การรับรองเอกสาร 12 ประเภท ไม่ต้องแปลอีกต่อไป จริงหรือไม่ ??

เอกสารการทะเบียนภาษาอังกฤษคืออะไร?

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยได้พัฒนาระบบโปรแกรมการคัดรับรองเอกสารการทะเบียนภาษาอังกฤษ ซึ่งประชาชนสามารถขอรับเอกสารการทะเบียนเป็นภาษาอังกฤษได้แล้วที่เขตพื้นที่/อำเภอ

ประชาชนสามารถขอเอกสารการทะเบียนเป็นภาษาอังกฤษได้แล้ว 12 ประเภท

1.ทะเบียนคนเกิด/สูติบัตร (ท.ร.1/ก)
2.ทะเบียนคนตาย/มรณบัตร (ท.ร.4/ก)
3.ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14/1)
4.หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.20/1)
5.ข้อมูลเกี่ยวกับบัตรปรชาชน (บ.ป.4)
6.ทะเบียนสมรถ
7.ทะเบียนหย่า
8.ทะเบียนบันทึกฐานะแห่งครอบครัว
9.ทะเบียนการเปลี่ยนชื่อตัว
10.ทะเบียนการตั้งชื่อสกุล
11.ทะเบียนการร่วมใช้ชื่อสกุล
12.รายการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล

ประโยชน์ของเอกสารการทะเบียนภาษาอังกฤษ

เนื่องจากการติดต่อสื่อสารและดำเนินธุรกรรมข้ามประเทศทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันมีประชาชนมาขอรับรองนิติกรณ์เอกสาร ประเภทคำแปลจากภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปใช้ต่างประเทศมากขึ้น แบบฟอร์มเอกสารภาษาอังกฤษจะเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนดังนี้
1.การลดภาระค่าใช้จ่ายในการแปลเอกสาร
2.ลดขั้นตอนและกระบวนการรับรองเอกสาร(ไม่ต้องรับรองการแปล)
3.เอกสารที่ผ่านการรับรองมีมาตรฐานการแปลที่ได้รับรองการยอมรับจากหน่วยงานและมีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ สามารถนำไปใช้ต่างประเทศได้อย่างสมบูรณ์และเป็นที่ยอมรับ

เอกสารทะเบียนภาษาอังกฤษเพื่อใคร เพื่ออะไร?

ส่วนใหญ่ประชาชนจะใช้เอกสารการทะเบียนภาษาอังกฤษ เพื่อการทำธุรกรรมในต่างประเทศหรือจุดประสงค์ด้านต่างๆ อาทิ
-การศึกษาต่อในต่างประเทศ
-การไปทำงานในต่างประเทศ
-การสมรส/หย่า ในต่างประเทศ
-การขอถิ่นพำนักในต่างประเทศ
-การขอเข้าถือสัญชาติประเทศนั้นๆ

การรับรองเอกสารทะเบียนภาษาอังกฤษ

ก่อนที่จะนำเอกสารการทะเบียนฉบับภาษาอังกฤษไปใช้ต่อไป ประชาชนต้องนำเอกสารดังกล่าวมาขอรับรองนิติกรณ์เอกสารที่กองสัญชาติและนิติกรณ์กรมการกงสุลในกรุงเทพฯ และสาขาต่างจังหวัด ดังนี้
1.กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล ถ.แจ้งวัฒนะ
2.สำนักงานสัญชาติและนิติกรณ์ สถานีรถไฟใต้ดิน (MRT) คลองเตย
3.สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จ.สงขลา
4.สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จ.อุบลราชธานี
5.สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จ.เชียงใหม่
โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการนำเอกสารไปแปลเป็นภาษาอังกฤษเสี่ยงต่อการแปลผิดพลาดอีกต่อไป

4 ขั้นตอนจบ!

1.คัดเอกสารทางทะเบียนภาษาอังกฤษจากเขต/อำเภอ
2.ขอรับรองนิติกรณ์ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์กรมการกงสุล
3.ติดต่อสถานทูตประเทศปลายทางในไทย
4.นำไปใช้ในประเทศปลายทาง

ข้อมูลและรูปภาพจาก : สำนักงานหนังสือเดินทาง เชียงใหม่ Passport Office, Chiang Mai

ร่วมแสดงความคิดเห็น