งดงามอมตะ “เจ้าพงษ์แก้ว” เจ้าหญิงเชียงใหม่ผู้ล่วงลับ

สาวเชียงใหม่นั้น เป็นที่เล่าลือของคนต่างจังหวัดว่า มีความน่ารัก พูดจาอ่อนช้อย มารยาทงาม และหน้าตาดี ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงสาวเชียงใหม่ธรรมดาทั่วไปเท่านั้น หญิงสาวที่มีเชื้อเจ้าของเชียงใหม่ก็งดงามไม่แพ้กัน

คุณหญิงเจ้าพงษ์แก้ว เมื่อครั้งเยาว์วัย

ซึ่งในวันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” ขอหยิบยกเรื่องราวของ “คุณหญิง เจ้าพงษ์แก้ว” ผู้ถือกำเนิดในราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ที่มีความงามเป็นที่เลื่องลือของคนทั่วไปเช่นกัน

ชื่ออย่างเป็นทางการคือ คุณหญิง เจ้าพงษ์แก้ว ณ ลำพูน

“คุณหญิง เจ้าพงษ์แก้ว ณ ลำพูน” ผู้ซึ่งเป็นที่เล่าลือถึงสิริโฉมงดงาม ท่านถือกำเนิดในราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน (ทิพย์จักราธิวงศ์) ด้วยท่านเป็นธิดาใน พลตรี เจ้าราชบุตร (วงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่) และ เจ้าหญิงภัทรา ณ เชียงใหม่ (ณ ลำพูน) ทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกกิจการผ้าไหมในพื้นที่ภาคเหนือ เมื่อครั้งเจ้าพงศ์แก้ว ได้สมรสกับ “เจ้าพัฒนา ณ ลำพูน” และย้ายมาพักอาศัยที่คุ้มหลวงลำพูน ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จาก “แม่เจ้าส่วนบุญ” จนสามารถเป็นสืบทอดการทอผ้ายกดอกที่เก่าแก่สวยงาม และเปิดโรงงานทอผ้าขึ้นในคุ้มหลวงลำพูน รวมถึงฝึกสอนชาวบ้านเพื่อนำไปประกอบอาชีพจนแพร่หลายในจังหวัดลำพูน

คุณหญิง เจ้าฯ ได้สมรสกับ “เจ้าพัฒนา ณ ลำพูน” โอรสใน “เจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์” และ “เจ้าหญิงส่วนบุญ จักรคำขจรศักดิ์” หลังจากสมรสก็ได้ย้ายมาพักอาศัยที่คุ้มหลวงลำพูน ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากแม่เจ้าส่วนบุญ จนสามารถเป็นสืบทอดการทอผ้ายกดอกที่เก่าแก่สวยงาม และเปิดโรงงานทอผ้าขึ้นในคุ้มหลวงลำพูน รวมถึงฝึกสอนชาวบ้านเพื่อนำไปประกอบอาชีพจนแพร่หลายในจังหวัดลำพูน

คุณหญิง เจ้าฯ เป็นผู้บุกเบิกกิจการผ้าไหมในภาคเหนือ และถวายการดูแลผ้าไหมในฉลองพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งหอการค้าจังหวัดลำพูน มีบุตร ธิดา ทั้งหมด 4 ท่าน คือ

1. คุณ เจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน
2. เจ้าพัฒนพงศ์ ณ ลำพูน สมรสกับศรัณยา ณ ลำพูน
3. เจ้าวงศ์จักร ณ ลำพูน สมรสกับสุวรีย์ ณ ลำพูน
4. เจ้าศักดิ์ขจร ณ ลำพูน สมรสกับวันเพ็ญ ศักดาธร

คุณหญิง หม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่ ผู้ร่วมเที่ยวบินเดียวกับคุณหญิง เจ้าพงษ์แก้

นอกเหนือจากนั้น เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ยังมีส่วนในการส่งเสริมกิจการของรัฐ อาทิ การบริจาคที่ดินบริเวณตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน เพื่อสร้างสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน เมื่อปี พ.ศ. 2525 และเจ้าพงศ์แก้ว ยังได้รับหน้าที่เป็นนายกเหล่ากาชาดจังหวัดลำพูน ในระหว่างปี พ.ศ. 2516 ถึงปี พ.ศ. 2517 และวาระที่ 2 ในปี พ.ศ. 2518 ถึงปี พ.ศ. 2522 อีกด้วย

คุณหญิง เจ้าฯ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 ในวัย 65 ปี หลังจากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า เพียง 22 วัน ด้วยประสบอุบัติเหตุเครื่องบินของสายการบิน เลาด้าแอร์ เที่ยวบินที่ 004 ตกในเขตอุทยานแห่งชาติพุเตย จ.สุพรรณบุรี

พร้อมทั้ง “คุณหญิง หม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่” หม่อมในพลตรีเจ้าราชบุตรฯ ขึ้นเที่ยวบินได้เพียงประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ ขณะเดินทางไปยังกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และหลังจากเกตุอุบัติเหตุครั้งนี้ก็ได้จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2535 ณ สุสานหลวงประจำราชตระกูลเจ้านายฝ่ายเหนือ วัดสวนดอก พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่นั่นเอง

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”
ข้อมูลจาก : หนังสือ เจ้านายฝ่ายเหนือ, เฟซบุ๊ก เจ้านายฝ่ายเหนือ
ภาพจาก : หนังสืออนุสรณ์งานพระราชเพลิงศพ เจ้าพงษ์แก้ว ณ ลำพูน ท.จ. , หนังสืออนุสรณ์ พิธีพระราชทานเพลิงศพ หม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่ ท.จ. , th.wikipedia.org

ร่วมแสดงความคิดเห็น