พิธีสืบชะตา พระครูวิสาลพัฒนคุณ


พิธีสืบชะตา พระครูวิสาลพัฒนคุณ เจ้าอาวาสวัดวังหลวง

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2565 เวลา 9.00 น.ส.ส.นพ.นิยม วิวรรธนดิฐกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อจังหวัดแพร่ เป็นประธานในพิธี จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พิธีสืบชะตา อายุวัฒนมงคล 81 ปี พระครูวิสาลพัฒนคุณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลหนองม่วงไข่ เจ้าอาวาสวัดวังหลวง ตำบลวังหลวง อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่


โดย.ส.ส.นพ.นิยม วิวรรธนดิฐกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อจังหวัดแพร่ ได้ร่วมทำบุญถวายปัจจัยและน้ำดื่มในงานพิธีดังกล่าว โดนงานสืบชะตาและงานอายุวัฒนมงคล 81 ปี ปี พระครูวิสาลพัฒนคุณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลหนองม่วงไข่ เจ้าอาวาสวัดวังหลวง ได้ดำเนินการตามาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างเคร่งครัด

สำหรับวัดวังหลวงและหมู่บ้านวังหลวง นั้น มีความเป็นมาว่า ประวัติหมู่บ้าน(จากการสอบถามผู้เฒ่า ผู้แก่ บางท่าน กล่าวว่า) การก่อตั้งชุมชนบ้านวังหลวงเริ่มแรกมีชาวบ้านหัวข่วง จังหวัดแพร่ ได้มาอาศัยพื้นที่ป่าบริเวณนี้ เพราะอุดมสมบูรณ์ ประจวบกับใกล้ภูเขา (ดอยม่อนนาบ่อ) และแพะเปียง สภาพพื้นที่ป่าเป็นป่าไม้สักทอง เต็ง รัง เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่า ชาวบ้านจึงล่าสัตว์เพื่อการยังชีพ และบริเวณใกล้ฝั่งแม่น้ำยมมีดินอุดมสมบูรณ์ น้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์



ในอดีตแม่น้ำยมเป็นแม่น้ำ ที่สะอาด และมีสัตว์น้ำนานาชนิดโดยเฉพาะบริเวณบ้านวังหลวงที่มีแม่น้ำยมไหลผ่านบริเวณไหนที่มีน้ำลึก จะเรียกว่า “วัง” เช่น วังเครือบ้า วังอีตุ วังเคียน วังพระเจ้า (ที่วัดร้างตลาดสด) สันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน “วังหลวง” นอกจากนี้หลักฐานพื้นฐานขององค์ความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมมาจากบรรพบุรุษ ที่ได้ถ่ายทอดกันมาให้ ชนรุ่นหลังได้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิต อยู่โดยพึ่งพาธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์เพื่อการยังชีพ

เช่น เชื่อเรื่องผี ผีบ้าน ผีเรือน ผีเจ้าที่ การเลี้ยงผีเจ้าบ้าน เลี้ยงผีศาลเจ้าพ่อหลวงซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน การสู่ขวัญ (การเอาขวัญ) พิธีบวชพระ (ดาปอย) ประเพณีถวายสลากภัตร (กินสลาก) เป็นต้น ความเชื่อเหล่านี้นำมาสู่ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ถือปฏิบัติตามบรรพบุรุษแสดงออกถึงภูมิปัญญาของชุมชน นอกจากนี้ศิลปกรรมพื้นบ้านที่แสดงปรากฏให้เห็นถึง ความสำเร็จของภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลายอายุชน เช่น งานจักสาน และทอเครื่อง จักสานสำหรับดักสัตว์ กล่องข้าว ขันโตก เปลเด็ก เครื่องปั้นดินเผา งานแกะสลักการฟ้อนรำ และเพลงพื้นบ้าน จ้อย ซอ ค่าว เป็นต้น

ร่วมแสดงความคิดเห็น