วัดแสนฝาง! สถาปัตยกรรมแบบพม่าแห่งเมืองล้านนา

วัดแสนฝาง ตั้งอยู่ที่ถนนท่าแพ ซึ่งในสมัยก่อนเป็นย่านการค้าของพ่อค้าชาวพม่า วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีศิลปะการก่อสร้างแบบพม่า โดยเฉพาะเจดีย์ที่มีการตกแต่งลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม

วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะพาไปชม “วัดแสนฝาง” วัดที่ผสมผสานศิลปะทั้ง พม่าและล้านนา ได้อย่างลงตัว รวมถึงเจดีย์ที่มีการตกแต่งลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม

ะวัติของ วัดแสนฝาง

วัดแสนฝาง เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๘๘ ถนนท่าแพ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๕ ไร่ ๖๘ ตารางวาและมีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๙๐ ตารางวา ปัจจุบันสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ตามตำนานเล่าว่าวัดแสนฝางสร้างขึ้นในสมัยพระญาแสนภู กษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณปี พ.ศ.๒๑๑๙ และคงอยู่จนกระทั่งถึงสมัยพระญากาวิละ โดยวัดแห่งนี้ได้รับความอุปถัมภ์ด้วยดีจากเจ้านครเชียงใหม่ทุกพระองค์ ดังปรากฏหลักฐานอยู่ในแผ่นจารึกไม้สักในวัด ซึ่งติดอยู่ที่หอพระไตรปิฎกว่า

ชื่อวัดแสนฝางแต่เดิมเรียกกันว่า “วัดแสนฝัง” โดยที่มาของชื่อนี้ คือการที่พระเจ้าแสนภูทรงมีพระราชประสงค์จะฝากฝังขุมพระราชทรัพย์ของพระองค์ไว้กับพุทธศาสนา ตามอย่างพระเจ้าปู่และพระราชบิดา อีกทั้งพระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะฝังพระราชทรัพย์เหล่านั้นไว้ในที่รกร้างว่างเปล่าใกล้ ๆ แม่น้ำสายเล็ก ห่างจากแม่น้ำระมิงค์พอประมาณ

เมื่อพระเจ้าแสนภูทรงตัดสินพระทัยสละราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อสร้างวัดขึ้นเป็นการฝากพระราชศรัทธาและพระราชสมบัติของพระองค์ไว้ในพระพุทธศาสนาแล้ว สถานที่แห่งนั้นจึงได้ชื่อว่า “วัดแสนฝัง” โดยคำว่า “แสน” มาจากชื่อของพระเจ้าแสนภูและคำว่า “ฝัง” คือการบริจาคพระราชทรัพย์ของพระองค์ ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดแสนฝัง” หรือ “วัดแสนฝาง” มาตราบเท่าทุกวันนี้

สถานที่และสิ่งสำคัญภายใน วัดแสนฝาง

1.พระเจดีย์มงคลแสนมหาชัย

ที่วิจิตรงดงาม มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์ชเวดากองพม่า และพระวิหารลายคำ ซึ่งเป็นที่ประทับเก่าของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์

2.พระอุโบสถ

สร้างโดยพระราชศรัทธาของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ตัวอาคารเป็นตึกสองชั้นแบบร่วมสมัย ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ชายคาประดับด้วยไม้ฉลุแบบขนมปังขิง ส่วนชั้นบนเป็นโครงสร้างไม้ลวดลายวิจิตร ด้านข้างประดับรูปดาว สันหลังคาประดับรูปกินรี

3.พระวิหารลายคำ

เป็นวิหารที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (ราชวงศ์พระเจ้าเจ็ดตน) องค์ที่ 7 และเจ้าทิพเกสรราชเทวี (พระราชบิดาและพระราชมารดาในพระราชชายาเจ้าดารารัศมี) โปรดให้รื้อพระตำหนักของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 ลง แล้วนำมาถวายวัดเมื่อ พ.ศ. 2420 โดยให้ปรับปรุงดัดแปลงสร้างเป็นวิหารปิดทองล่องชาดทั้งหลัง เมื่อแล้วเสร็จจึงโปรดให้ฉลองสมโภชพระวิหารในปี พ.ศ. 2421 วิหารหลังนี้สร้างด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนา หลังคาเตี้ย และลาดต่ำ ประดับด้วยลวดลายไม้แกะสลัก และปูนปั้นปิดทอง หน้าบันตกแต่งด้วยไม้แกะสลักลายก้านขด และสัตว์หิมพานต์ขนาดความยาว 49 เมตร กว้าง 12 เมตร

นอกจากวิหาร เจดีย์ และพระอุโบสถที่งดงามแล้ว ยังมีสถาปัตยกรรมอื่นให้ชมอีก เช่น กุฏิ 100 ปี โยนการพิจิตร ที่หน้าต่างทำซุ้มปูนปั้นแบบตะวันตก หอไตรเก่าแก่ และหอเวรยามที่ใช้รักษาความปลอดภัยเมื่อครั้งโบราณ

่ตั้งของ วัดแสนฝาง

188 ถนน ท่าแพ ตำบล ช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50300

วิธีการเดินทางไปยัง วัดแสนฝาง

1.โดยรถยนต์ส่วนตัว
วัดแสนฝางสามารถเข้าได้หลายทาง ทางทิศใต้เข้ามาถนนท่าแพ ประตูนาควิไทยสว่างฟ้า เป็นเส้นทางวันเวย์เข้าเมืองไม่มีที่จอดรถ หรือมาตามถนนช้างม่อย มาจนเจอแยกที่มีซุ้มประตูจีนเลี้ยวขวาข้ามคลองมาเลี้ยวขวาอีกที ตรงไปจะเจอประตูทางเข้าวัดแสนฝางทางทิศเหนือ

2.โดยรถสาธารณะ
สามารถนั่งรถสองแถวสีแดงที่ให้บริการรอบเมืองค่าโดยสารแล้วแต่ระยะทาง

สรุป

นับว่าวัดนี้เป็นวัดที่ผสมผสานศิลปะแบบต่างๆ ทั้ง พม่า ล้านนา และแบบตะวันตกได้อย่างลงตัว ควรค่าแก่การมาเที่ยวชมเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะอิ่มใจเมื่อได้ทำบุญแล้ว ยังได้ตื่นตากับความงดงามของสถาปัตยกรรมภายในวัดแห่งนี้ด้วย

เรียบเรียงโดย “เชียงใหม่นิวส์”

ร่วมแสดงความคิดเห็น