การขนทรายเข้าวัดของชาวล้านนา

ย่างก้าวที่ก้าวเข้าสู่วัดอาจทำให้ดินทรายในวัดติดตัวกลับออกไป ชาวล้านนาเป็นสิ่งบ่าดีบ่างาม จึงนิยมการขนทรายเข้าวัดก่อพระเจดีย์ทรายถวายพุทธบูชา เชื่อว่าเป็นการทำบุญกุศลอย่างยิ่งหนึ่งใน “ประเพณีขนทรายเข้าวัด”

การขนทรายเข้าวัดของชาวล้านนา มีมานานแต่โบราณ ซึ่งในแต่ละภูมิภาคก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมขนทรายกันในวันเนาว์ คือ วันที่ 14 เมษายน โดยจุดประสงค์หลักของการขนทรายเข้าวัดมีหลายสาเหตุ เพื่อที่จะนำทรายไปไว้ใช้สร้างสิ่งต่างๆภายในวัด เช่น เจดีย์ โบสถ์ วิหาร กุฏิสงฆ์ อาคาร กำแพง ลานวัด

ในสมัยโบราณนั้น ชาวล้านนาถือว่า การนำสิ่งของที่เป็นของวัดกลับมาบ้าน หรือขโมยของวัดเป็นบาป ถึงแม้จะเป็นเพียงเม็ดดินทรายที่ติดตัวออกมาจากวัดก็ตามถือว่าเป็นสิ่งไม่ดีไม่งาม เมื่อมีโอกาสที่จะขนทรายกลับไปถวายคืนวัด ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างบุญกุศลแรงอย่างยิ่ง ชาวบ้านจะนำทรายจากแหล่งต่างๆ อาทิ ทรายจากแม่น้ำ ลำธาร ในปัจจุบันในความสะดวกมีจัดจำหน่วยตามร้านค้า ตามวัดต่างๆมีไว้ให้บริการกับผู้ที่ไม่สะดวกไม่มีที่จะไปหาทรายตามแหล่งธรรมชาติต่างๆ

ด้วยความโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือเกื้อกูล สมัครสมานสามัคคีของครอบครัว ในแต่ชุมชนได้ร่วมแรงร่วมใจในการขนทรายเข้าวัดยังนำความอบอุ่นร่มเย็นกลับคืน….

การก่อเจดีย์ทรายอาจก่อด้วยมือตามใจ ให้ใหญ่โตวิจิตรงงามตามใจชอบ ตกแต่งด้วยธงสามเหลี่ยมเล็กๆหลากสีสัน ประดับด้วยดอกไม้ ใบไม้มงคล สิ่งของมีค่าต่างๆตามใจชอบเรียกว่า “พระเจดีย์ทราย” ในการก่อเจดีย์ทรายมีรูปแบบแตกต่างกันไป เช่น ก่อเป็นเจดีย์ทรายเล็กๆ เท่าจำนวนอายุ ก่อเจดีย์ทรายโดยนำไม้มาตีกรอบเป็นเจดีย์ 4 เหลี่ยม และนำทรายมาเท 80 องค์เท่ากับจำนวนพระอสิติมหาสาวก(พระสาวกใหญ่ของพระพุทธเจ้า) หรือ 84,000 องค์ เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ หรือ บางพื้นที่นิยมนำไม้ไผ่สานเสวียนกลมๆเป็นชั้นๆ ขึ้นไป 3-7 ชั้น หรือทำเจดีย์ทรายขนาดใหญ่ 9 ชั้น เรียกกันว่า “เจดีย์สุดซ้าว” เพราะเปรียบเทียบความสูงยาวขนาดเท่ากับลำไผ่ที่เป็นแกนเสวียนสูงถึงปลายสุดไม้ไผ่ เมื่อก่อเสร็จก็จะนำตุง และช่อข้าวตอกดอกไม้มาปักตกแต่งถวายเป็นพุทธบูชา เมื่อเสร็จงานพระสงฆ์จะรวบรวมเอาทรายเหล่านี้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไปในภายหน้า

ด้วยความโอบออ้มอารี ช่วยเหลือเกื้อกูล สมัครสมานสามัคคีของครอบครัว ในแต่ชุมชนได้ร่วมแรงร่วมใจในการขนทรายเข้าวัดยังนำความอบอุ่นร่มเย็นกลับคืน….

ร่วมแสดงความคิดเห็น