป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ เป็นแหล่งผลิตอาหาร สร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น

การท่องเที่ยว – เขื่อนแม่งัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อน อ่างน้ำเหนือเขื่อนมีทัศนียภาพที่งดงาม มีบริการนั่งแพ ร้านอาหาร

2. เขื่อนแม่กวงอุดมธารา

ประวัติความเป็นมา

ลำน้ำกวงเป็นลำน้ำสาขาใหญ่สาขาหนึ่งของแม่น้ำปิง มีต้นน้ำอยู่บริเวณเทือกเขาในท้องที่อำเภอดอยสะเก็ด ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดเชียงใหม่ เขตติดต่อกับจังหวัดเชียงราย    ลำน้ำนี้ไหลผ่านท้องที่ อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันทราบ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยไหลลงสู่แม่น้ำปิงที่บ้านสบทา อำเภอป่าซางจังหวัดลำพูน ลำน้ำสาขาต่างๆ ของแม่น้ำปองมีความลาดชันมาก ดังนั้นเมื่อเกิดฝนตกหนักในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ น้ำในลำน้ำแม่กวงจะไหลบ่าท่วมพื้นที่ทั้งสองฝั่งลำน้ำไปยังจุดบรรจบกับแม่น้ำปิงที่บ้านสบทา และยังให้น้ำในแม่น้ำปองเอ่อท่มท้นบริเวณพื้นที่ท้องสองฝั่งในจังหวัดลำพูนจนกระทั่งถึงตัวเมืองเชียงใหม่ ทำให้พื้นที่เพราะปลูกของราษฎรในบริเวนดังกล่าวได้รับความเสียหายเกือบทุกปี 

การพัฒนางานชลประทานในลุ่มน้ำแม่กวงนั้นได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2472 พระองค์เจ้าบวรเดชได้เคยวางแผนจะสร้างฝายทดลองน้ำพร้อมเหมืองส่งน้ำ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพราะปลูกในเขตอำเภอ  ดอยสะเก็ดและอำเภอสันกำแพง ราคาก่อสร้างประมาณ 8 ล้านบาทแต่เนื่องจากขาดงบประมาณสนับสนุนโครงการดังกล่าวจึงต้องล้มเลิกไป

ต่อมาใน พ.ศ.2478 เจ้าราชภาคีนัย ได้สร้างฝายกั้นลำน้ำแม่กวงที่ดอยลอง บ้านผาแตก ซึ่งฝายดังกล่าวได้ถูกกระแสน้ำพัดพังเสียหายทุกปีจนไม่สามารถจะซ่อมแซมให้ใช้การได้ดี ใน พ.ศ. 2488 กรมชลประทานได้ วางแนวคลองใหม่เพื่อช่วยเหลือพื้นที่อีกประมาณ 25,000 ไร่ ในพ.ศ. 2491 ได้ก่อสร้างฝายหินทิ้งขึ้น สำหรับระบบส่งน้ำได้ใช้เหมืองส่งเดิมของราษฎรได้แก่  คลองผาแตกบางส่วน คลองเกาะมะตัน และคลองเมืองวะ สามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไปได้ถึง 60,000 ไร่ ต่อมาใน พ.ศ.2499 ได้เกิดอุทกภัยขึ้นอีกทำให้ฝายชำรุด เสียหายมาก ใน พ.ศ.2500  กรมชลประทานจึงได้ปรับปรุงฝายเดิมโดยการเทคอนกรีตผสมหินใหญ่ ทับหน้าฝายหินทิ้งเดิม และขยายตัวฝายหินเดิมยาว 80 เมตร เป็น 120 เมตร พร้อมปรับปรุงอาคารประกอบ รวมทั้งขุดคลองส่งน้ำเพื่อขยายพื้นที่ส่งน้ำของราษฎรเพิ่มขึ้นเป็น 74,750 ไร่และกรมชลประทาน ได้เริ่มสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสภาพต่างๆของ ลำน้ำแม่กวง เพื่อการศึกษาพัฒนาทั้งลุ่มน้ำต่อไปให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในท้องที่ อำเภอดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่และได้เสด็จพระราชดำเนินมายังบริเวณโครงการชลประทานแม่กวง และบริเวณที่จะก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ ในพื้นที่ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานสำรวจและศึกษาการพัฒนาลำน้ำสาขาของลำน้ำแม่กวงในระหว่างการก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ และให้กรมชลประทานจัดหาที่ดินทำกินใหม่แก่ราษฎรซึ่งจะถูกน้ำท่วมทีทำกินหลังการก่อสร้างเขื่อนด้วย

 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กรมชลประทาน เริ่มงานก่อสร้างเบื้องต้น เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2519 ดังนั้นกรมชลประทานได้เริ่มสำรวจออกแบบ และก่อสร้าง งานเบื้องต้นใน พ.ศ.2520 พร้อมทั้งขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการศึกษาความเหมาะสมของโครงการเพื่อขอใช้เงินกู้จากต่างประเทศต่อไปซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ใช้เงินกู้ของรัฐบาลญี่ปุ่นรวมทั้งสิ้น 4 สัญญาในระหว่าง พ.ศ. 2525 ถึง 2530 รวมเป็นเงินกู้ที่ใช้ในโครงการนี้ 7,000.5 ล้านเยน

งานก่อสร้างเขื่อนแม่กวงอุดมธาราและระบบส่งน้ำชลประทาน ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จสมบรูณ์ตามแผนพัฒนาเกษตรชลประทานแม่กวงใน พ.ศ.2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อ เขื่อนเก็บกักน้ำโครงการชลประทานแม่กวงให้กับกรมชลประทาน ตามที่ได้กราบบังคับทูลพระกรุณาขอพระราชทานชื่อว่า “เขื่อนแม่กวงอุดมธารา” เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2538

การก่อสร้างเขื่อน

ลำน้ำแม่กวงเป็นลำน้ำขนาดกลาง เป็นสาขาของลำน้ำแม่ปิง มีต้นน้ำอยู่ในเขตอำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่จังหวัดลำพูน ในฤดูฝน จะมีน้ำบ่ารุนแรงมาก จึงเกิดอุทกภัยในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนเกือบทุกปี ส่วนฤดูแล้งก็มีน้ำน้อย ไม่เพียงพอแก่การเพาะปลูก เดิมราษฎรได้สร้างฝายพื้นเมืองปิดกั้นลำน้ำเพื่อทดน้ำไปใช้ในการเพาะปลูก เป็นฝายประเภทชั่วคราว สร้างขึ้นโดยขาดหลักวิชาการ เป็นเหตุให้ชำรุดทรุดโทรม ต้องซ่อมแซมเป็นประจำทุกปี ปีใดฝายเสียหายมาก ไม่สามารถซ่อมแซมได้ทัน ผลผลิตที่เคยได้รับสม่ำเสมอก็จะลดลง ทำให้ราษฎรเดือดร้อน กรมชลประทานจึงได้ทำการปรับปรุงฝายผาแตกซึ่งเป็นฝายราษฎรเดิม ให้เป็นฝายหินทิ้งประเภทกึ่งถาวร จนในที่สุด ก็เป็นฝายหินก่อประเภทถาวร ซึ่งเป็นโครงการฝายแม่กวงในปัจจุบัน

ต่อมาปรากฎว่า เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำขึ้นในฤดูเพาะปลูกเนื่องจากราษฎรได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น  กรมชลประทานได้พิจารณาตรวจสอบสภาพภูมิประเทศของลำน้ำแม่กวงตอนต้นขึ้นไป ปรากฏว่าเห็นสมควรสร้างเขื่อนเก็บน้ำขึ้นที่บริเวณเหนือจากหัวงานเดิมของฝายแม่กวงขึ้นไปประมาณ 1 กม. จึงได้เริ่มงานก่อสร้างโครงการแม่กวงในปี 2519 แล้วเสร็จในปี 2530

ลักษณะและแผนที่เขื่อน

  >   เป็นเขื่อนดินเก็บกักน้ำ ปิดกั้นลำน้ำแม่กวง

  >   สูง 63.00 ม. ยาว 620 ม.

  >   ระดับสันเขื่อน + 400.00 ร.ท.ก.

  >   ระดับเก็บกัก + 396.00 ร.ท.ก. ระดับเก็บกักสูงสุด + 398.00 ร.ท.ก.

  >   ปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกัก 410 ล้าน ลบ.ม.

  >   พื้นที่อ่าง ฯ ที่ระดับเก็บกัก 15 ตร.กม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 250 ล้าน ลบ.ม./ปี

  >   อาณาเขตรับน้ำ 565 ตร.กม. ผริมาณฝนเฉลี่ย 1,250 มม./ปี

  >   ทางระบายน้ำฉุกเฉิน กว้าง 50 ม. ระบายน้ำได้ 1,000 ลบ.ม./วินาที

  >   ทำนบดินปิดช่องเขาต่ำฝั่งซ้ายสูง 49 ม. ยาว 756 ม.

  >   Canal Outlet ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.00 ม. ระบายน้ำได้ 33.00 ลบ.ม./วินาที (กำลังพิจารณาออกแบบให้ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วย)

  >   คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย ยาว 72.0 กม. คลองซอยและคลองแยกซอย ยาว 240 กม.

  >   ทำนบดินปิดช่องเขาต่ำฝั่งขวา สูง 36 ม. ยาว 670 ม.

  >   Canal Outlet ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.80 ม. ระบายน้ำได้ 9.00 ลบ.ม./วินาที

  >   คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา ยาว 17.0 กม. คลองซอยและคลองแยกซอย ยาว 35 กม.

ระยะเวลาก่อสร้าง   :  12 ปี (ปี พ.ศ.2519 – 2530)

ร่วมแสดงความคิดเห็น