เทศบาลนครเชียงใหม่ พร้อมเป็นแม่งานจัดแข่งลูกยางวิทยุการบิน มินิวอลเลย์บอล 12 ปี ภาคเหนือ
สำนักการศึกษาเทศบาลนครเชียงใหม่ ขอเชิญชม การเเข่งขันวิทยุการบินฯ มินิวอลเลย์บอล รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี ครั้งที่ 23 (ปีที่ 41) ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี 2566 (รอบคัดเลือกภาคเหนือ) ระหว่างวันที่ 5-12 ธันวาคม 2566 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี

เทศบาลนครเชียงใหม่ ร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่, กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ, การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.), บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด, สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย ChiangMaiMunicipality ฝ่ายกิจกรรมเด็กและเยาวชนส่วนส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่

ความเป็นมา บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ดำเนินภารกิจในด้านบริการการเดินอากาศ บริการสื่อสารการบิน และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการบิน และแม้ว่าภารกิจมิได้เกี่ยวข้องกับการกีฬา แต่ บวท. ได้มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนด้านการกีฬาของประเทศ ประกอบกับรัฐบาลได้มีมติ ครม. ให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ จัดสรรงบประมาณร้อยละ 3 ของรายได้ของหน่วยงาน มอบให้กับการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมกีฬาของประเทศ ซึ่งบวท. ได้รับข้อยกเว้นในกรณีนี้ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ดำเนินกิจการแบบไม่ค้ากำไร แต่เพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อสังคม ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในสถาบันของรัฐฯ บวท. จึงได้ให้การสนับสนุนกีฬาเป็นการทดแทน เพื่อสนองนโยบายส่งเสริมด้านการกีฬาดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสิ่งที่ดีให้กับสังคม บวท. จึงจัดโครงการ “วิทยุการบินฯ มินิวอลเลย์บอลฯ” สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา (อายุไม่เกิน 12 ปี) ประเภททีมชายและทีมหญิง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายโอกาสแก่ยุวชนของชาติ ให้ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้แสดงออกถึงความสามารถด้านกีฬาวอลเลย์บอล อีกทั้งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มาสนใจเล่นกีฬา รวมทั้งการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อห่างไกลยาเสพติด โครงการมินิวอลเลย์บอลฯ ได้เริ่มจัดการแข่งขันฯ ครั้งแรกในปี 2543 ในจังหวัดที่มีหอบังคับการบินตั้งอยู่จำนวน 32 จังหวัด มีทีมยุวชนเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 744 ทีม จำนวน 11,160 คน ซึ่งได้รับความสนใจจากภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก ให้การสนับสนุนการดำเนินการจัดการแข่งขันจนประสบความสำเร็จ และได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาวอลเลย์บอลระดับชาติ จากความสำเร็จในครั้งแรก บวท. จึงขยายการจัดการแข่งขันไปยังทั่วประเทศต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้ยุวชนที่มีฐานะยากจนจำนวนมาก ได้มีประสบการณ์ที่ดี ได้รับการพัฒนาฝีมือ และยังเป็นโอกาสที่จะได้รับการคัดเลือกเข้าโรงเรียนประจำจังหวัด รวมถึงเข้าร่วมการแข่งขันในระดับประเทศหลายรายการ






ร่วมแสดงความคิดเห็น