ล้านนา หรือ ลานนา สรุปแล้วเรียกว่าอย่างไร?

เป็นที่รู้กันดีว่า บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยเรานั้น แต่เดิมแล้วในบริเวณนี้คือ “อาณาจักรล้านนา” ซึ่งแต่ก่อนก็มีคนเรียกว่า “ลานนา” เช่นกัน ฉะนั้นจึงเกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า จริง ๆ แล้วภาคเหนือของเรานั้นจะเรียกว่า “ลานนา” หรือ “ล้านนา” กันแน่

ซึ่งในวันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะมาเจาะลึกกันว่าแท้จริงแล้ว เราจะเรียกชื่อ ”ล้านนา” หรือ “ลานนา” แบบไหนกัน ถึงจะถูกต้อง

“ล้านนา” หมายถึง ดินแดนที่มีนานับล้าน หรือมีที่นาเป็นจำนวนมาก คู่กับ “ล้านช้าง” คือดินแดนที่มีช้างนับล้านตัว ซึ่งใน พ.ศ. 2510 คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนประวัติศาสตร์ใหม่ให้ “ลานนา” กลายเป็น “ล้านนา” จวบปัจจุบันผ่านมานานกว่า 5 ทศวรรษแล้ว แต่ปริศนาเกี่ยวกับชื่อ “ลานนา-ล้านนา” ก็ยังมีประเด็นชวนให้วิวาทะกันไม่เคยจบสิ้น

ปัญหาที่นำไปสู่การโต้เถียงกันนั้น สืบเนื่องมาจากในอดีตการเขียนมักไม่ค่อยเคร่งครัดในเรื่องวรรณยุกต์ แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันว่า แม้จะเขียนโดยไม่มีรูปวรรณยุกต์โทกำกับ แต่ให้อ่านเหมือนมีวรรณยุกต์โท สำหรับคำ “ลานนา” น่าจะมาจากพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ลานนาหมายถึงทำเลทำนา” ซึ่งทำให้คำว่าลานนาใช้กันมาเป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ

ดร. ฮันส์ เพนธ์ ผู้ค้นพบคำว่า ล้านนา ในศิลาจารึกที่วัดเชียงสา

ภายหลัง พ.ศ. 2510 นักวิชาการระดับสูงพบว่าล้านนาเป็นคำที่ถูกต้องแล้ว และชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อ ดร. ฮันส์ เพนธ์ ค้นพบคำว่า “ล้านนา” ในศิลาจารึกที่วัดเชียงสา ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2096 อย่างไรก็ดี การตรวจสอบคำว่า ล้านนา ได้อาศัยศัพท์ภาษาบาลี โดยพบว่าท้ายคัมภีร์ใบลานจากเมืองน่านและที่อื่น ๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 50 แห่ง

กระทั่งปี พ.ศ. 2530 ภายหลังจากที่คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย นำทีมโดย ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นครม, ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศ. ไกรศรี นิมมานเหมินท์, ศ. ดร. อุดม รุ่งเรืองศรี เป็นต้น ได้สรุปผลการสัมมนาเรื่อง “ลานนาหรือล้านนา” ส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ชี้ขาดและประกาศอย่างเป็นทางการว่า อาณาจักรภาคเหนือตอนบนซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูน, ลำปาง, แพร่, น่าน, พะเยา และแม่ฮ่องสอน นั้นแท้จริงแล้วมีชื่อว่า “ล้านนา” มิใช่ “ลานนา” ดังที่เคยนิยมเรียกแต่เดิม

ส่งผลสะเทือนให้สถาบันการศึกษาหลักด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีขานรับอย่างรวดเร็ว ด้วยการเปลี่ยนแก้คำว่า “ลานนา” หรือ “ลานนาไทย” ให้เป็น “ล้านนา” นับแต่วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ จากนั้นค่อย ๆ กระจายสู่หลักสูตรการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ทุกระดับชั้น ให้รณรงค์ใช้ล้านนาแทนลานนาทั่วประเทศ

คาดว่าคำว่าล้านนาอาจเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยพญากือนา

ซึ่งก่อนหน้าปี 2530 นั้น แทบไม่เคยมีใครได้ยินคำว่า “ล้านนา” กันเลย สำหรับชาวเหนือแล้ว ล้วนให้การว่านับแต่พ่ออุ๊ยแม่หม่อนหลายชั่วโคตรต่างก็เรียกแผ่นดินผืนนี้ว่า “ลานนา”

กล่าวโดยสรุปแล้ว คำว่า “ลานนา” น่าจะมาจากพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ลานนาหมายถึงทำเลทำนา” ซึ่งทำให้คำว่าลานนาใช้กันมาเป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ ภายหลัง พ.ศ. 2510 นักวิชาการระดับสูงพบว่าล้านนาเป็นคำที่ถูกต้องแล้วก็ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อต้องการค้นพบคำว่าศิลาจารึกที่วัดเชียงแสนเขียนขึ้นในปีพุทธศักราช 2096

อย่างไรก็ดีการตรวจสอบคำว่า “ล้านนา” ได้อาศัยศัพท์ภาษาบาลีโดยพบว่าถ่ายขับขี่ใบลานจากเมืองน่านและที่อื่นๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 50 แห่ง เขียนว่า “ทสลกฺขเขตฺตนคร” แปลว่า สิบแสนนา เป็นคู่กับเมืองหลวงพระบางชื่ออาณาจักรศรีสัตนาคนหุต หรือช้างร้อยหมื่น

คำว่าล้านนาน่าจะเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัย “พญากือนา” เนื่องจากพระนามกือนา หมายถึงจำนวนร้อยล้าน คำว่าลานนาได้ใช้เรียกกษัตริย์และประชาชนและหลายมากในสมัย “พระเจ้าติโลกราช” ส่วนการใช้ว่าล้านนาไทยนั้นเป็นเสมือนการเน้นความเป็นไทยซึ่งใช้กันมาในสมัยหลังด้วยเหตุผลทางการเมืองนั่นเอง

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”
ข้อมูลจาก : สรัสวดี อ๋องสกุล, มติชนสุดสัปดาห์
ภาพจาก : th.wikipedia.org

ร่วมแสดงความคิดเห็น