วัดช่างฆ้อง! วัดที่สร้างโดยช่างทำฆ้องแห่งเมืองเชียงแสน

วัดช่างฆ้อง ตั้งอยู่ถนนลอยเคราะห์ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ทิศเหนือจรดบ้านเรือนราษฎร ทิศใต้จรดซอยกำแพงดิน 2 และบ้านเรือนราษฎร ทิศตะวันออกจรดบ้านเรือนราษฎร์ ทิศตะวันตก จดถนนกำแพงดินและตรงข้ามกับกำแพงดิน

วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะพาไปชม “วัดช่างฆ้อง” วัดเก่ากลางเมืองที่มีเมืองตัดกลางระหว่างวัดกับเจดีย์และอุโบสถ

ประวัติของ วัดช่างฆ้อง

สร้างเมื่อ พ.ศ. 1900 ชาวบ้านช่างฆ้องที่อพยพมาจากเชียงแสนราวต้นรัตนโกสินทร์เป็นผู้สร้างขึ้นมีเรื่องเล่าว่าในสมัยโบราณบริเวณนี้ชื่อ “วัดศรีพูนโต” แต่เมื่อพวกช่างทำฆ้องได้อพยพกันมาตั้งถิ่นฐานในละแวกนี้ และสร้างวัดขึ้นใหม่ จึงได้นามวัดตามอาชีพของชาวบ้านแถบนี้

แต่ต่อมามีการสร้างถนนตัดผ่านวัดและมีผู้มาสร้างบ้านเรือนขึ้นภายในพื้นที่วัดเป็นผลให้เจดีย์ และอุโบสถที่กลายเป็นส่วนนอกวัดถูกปล่อยทิ้งให้รกร้างและทรุดโทรมลงทั้งที่เป็นโบราณสถานโบราณวัตถุในสมัยแรกสร้างวัดกำแพงดิน

เป็นกำแพงเมือง ชั้นนอก ของเมืองเชียงใหม่ มีจุดเริ่ม ที่แจ่งศรีภูมิ คือ มุมกำแพงเมือง ชั้นใน ด้านตะวันออก เฉียงเหนือ เลื้อยยาวลงมาทางใต้ แล้วอ้อม วกขึ้นไป บรรจบกับ มุมกำแพงเมือง ชั้นใน ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่เรียกว่า แจ่งกู่เฮืองคาดว่า กำแพงนี้ สร้างขึ้นพร้อม ๆ กับ กำแพงเมืองชั้นใน

แต่ครั้งสร้างเวียง เมื่อ 700 ปีที่แล้วนั่นเป็นความสำคัญ ในฐานะโบราณสถาน ซึ่งแทบไม่เหลือซาก ให้เห็น ในปัจจุบัน ในความรับรู้ ของคนที่เดินผ่านไป ผ่านมากำแพงดิน ไม่ได้สลักสำคัญ อะไรนอกจากเป็นแนวเนินดิน รกร้าง ที่คนยากไร้ บุกรุกเจาะเข้าไป จับจองที่ว่าง ด้านหลังเพื่อปลูกบ้านพักอาศัย ในความรับรู้ของชาวบ้าน

ดูเหมือนว่า กำแพงดิน มีความน่าสนใจ ประการเดียวคือในฐานะแหล่งบริการ ทางเพศ อันขึ้นชื่อ ขนาดนักเที่ยว ไม่ลืมบรรจุ ลงใน สโลแกนเชียงใหม่ ฉบับชาวบ้าน ว่าเที่ยวกำแพงดิน กินข้าวซอย ขึ้นดอยสุเทพที่ว่าแปลกก็คืออาณาเขตของวัด ถูกแบ่งแยกด้วยชุมชน ที่มาใช้พื้นที่ของวัด และกลายเป็นร้านค้าที่ไม่สามารถถอดถอนได้จึงทำให้บริเวณวัดเก่า ซึ่งมีพระอุโบสถเก่าและเจดีย์ ถูกกั้นด้วยชุมชนและถนน และอยู่ในความดูแลของโรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง อุโบสถและสถานที่สวยมาก

แต่กลายเป็นเหมือนสวนสาธารณะไปแล้ววิหารทรงพื้นเมืองประยุกต์ หน้าบันทำลวดลายเป็นรูปช้างสามเศียรตรงกลาง มีลายเทวดาและลายพรรณพฤกษา ปิดทอง จากการซ่อมแซมบูรณะบริเวณป้านลมส่วนบนจะทำขอบด้วยปูนทับบริเวณกรอบของป้านลม คันทวยทำเป็นลายอ่อนโค้งแบบศิลปะภาคกลาง

ภายในวิหารมีจิตรกรรมฝีมือช่างพื้นบ้านเขียน เรื่องพระเจ้าสิบชาติเจดีย์องค์เก่า เป็นเจดีย์ทรงปราสาทที่สร้างพร้อมกับการสร้างวัด ปัจจุบันอยู่ภายนอกบริเวณวัดเจดีย์องค์ที่อยู่ภายในวัด เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบพื้นเมืองล้านนา ฐานล่างเป็นฐานเขียงเรียบถัดขึ้นไป เป็นฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มาลัยเถาเป็นเหลี่ยม องค์ระฆังกลมส่วนยอดมีฉัตร มุมทั้งสี่ของเจดีย์มีสิงห์ปูนปั้นแบบพม่าภายในวัดมีหอไตรซึ่งเป็นตึกสองชั้นตกแต่งด้ว

ลายปูนปั้นและไม้ฉลุ เป็นศิลปะผสมระหว่างจีนและพม่า ด้านนอกอาคารมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องพระเจ้าสิบชาติฝีมือช่างพื้นบ้าน ซึ่งยังคงสมบูรณ์อยู่ หอไตรเป็นหอไตรที่มีลักษณะพิเศษมีการประดับตกแต่งลวดลายที่ลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะจีนกับศิลปะพม่าที่งดงามมากแห่งหนึ่ง

สถานที่และสิ่งสำคัญภายใน วัดช่างฆ้อง

1.หอไตรวัดช่างฆ้อง
หอไตร วัดช่างฆ้อง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2446 ปรากฎหลักฐานตรามจารึก อายุ 104 ปี หอไตรหลังนี้ เป็นอาคารสองชั้นก่ออิฐฉาบปูน เป็นอาคารที่มีโครงสร้าง แบบอิทธิพลจีน ประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น และไม้แกะสลักฉลุลาย ฝีมือช่างพื้นมืองศิลปสถาปัตยกรรมแบบล้านนาผสมพม่า มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง บริเวณระเบียงชั้นสองของอาคาร เขียนเรื่องปัญญาสชาดก ตอนเจ้าสุวัตรกับบางบัวคำ สอดคล้องชื่อภริยาของผู้สร้าง

2.วิหารทรงพื้นเมือง
วิหารทรงพื้นเมือง หลังคาซ้อนชั้นหลายชั้น หน้าบันทำลวดลายเป็นรูปช้างสามเศียรตรงกลางมีลวดลายเทวดาและลายพรรณพฤกษาประกอบ จากการซ่อมแซมบูรณะบริเวณป้านลมส่วนบนจะทำขอบด้วยปูนทับบริเวณกรอบของป้านลม ภายในวิหารมีจิตรกรรมฝีมือช่างพื้นบ้านเขียนเรื่องพระเจ้าสิบชาติหรือเรียกว่าทศชาติ

3.เจดีย์องค์ที่อยู่ภายในบริเวณวัด
เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบพื้นเมือง ฐานสี่เหลี่ยมเก็จองค์ระฆังกลม ที่ฐานมีปูนปั้นรูปสิงห์อยู่ทั้งสี่ทิศ

ที่ตั้งของ วัดช่างฆ้อง

44/6 ถนน ลอยเคราะห์ ตำบล ช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50100

วิธีการเดินทางไปยัง วัดช่างฆ้อง

1.โดยรถยนต์ส่วนตัว

ตั้งอยู่ที่ถนนลอยเคราะห์ ติดกับถนนกำแพงดิน จากประตูท่าแพเลี้ยวซ้ายเข้าถนนคชสาร และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนลอยเคราะห์ พบสี่แยกแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนกำแพงดิน วัดอยู่ทางด้านซ้ายมือ

2.โดยรถสาธารณะ

สามารถนั่งรถสองแถวสีแดงที่ให้บริการรอบเมืองค่าโดยสารแล้วแต่ระยะทาง

สรุป

วัดช่างฆ้องเป็นวัดเก่าแก่คู่เมืองเชียงใหม่ที่สร้างขึ้นจากศรัทธาของประชาชน ตั้งอยู่นอกเขตเมืองเก่า ถึงแม้ปัจจุบันจะถูกล้อมรอบด้วยชุมชน และย่างการค้าที่คึกคักมีนักท่องเที่ยวผ่านไปมาจำนวนมาก แต่ภายในวัดยังคงรักษาความเงียบสงบไว้ได้ดีเยี่ยม เหมาะกับการพักผ่อน เยี่ยมชมความงดงามของหอไตร

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”

ร่วมแสดงความคิดเห็น