จี้เร่งแก้!! กำนันชื่อดังเมืองเชียงใหม่ เรียกร้อง”ลุงตู่”นั่งหัวโต๊ะ แก้ไขหมอกควัน อย่าปล่อยผู้ว่าฯ ทำงานโดดเดี่ยว

นายวีระชัย ไชยมงคล หรือกำนันโหน่ง หนุ่มคนดัง ต.ป่าแดด และนายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อ.เมืองจ.เชียงใหม่ พร้อมผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ ต.ป่าแดด ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลรักษาการ และนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่มานั่งหัวโต๊ะ แก้ไขปัญหาหมอกควันและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ เพราะหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากหลายจังหวัด ที่กำลังเผชิญกับปัญหาหมอกควันไฟป่า จนกลายเป็นมลพิษส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนเป็นจำนวนมาก อย่าปล่อยให้แต่ผู้ว่าราชการจังหวัด เข้ามาแก้ไขปัญหาแต่เพียงลำพัง ต้องเป็นวาระของรัฐบาลที่ต้องลงมาด้วยตนเอง พร้อมประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ร่วมกันแก้ไขปัญหาการเผาป่าที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ได้โพสต ข้อความในเพสบุ๊กส่วนตัวระบุว่า หยุด…ตั้งรัฐบาลก่อน คนจะตาย เพราะหมอกควัน…ประเทศเสียหายหลายร้อยล้าน หมอกควันครึ่งประเทศช่วยกันแก้ก่อน คนไข้..เต็มโรงพยาบาล กำนันโหน่ง วีระชัย ไชยมงคล นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านฯ กล่าวว่า ผมจบด้านสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยผลงานวิจัย ด้านการป้องกันไฟป่า ซึ่งไฟป่ามาจากการกระทำของมนุษย์ เพราะบ้านเราไม่มีภูเขาไฟ ตอนนี้ต้องยอมรับว่า เราต้องเร่งแก้ปัญหาถึงแม้เป็นปลายเหตุ แต่ต้องลดปริมาณเพื่อสุขภาพของประชาชนและผลกระทบการท่องเที่ยว โดยเฉพาะสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้ เราจะมาตามโทษใครหรือผู้ว่าราชการฯ คงไม่ลดหมอกควันลง หมอกควันลอยฟุ้งเกือบครึ่งประเทศ ต้องเป็นหน้าที่รัฐบาลแล้ว เพราะมีหมอกควันจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยผมขอเรียกร้องให้รัฐบาลอย่ามามั่วแต่จะตั้งรัฐบาล รีบแก้ปัญหาหมอกควันก่อน คนจะตายกันแล้ว คนไข้ป่วยทางเดินหายใจรักษาเต็มโรงพยาบาล

“แก้ปัญหาหมอกควันอย่างเร่งด่วน”มาตรการ ระดับชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน หรือประธานชุมชน ปลัดอำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น สาธารณสุข เรียกประชุม ชาวบ้านให้ทราบถึงสาเหตุ ผลกระทบและบทลงโทษ กรณีพื้นที่ชุมชนใกล้ป่า ควรประชุม 2-3 ครั้ง ต่อเดือน พร้อมตั้งกรรมการลดหมอกควันเฉพาะกิจ ในการดับไฟ จำนวน 15-30 คน ตรวจลาดตระเวนในชุมชน และประชุมรายงานอำเภอทุกๆ วัน

มาตรการระดับอำเภอ ประชุมร่วมกับชาวบ้าน ติดตามลงพื้นที่ เป็นศูนย์รับเรื่อง และสนับสนุน กรณีเกิดไฟป่า และสนับสนุนจัดหาอุปกรณ์ให้เจ้าหน้าที่ มาตรการระดับจังหวัด 1.ประสานงานทุกหน่วยงาน รับผลรายงาน และแก้ไขสนับสนุนทุกกรณีในพื่นที่ 2.ประสานรัฐบาลสนับสนุน และการดูแลสุขภาพของประชาชน ทฺกวิถีทาง
3.การระดมเจ้าหน้าที่เฉพาะกิจของแต่ละท้องที่ ผลัดเปลี่ยนเข้าช่วยเหลือพื้นที่เสี่ยง เพื่อตรวจลาดตระเวนและดับไฟป่า

มาตรการ ระดับรัฐบาล
1.จัดงบประมาณสนับสนุนเบี้ยเลี้ยงให้เจ้าหน้าที่ ในการปฎิบัตหน้าที่
2.ตั้งทีมคณะทำงานแก้ไขหมอกควัน สนับสนุนรับเรื่องเสนอนายกรัฐมนตรีและช่วยเหลือ กรณีจังหวัดร้องขอ
3.ตั้งคณะทำงาน ประสานงานประเทศเพื่อนบ้าน และสนับสนุนช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน ในการลดหมอกควันไฟป่า
4.ร้องขอภาคเอกชน นำโดรนมาช่วยในป้องปราบ ตรวจจับผู้กระทำความผิดลักลอบเผาป่า โดยการลงทะเบียน กล้องวงจรปิด
5.การประชาสัมพันธ์ มีวิทยากรในพื้นที่ โดยเฉพาะภาษาชนเผ่า โดยเน้นเข้าถึงในระดับพื้นที่ในชุมชน ให้รับรู้ผลกระทบ และบทลงโทษ ทำป้ายสื่อ ตามจุดต่างๆ

“ตั้งทีมสนับสนุนทำฝนเทียม ร่วมกับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร”
1.ระดับชุมชน ให้ผู้ใหญ่บ้าน จัดหาสูบนำ้ ที่มีอยู่ในชุมชน หรือแบ่งน้ำจากประปาหมู่บ้าน ทำจุดพ่นระอองน้ำ 2-3 จุด ในชุมชน ตามขนาดพื้นที่ของชุมชน
2.เทศบาล อบต. นำรถน้ำพ่นละอองในพื้นที่ พร้อมนำปั้มน้ำทั้งที่มีใช้อยู่ หรือจัดชื้อตามความเหมาะสม เพราะต้องใช้ปีถัดไปอยู่แล้ว จัดทำจุดพ่นละออง 5-10 จุด ตามขนาดพื้นที่
3.ระดับอำเภอ ให้ติดตามรายงาน ประเมิน ว่าท้องถิ่น ชุมชน ถึงการปฏิบัติการ ได้ผลอย่างแท้จริง อย่างไรรายงานต่อจังหวัดทุกวัน
4.จังหวัด ตั้งทีมติดตามลงพื้นที่ ผลการปฏิบัติงาน ระดมประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือ ชาวบ้าน สร้างความชื้นในอากาศ
5. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน และองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นทีมพ่นละอองน้ำระดับจังหวัด เนื่องจากมีกำลังเจ้าหน้าที่ มีปั้มน้ำ เครื่องสูบน้ำ ทุกขนาด นำมาจัดทำจุดพ่นละอองน้ำ ให้ทั่วจังหวัด เท่าที่จะจัดหาอุปกรณ์ได้
6.ระดมเครื่องมือ จากภาคอื่นๆ เข้าพื้นที่ ขอความร่วมมือจากภาคเอกชน ออกมาช่วยเหลือในด้านเทคโนโลยี ทางด้านสุขภาพ และอุปกรณ์ พ่นละอองน้ำ และประสานหน่วยงานทั้งใน และนอกประเทศ เพื่อหาแนวทางแก้ไขที่ถูกต้อง
7. สุดท้ายหน้าที่กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ที่จะตรวจวัดความชื้น ให้เหมาะกับการทำฝนเทียม

และแก้ที่ต้นเหตุ รัฐบาล และระดับจังหวัด ควรเริ่มวางแผน ตั้งแต่เดือนตฺลาคม ของทุกๆปี การใช้เทคโนโลยี โดรน กล้องวงจรปิด และควบคู่กับการสืบเสาะกลุ่มเป้าหมายชาวบ้าน ที่มีอาชีพหาของป่า มาฝึกอาชีพ ใช้ศาสตร์พระราชาของพระเจ้าอยู่หัว นำแนวทางเช่นเดียวกันให้ชาวบ้านเลิกปลูกฝิ่น และควรชิงเผาเพื่อให้ใบไม้ลดความหนาแน่น ทำแนวกันไฟ ทำฝายสร้างความชุ่มชี้น และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ควรจัดทำจุดเฝ้าระวัง สร้างหอคอยสูง เฝ้าสังเกต ตามจุดที่เหมาะสม

ที่สำคัญควรทำแผนที่ พื้นที่ ที่เกิดไฟป่า และจุดไหนยังไม่เคยไหม้ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นที่เสี่ยง และเฝ้าระวังเป็นพิเศษ หรือวิเคราะห์ว่าเป็นจุดต้องชิงเผาก่อน หรือจุดไหนที่ยังไม่มีการเผาไหม้ เป็นเพราะเหตุใด หรือเป็นเป้าหมายของคนลักลอบเผาในครั้งต่อไป โดยขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการเก็บข้อมูล สรุปเป็นผลงานวิจัย ทั้งอุปสรรค์ การแก้ไข และกฎหมายที่ใช้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในชุมชนบนดอยไหม

ร่วมแสดงความคิดเห็น