พญาลวง สัตว์ในตำนานศิลปกรรมล้านนา

พญาลวง คือสัตว์ในตำนานชนิดหนึ่งที่มีปรากฏอยู่ในศิลปกรรมล้านนาเกือบทุกประเภท มักถูกเข้าใจว่าเป็นพญานาค หากสังเกตและวิเคราะห์ให้ดีแล้วจะพบว่าแตกต่างกัน ซึ่งพญาลวงจะมีขาสี่ขาอย่างมังกร มีหู มีปีก และมีเขา ซึ่งพญาลวงนี้เป็นสัตว์ในนิยาย ที่ปรากฏรูปในศิลปกรรมล้านนา คำว่า ลวง ในที่นี่ อาจหมายถึงสัตว์ในตำนานชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าใจว่ารับรูปแบบมาจากศิลปกรรมของจีน เพราะมีลักษณะคล้ายมังกรของจีน แต่พญาลวงของล้านนานั้น มีรูปร่างลักษณะที่เหมือนจริงมากกว่า
พญาลวง เป็น สัตว์ มงคล เป็นสัตว์ นำโชค ของ คนไทลื้อ ซึ่ง เชื่อว่า ถ้า ทำความดี ก็ จะได้ เจอ กับ พญาลวง ซึ่งเป็นสัตว์ ที่เป็น ตัว เชื่อม ระหว่าง มนุษย์ และ สวรรค์ พญาลวง ประกอบด้วย สัตว์ มงคล 5 อย่าง ได้แก่ ช้าง,กวาง,ปลา,นก ,สิงห์ เรียก หรือ เข้าใจ ง่ายๆ ว่า เป็น มังกร “ไทลื้อ” หรือ คำว่า ” เล้ง” หลง ก็ คือ มังกร ในภาษาจีน มีการผสมสัตว์สองชนิดเข้าด้วยกันได้แก่ มังกรและพญานาค รูปลักษณ์ของตัวลวง นำมาจากสัตว์หลายประเภท เช่น มีเขาเหมือกวาง มีหัวคล้ายวัว มีเกล็ดและหางเหมือนปลา มีงวงและงา เหมือนช้าง มีเท้าเหมือนม้า และมีปีกเหมือนนก เชื่อกันว่าพญาลวงเป็นสัตว์มงคล ถ้าบินอยู่บนฟ้าก็จะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ถ้าอยู่ในท้องน้ำก็จะทำให้ท้องน้ำบริเวณนั้นอุดมสมบูรณ์
พญาลวง ตัวลวงของล้านนามีลักษณะคล้ายมังกรและพญานาครวมกัน จะมีเขา ปีก และขา เชื่อว่าคำว่า “ลวง” เป็นชื่อที่เพี้ยนมาจากคำว่า “เล้ง” ที่แปลว่า มังกร ซึ่งมีความหมายถึงพลัง อำนาจ ความยิ่งใหญ่ เพศชายราตรีใดที่มองเห็นฟ้าแลบแปลบปลาบทาบขอบฟ้าแดนไกลดูช่างงดงามกระไรหาใดเปรียบ ความงามจากปรากฏการณ์นี้ชาวล้านนาเรียกขานว่า “ลวงเล่นฝ้า”
ความงามนี้ กวีได้นำมาเปรียบเทียบเชิงอุปมาว่า เสมือนอาการของนารีผู้เลอโฉมกำลังยกบาทย่างย้าย ดังที่ปรากฏในวรรณกรรมคร่าวบทหนึ่งว่า “ร่างก็แค้ว แอวก็ไหว ยกย่างไป เหมือนลวงเล่นฝ้า”บทกวีดังกล่าว ทำให้เกิดความสงสัยว่า “ลวง” คืออะไร ทำไมไประเริงเล่นในหมู่มวลเมฆ ตรงนี้มีคำตอบจากเรื่องเล่าของชาวบ้านที่เล่าสืบกันมาว่า “ลวง” หรือ “พญาลวง” เป็นสัตว์ครึ่งนาคครึ่งมังกร กลายร่างจากท่อนไม้ลิ้นฟ้า(เพกา) ที่ชาวบ้านนำมาวางกั้นบริเวณร่องน้ำที่รับน้ำฝนจากชายคาเพื่อมิให้น้ำเข้าใต้ถุนเรือน โดยจะกลายร่างในเวลากลางคืนเลื้อยขึ้นผยองบนท้องฟ้า มุ่งหน้าไปยังเขาสัตตบริภัณฑ์เพื่อไปกิน “หน่อเงิน หน่อคำ” ที่เขาแห่งนั้น จวบจนฟ้าสางใกล้สว่างก็กลับมานอนเป็นท่อนไม้ขวางขนานกับร่องน้ำตามปกติ ลักษณาการที่พญาลวงเยื้องย่างกรีดกรายเลื้อยชำแรกแทรกดั้นไปในกลีบเมฆน้อยใหญ่ ด้วยอานุภาพพญาลวงจึงทำให้เกิดแสงฟ้าแลบแปลบปลาบ วูบวาบ เสมือนได้แสงสะท้อนจาก “แว่นฟ้า” ส่องฉากฝ้าให้งดงาม
ขอบคุณ ข้อมูลจาก เพจ เมืองเหนือบ้านเฮา

ร่วมแสดงความคิดเห็น