คณะแพทย์ฯ มช.เปิดความร่วมมือในโครงการ อัลตร้าซาวน์แบบพกพา ในหลักสูตรแพทย์ขั้นสูงเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเชียน

คณะแพทย์ฯ มช. และ บ.จีอี เมดิคอล ซิสเต็ม (ประเทศไทย) ร่วมเปิดความร่วมมือโครงการอัลตร้า-ซาวน์แบบพกพา “Ultrasound in Curriculum”สำหรับหลักสูตรการเรียน เพื่อสนับสนุนการศึกษาในหลักสูตรแพทย์ขั้นสูงเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในวันอังคารที่ 23 เมษายน 2562 เวลา 13.00น. ณ ห้องประชุม 801 ชั้น 8 อาคารราชนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. โดยความร่วมมือในครั้งจะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาแพทย์กว่า 200 คน ในการศึกษาหลากหลายสาชาวิชาชีพแพทย์ สามารถเข้าถึงการรักษาผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกลและถิ่นธุรกันดารในภาคเหนือช่วยชีวิตผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที

ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า “อีกขั้นของเทคโนโลยีการแพทย์ด้านอัลตราซาวน์กับการพัฒนาการศึกษาต่อทางการแพทย์ขั้นสูงแห่งแรกในประเทศไทย และในภูมิภาคอาเซียน โดยความร่วมมือระหว่าง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ บริษัท จีอี เมดิคอล ซิสเต็ม (ประเทศไทย) ที่ให้การสนับสนุนเครื่องอัลตราซาวน์แบบพกพารุ่นล่าสุด

โดยความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการศึกษาต่อเนื่องในครั้งนี้ ยังประโยชน์ต่อนักศึกษาแพทย์กว่า 200 คนที่จะได้ใช้เครื่องมืออัลตราซาวน์เป็นส่วนหนึ่งของในการศึกษาหลากหลายสาชาวิชา อาทิ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ รังสีวิทยา สาขาศัลยศาสตร์ และ สาขาวิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน นอกจากนี้การใช้เครื่องมืออัลตราซาวน์แบบพกพาในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริงของแพทย์ถือเป็นการข้ามข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษาผู้ป่วยในแหล่งห่างไกลและถิ่นธุรกันดารในภาคเหนือ

ทั้งนี้เครื่องอัลตราซาวน์แบบพกพายังเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงานของทีมแพทย์ฉุกเฉินโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศภาคเหนือ (Northern Sky Doctor) เพื่อนับเป็นบทบาทที่สำคัญของภาคเอกชนในการสนับสนุนด้านการถ่ายทอดเทคโลยีการศึกษาต่อขั้นสูงของแพทย์ในประเทศไทย รวมถึงสอดคล้องกับหนึ่งในพันธกิจหลักของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของการศึกษาให้เป็นยอมรับในระดับสากล

โดยคาดหวังว่าการนำเครื่องมืออัลตราซาวน์แบบพกพาเข้ามาในหลักสูตรการเรียนการสอนจะช่วยเพิ่มพูนขีดความสามารถ และทักษะการประเมินภาวะความเสี่ยงเบื้องต้นของคนไข้ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยโรคและส่งต่อการรักษาโรคได้อย่างฉับไวและทันท่วงที โดยนักศึกษาแพทย์ในสหสาขาวิชาที่ทำการศึกษาต่อในหลักสูตรดังกล่าวของคณะ จะได้รับการ

ฝึกอบรมให้ใช้สามารถใช้เครื่องมืออัลตราซาวน์แบบพกพาในการทำ Fast-Scanning ในส่วนอวัยวะหลักที่สำคัญของร่างกาย ได้แก่ ระบบหัวใจ ระบบปอด และ ระบบช่องท้อง โดยทราบผลภายในระยะเวลา 10 นาที จึงสามารถประเมินร่างกายผู้ป่วยก่อนการวินิจฉัยโรคได้อย่างเหมาะสม และสามารถส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการรักษาในแผนกต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการส่งตรวจอัลตราซาวน์แบบเต็มรูปแบบในผู้ป่วยบางรายอีกด้วย”

พิธีเปิดความร่วมมือฯในครั้งนี้ คณะแพทยศาสตร์ มช. ยังรับการส่งมอบสิทธิจาก บ.จีอี เมดิคอล ซิสเต็ม (ประเทศไทย) ในการเข้าถึงระบบเครือข่ายข้อมูลภาพถ่ายอัลตราซาวน์ ผ่านระบบดิจิตอลคราวน์ซึ่งเป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูงในการปกป้องข้อมูลของคนไข้อย่างเคร่งครัด เนื่องจากเป็นระบบปิดที่สามารถส่งต่อข้อมูลในระบบในอุปกรณ์ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น โดยนักศึกษาแพทย์สามารถส่งภาพถ่ายจากเครื่องอัลตราซาวน์แบบพกพาเข้าสู่ระบบดิจิตัลคราวน์ภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์แพทย์ผู้สอน และจะได้รับคำปรึกษาที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาทักษะในด้านการแปลผลภาพถ่ายอัลตราซาวน์ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น รวมทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ผู้ปฏิบัติงานนอกสถานที่ในการตรวจสอบความถูกต้องของภาพ อัลตราซาวน์ภายในกลุ่มแพทย์ในโรงพยาบาลได้อย่างทันท่วงที

คุณ ชินตัน เดไซ COOจีอีเฮลท์แคร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เมื่อมองบทบาทของประเทศไทยในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นั้น นับว่าไทยเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นในการเป็นศูนย์การทางการแพทย์ (Medical Hub) ทาง GE ได้เห็นถึงความสำคัญและความสามารถในการพัฒนาของประเทศไทย จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างมาตรฐานทางการแพทย์ของประเทศไทยให้มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ GE ยังมุ่งหวังที่จะสนับสนุนในด้านอื่นๆ เช่นการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาสู่คนไทย,การส่งเสริมงานวิจัยและเทคโนโลยี”

ด้าน ดร.ราจาน คาลิดินดี ผู้จัดการใหญ่ จีอี แฮลท์แคร์ ประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า “นับเป็นครั้งแรกของ GE Healthcare ที่สนับสนุนเครื่องอัลตร้าซาวน์แบบพกพาให้กับโรงเรียนแพทย์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนหน้านี้ทาง GE ได้สนับสนุนมหาวิทยาลัยในอเมริกาและยุโรปในรูปแบบเดียวกันมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลายสถาบันได้ประสพความสำเร็จในการนำเครื่องอัลตร้าซาวน์แบบพกพาไปเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอน เช่น Norwegian University และ US medical University เป็นต้น”

ร่วมแสดงความคิดเห็น