5117

ตำนานเมืองเชียงใหม่

เชียงใหม่นิวส์ – ร้อยเรื่องเมืองล้านนา นำเสนอเรื่องราวของการสร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์ เชียงใหม่ เชียงใหม่ มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ในตำนานแรก ๆ ที่กล่าวถึงเชียงใหม่ อย่างตำนานว่าด้วยพระธาตุในล้านนา กล่าวถึงลัวะว่าเป็นชนพื้นเมืองมาก่อน ตำนานมูลศาสนา ชินกาลมาลีปกรณ์ และจามเทวีวงศ์ กล่าวเปรียบเทียบลัวะว่าเป็นคนเกิดในรอยเท้าสัตว์ ด้วยเหตุที่ลัวะถือเอารูปสัตว์เป็นสัญลักษณ์ ตำนาน รุ่นหลังอย่าง ตำนานสุวรรณคำแดงหรือตำนานเสาอินทขิล  เล่าว่าลัวะเป็นผู้สร้าง เวียงเจ็ดลิน เวียงสวนดอก และเวียงนพบุรีหรือเชียงใหม่ ลัวะจึงน่าจะเป็นชนกลุ่มแรกที่สร้างเมือง แต่ก่อนหน้าทก็คงมีมนุษย์อาศัยอยู่ที่นี่ก่อนแล้ว แต่ยังไม่เป็นเมืองเต็มรูปแบบ อ้างอิง ตำนานประตูเมืองและแจ่งเมืองต่าง ๆ ของเชียงใหม่ https://www.chiangmainews.co.th/social/1342703/ ในขณะเดียวกันที่ลำพูน ก็มีเมืองชื่อหริภุญไชย ตามตำนานการสร้างเมืองกล่าวว่า พระนางจามเทวีวงศ์ ธิดากษัตริย์เมืองละโว้เสด็จขึ้นมาครองหริภุญไชยใน พ.ศ. 1310-1311 ครั้งนั้นพระนางได้พาบริวารข้าราชบริพารที่เชี่ยวชาญในศิลปวิทยาการต่างๆขึ้นมาด้วย หริภุญไชย จึงได้รับเอาพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมละโว้มาใช้ ในการพัฒนาจนเจริญขึ้นเป็นแคว้นใหญ่ จวบจน ประมาณปี พ.ศ. 1839 พญามังราย ผู้สืบเชื้อสายมาจากปู่เจ้าลาวจก หรือลาวจักราช เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ลาว ครองเมืองเงินยาง ซึ่งได้แผ่อำนาจครอบลุมลุ่มแม่น้ำกก และได้สร้างเวียงเชียงราย ขึ้นเป็นกองบัญชาการซ่องสุมไพร่พล เพื่อยึดครองหริภุญไชย เนื่องจากหริภุญไชยเป็นเมืองศูนย์กลาง ความเจริญและเป็นชุมทางการค้า พญามังรายได้เข้ายึดครองหริภุญไชย […]

(มีคลิป) “สามกษัตริย์” เชียงใหม่

เชียงใหม่นิวส์ – ร้อยเรื่องเมืองล้านนา นำเสนอเรื่องราว ประวัติความเป็นมาของอนุสาวรีย์สามกษัตริย์   อนุสาวรีย์สามกษัตริย์  เดิมพระบรมรูป “สามกษัตริย์” หล่อด้วยทองเหลืองและทองแดงรมดำ มีขนาดเท่าครึ่ง จากพระบาทถึงพระเศียรไม่รวมยอดมงกุฏ มีความสูง 270 เมตร ออกแบบและทำการปั้นหล่อ โดยคุณไข่มุกด์ ชูโต ใช้เวลา 10 เดือน ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ สามกษัตริย์ จากกรุงเทพมหานครขึ้นประดิษฐานบนแท่นพระบรม ราชานุสาวรีย์ ในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2526 เวลา 11.49 น.ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่พระมหากษัตริย์สามพระองค์ มาทรงร่วมกันวางแผนการสร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งปรากฏคำจารึกฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ กล่าวคือพญามังรายประสูติ เมื่อปีกุน พ.ศ. 1782 พระองค์ทรงครองเมืองเงินยางเชียงแสน แทนพญาลาวเม็ง พระราชบิดา เมื่อ พ.ศ. 1802 ทรงพระปรีชาสามารถกล้าหาญเป็นเยี่ยม สามารถ รวบรวมแคว้นและเมืองต่างๆ เข้าเป็นอาณาจักรล้านนาไทย และได้ทรงตรากฏหมาย “มังรายศาสตร์” ขึ้นเป็นหลักในการปกครองบ้านเมือง พระองค์ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ ราชวงศ์มังราย เมื่อปี […]

พระพุทธรูปแกะสลักหินผา

เชียงใหม่นิวส์ – ร้อยเรื่องเมืองล้านนา นำเสนอเรื่องราว ของ พระพุทธรูปแกะสลักหินผา ที่ “วัดห้วยผาเกี๋ยง” เมืองพะเยา “วัดห้วยผาเกี๋ยง” ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยผาเกี๋ยง ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเขาที่เต็มไปด้วยผาหิน ทั้งยังเป็นแนวเขตเดียวกันกับเมืองโบราณ หรือที่เรียกว่า “เมืองผายาว” หรือพะเยาในปัจจุบัน วัดได้สร้าง อุทยานพุทธศิลป์เมืองผายาว ขึ้นโดยแกะสลักพระพุทธรูปติดกับก้อนหินตามหน้าผาภายในบริเวณวัด เพื่อให้ผู้คน ตลอดจนสาธุชนได้เดินทางมาศึกษาเที่ยวชม ทั้งนี้วัดห้วยผาเกี๋ยงได้เริ่มแกะสลักพระพุทธรูปปางต่างๆ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบัน โดยใช้ช่างแกะสลักหินพื้นบ้าน หรือที่เรียกว่าสล่าพื้นบ้านในเมืองพะเยา เป็นผู้แกะสลักพระพุทธรูปทั้งหมด พระพุทธรูปแกะสลักหินผา ภายในบริเวณวัดมีที่น่าสนใจมากมาย ซึ่งที่โดดเด่นที่สุด ได้แก่ พระพุทธรูปปางกามโภคีไสยาสน์ หรือสมเด็จพระศรีนวมินทราทิตย์ มหาโพธิสัตว์ (ปางกามโภคีไสยาสน์ หมายถึง ยินดีในโภคทรัพย์ คือยังครองราชสมบัติอยู่ แต่จะมาตรัสรู้ในภายภาคหน้า) โดยเป็นพระพุทธรูปแกะสลักในลักษณะนอนตะแคงซ้าย สูง 5 เมตร ยาวประมาณ 12 เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก หันพระเศียรไปทางทิศเหนือ […]

พิธีจุดประทีป ๑,๐๐๐ ดวง

เชียงใหม่นิวส์ – ร้อยเรื่องเมืองล้านนา นำเสนอเรื่องราวของ พิธีจุดประทีป พันดวง ที่วัดทาสบเมย ลำพูน วัดวัดทาสบเมย ทำพิธีจุดประทีป ๑,๐๐๐ ดวง ณ วัดทาสบเมย ต.ทาขุมเงิน อ.แม่ทา จ.ลำพูน ๘ พ.ย.๖๕ ในประเพณียี่เป็ง ลอยกระทง ประจำปี 2565 อย่างสวยงาม ขอบคุณ พระครูปลัดสิริมงคล ถิรญาโณ 

ตานตุงเหล็กตุงตอง ล้านนา

งานตานตุงเหล็กตุงตอง วัดสันป่ายางหลวง ลำพูน เชียงใหม่นิวส์ – ร้อยเรื่องเมืองล้านนา นำเสนอเรื่องราว พิธีตานตุงเหล็กตุงตอง ประเพณีล้านนาที่สืบทอดกันมาในประเพณีลอยกระทง ที่วัดสันป่ายางหลวง ลำพูน วัดสันป่ายางหลวง ลำพูน จัดพิธีตานตุงเหล็กตุงตองวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565๕ เวลา 08.00 โดยมี ฟังธรรมอานิสงส์ตานตุงเหล็กตุงตองฯลฯ และพระเจ้า 10 ชาติ, คาถาพัน และวันที่ 8 พฤศจิกายน เวลา 05.00 น. เป็นต้นไป ฟังธรรมมหาชาติเวสสันตรชาดก ตั้งแต่กัณฑ์ ทศพร ซึ่งศรัทธาญาติโยมท่านใดว่างก็ขอเชิญชวนมาร่วมสร้างบารมีและฟังธรรมได้ที่ วัดสันป่ายางหลวง ลำพูน

จุดประทีปถวายบูชาพระรอด

เชียงใหม่นิวส์ – ร้อยเรื่องเมืองล้านนา นำเสนอเรื่องราวของการบูชาพระรอดหลวงวัดมหาวัน 1,360 ปี วัดมหาวัน ลำพูน จัดประเพณียี่เป็ง ตามโคมส่องเมือง-จุดประทีปถวายบูชาพระรอดหลวงวัดมหาวัน 1,360 ปี ในกิจกรรมร้อยสายบุญ ถวายโคม ตามประทีป เชื่อมพระธาตุ- พระรอด ที่จังหวัดลำพูนจัดขึ้น ในวันที่ 6-8 พ.ย. 2565 บริเวณถนนรกแก้ว – วัดมหาวัน 15.00 – 22.00 น. และในวันอาทิตย์ที่ 6 พ.ย. 2565 วัดมหาวัน ลำพูน จัดงานบุญ ทอดกฐินสมทบทุนสร้าง มหามณฑปพระพุทธสิกขีปฎิมากร พระรอดหลวง มียกช่อฟ้าเอก บูรณะวิหารเวลา 16.00 น. ขอบคุณ Imboon Smile อานิสงส์ของการถวายประทีปโคมไฟ1. ย่อมเป็นผู้รู้คุณของพระรัตนตรัย ทำให้มีศรัทธามั่นคง2. เป็นผู้มีความเคารพ มีสัมมาคารวะ3. เป็นผู้มีดวงตาสดใส สวยงาม มองได้ไกล ดวงตาบริสุทธิ์บริบูรณ์4. ทำให้เป็นผู้มีทิพยจักษุ […]

สีสันแห่งสายน้ำ

“สีสันแห่งสายน้ำ เทศกาลลอยกระทง 2565” จังหวัดเชียงราย และพะเยา ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ร่วมงานเทศกาลแห่งความสุข สนุกสนาน “สีสันแห่งสายน้้ำ” ในงานประเพณีลอยกระทง หรือ “ยี่เป็ง” ประจำปี 2565 ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และพะเยา มีกิจกรรมที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจัดขึ้นหลากหลายพื้นที่ แต่ละแห่งมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่แตกต่างกันไป ให้นักท่องเที่ยวได้เลือกไปร่วมงาน มี High Light บางแห่งที่น่าสนใจแนะนำทุกท่าน ดังนี้ 🌷จังหวัดเชียงราย 5-17 พ.ย. 2565 งานเทศกาลลอยกระทง ปี 2565 ณ สนามฝึก รด. อ.เมือง จ.เชียงราย 9 พ.ย. 2565 งานประเพณีลอยกระทงประจำปี 2565 “ป๋าเวณียี่เป็ง นครเจียงฮาย” ณ สวนตุงและโคม นครเชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย 6-9 พ.ย.2565 งานประเพณีลอยกระทง “ป๋าเวณียี่เป็ง” อ.เชียงแสน ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเชียงแสน […]

กวนข้าวทิพย์ วิถีล้านนา

เชียงใหม่นิวส์ – ร้อยเรื่องเมืองล้านนา นำเสนอประเพณีการกวนข้าวทิพย์ ที่หาชมได้ยาก กวนข้าวทิพย์ เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ที่ปะปนกับพิธีกรรมของศาสนาพุทธ โดยอ้างถึงเหตุการณ์ในสมัยพุทธกาลที่นางสุชาดาได้ปรุงข้าวมธุปายาสถวายพระโคตมพุทธเจ้าก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ ถือกันว่าข้าวมธุปายาสเป็นของทิพย์ เมื่อได้จัดทำขึ้นจึงเรียกว่า ข้าวทิพย์ ในประเทศไทย ชาวบ้านจะทำในเทศกาลออกพรรษา ถวายพระสงฆ์เพื่อเป็นการสักการบูชา ซึ่งถือเป็นสิริมงคลกับตนเองถ้ารับประทาน การกวนข้าวทิพย์ต้องอาศัยความสามัคคีจากชาวบ้านจึงจะสำเร็จลงได้ การที่ทำในวันออกพรรษา เพื่อถวายเป็นเครื่องสักการบูชา และรับเสด็จพระพุทธองค์ที่เสด็จจากจำพรรษาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ประเพณีกวนข้าวทิพย์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทย สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ เมื่อปี พ.ศ. 2556 และในค่ำคืนนี้ จะพิธีพิธีกวนข้าวทิพย์ ในงานสมโภช ยอดฉัตรทองคำเพื่อประดิษฐานเหนือพระธาตุเจดีย์และพิธีทอดกฐินสามัคคี วัดยางกวง ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในวันอังคาร ที่ 1 พฤศจิกายน 2565เวลา 18.09 น. พร้อมกัน ภายในวิหารเวลา 19.09 น. พิธีอธิษฐานบรรจุพระธาตุเวลา 19.39 น. เจริญพระพุทธมนต์เวลา 20.39 น. พิธีสวดเบิก ( ล้านนา )เวลา […]

ร่มบ่อสร้าง ตำนานที่เล่าขาน

เชียงใหม่นิวส์ – ร้อยเรื่องเมืองล้านนา นำเสนอเรื่องราวตำนานการทำร่ม ที่บ่อสร้าง และสันกำแพง ซึ่งทราบกันดีว่าที่บ่อสร้าง และสันกำแพงจะมีงานจ้องล้านนา ในช่วงยี่เป็ง เชียงใหม่นิวส์ – ร้อยเรื่องเมืองล้านนา จึงอยากนำเสนอเรื่องราวการทำร่มที่มีการสืบสานช่างฝีมือ จากรุ่นสู่รุ่นมายาวนาน ร่มบ่อสร้าง โดย Umbrella Making Centre ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม, ร่มถวิล  เป็นอีกแหล่งเรียนรู้การทำร่มพื้นบ้านบ่อสร้างวิสาหกิจชุมชน​ศูนย์​ทำร่มบ่อสร้าง แหล่งรวมช่างฝีมือด้านการทำร่ม มากว่า 44 ปี ที่นี่จะมีคุณยาย ชื่อ “อุ้ยสม” อายุกว่า70 ปี ทำร่มมาตั้งแต่อายุรุ่นๆ ทำร่มมากว่า 40 ปี หากใครได้มาชม ร่มบ่อสร้าง โดย Umbrella Making Centre ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม, ร่มถวิล จะได้พบคุณยาย “อุ้ยสม” นั่งทำร่ม หรือจ้องให้ได้ชมความน่ารัก ในอาชึพทำร่ม ที่สืบทอดกันมาสมัยบรรพบุรุษ ทั้งนี้ศักยภาพและความเข้มแข็งของ “วิสาหกิจชุมชนศูนย์ทำร่มบ่อสร้าง” ที่มีหลักการทำงานภายใต้แนวคิดการกระจายรายได้ ร่มบ่อสร้าง 1 คัน สร้างรายได้ทางตรงจากการทำร่ม […]

วัดพระยืน วัดตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี

เชียงใหม่นิวส์ – ร้อยเรื่องเมืองล้านนา นำเสนอเรื่องราวของ วัดพระยืน วัดคู่บ้านคู่เมืองนครหริภุญไชย มีมาแต่สมัยพระนางจามเทวี วัดพระยืนเป็นวัดประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่วัดหนึ่งในประเทศไทย เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองนครหริภุญไชยมีมาแต่สมัยพระนางจามเทวี เป็นปฐมกษัตริย์ครอบครองนครหริภุญไชยองค์ที่ 1 ตั้งอยู่ ณ บ้านพระยืน หมู่ที่ 1 ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ปรากฏตามประวัติศาสตร์และโบราณคดีดังนี้ ตำหนานแห่งวัดพระยืนลำพูน นี้ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ด้วยความที่เป็นวัดเก่าแก่และโบราณที่ตั้งอยู่นอกเมืองไปในทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นวัดสำคัญหนึ่งในสี่ของวัดสี่มุมเมืองที่พระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัยนคร ทรงให้สร้างไว้ เมื่อปีพุทธศักราช 1204 พระวาสุเทพฤาษี ได้สร้างนครหริภุญไชย ขึ้นเมื่อสร้างนครหริภุญไชยได้ 2 ปี คือ พ.ศ.1206 จึงได้อัญเชิญพระนางจามเทวีจากเมืองละโว้(ลพบุรี)มาเสวยราชสมบัติและเมื่อพระนางเจ้าจามเทวี ครองราชย์ได้ 7 ปี เมื่อ พ.ศ.1213 จึงได้สร้างวัด ณ ทิศตะวันออก สร้างพระวิหาร พระพุทธรูป และเสนาสนะ ให้เป็นที่อยู่ของพระสังฆเถระตำหนานวัดป่าแดดเชียงตุง เมื่อปีพุทธศักราช 1606 สมัยพระเจ้าธรรมิกราชกษัตริย์หริภุญไชยองค์ที่ 32 มีผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ผุดขึ้นมาจากพื้นดินกลางเมืองเปล่งรัศมีต่างๆ พระองค์จึงมีพระบัญชาให้เสนาอำมาตย์ทั้งหลายสร้างสถูปปราสาทสูง 16 ศอก […]

“เงินแถบ” เงินรูปีอินเดียในประวัติศาสตร์ล้านนา

ไผ่ตันฮู้จักผ่อง!! “เงินแถบ”เงินรูปีอินเดียในประวัติศาสตร์ล้านนา “เงินรูปีอินเดีย” หรือชาวล้านนาเถูกนำเข้ามาใช้ซื้อขายสินค้าในล้านนาโดยชาวอังกฤษเป็นผลมาจากการค้าไม้สักของบริษัทชาวอังกฤษและการเปิดเสรีการค้าระหว่างชายแดนล้านนากับพม่า (เมียนมาร์) จนทำให้เงินรูปีอินเดียได้กลายเป็นเงินสกุลหลักที่ใช้หมุนเวียนและผูกพันกับระบบเศรษฐกิจของล้านนาเกือบศตวรรษรวมถึงการค้าในขบวนพ่อค้าวัวต่าง ม้าต่าง ลาต่าง ของชุมชนผู้คนที่เดินทางค้าขายต่อกันเมื่อคราที่ยังไม่มีแบ่งกั้นพรมแดนก็ใช้เงินสกุลนี้เป็นตัวกลางการค้า และเป็นการผลักดันให้ล้านนาเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของตลาดโลกทั้งการนำเข้าและการส่งออก อิทธิพลของเงินรูปีอินเดียในล้านนาส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อรัฐบาลสยาม ซึ่งพยายามพัฒนาและปรับประเทศให้ทันสมัย เงินรูปีอินเดียเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยสะท้อนให้เห็นถึงการปะทะกันทางสังคมเศรษฐกิจในล้านนา ระหว่างล้านนากับกลุ่มต่างๆรวมทั้งอังกฤษในสยามและอังกฤษแห่งอินเดียด้วย ทั้งนี้มูลค่าของเงินรูปีอินเดียเป็นสิ่งดึงดูดให้กลุ่มชนต่างแดนหลายกลุ่มชาติพันธุ์เข้ามาปะทะสังสรรค์ในล้านนาอีกระลอกหนึ่งโดยสามารถกล่าวได้ว่าคลื่นของการย้ายถิ่นฐานของหลายกลุ่มชนสู่ล้านนาเป็นผลสืบเนื่องมาจากเงินรูปีอินเดีย เงินรูปีอินเดียของอังกฤษคือโลหะเงินที่ชาวล้านนานิยมนำมาทำเป็นเครื่องเงินมากกว่าสะสมเป็นเงินตรา ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงนำมาร้อยเป็นเครื่องประดับ ที่ช่างมักจะนำไปหลอมทำเครื่องประดับต่างๆเส้นต่างหู สร้อยแหวน กำไล เข็มขัด(บางทีก็แค่ทำห่วงแล้วเชื่อมเงินแถบนี้ติดกันเป็นเข็มขัด)พวกชนเผ่าชาวเขามักนิยมเจาะรูแล้วเย็บประดับลงบนเสื้อผ้า หมวกหรือเครื่องประดับศีรษะเพื่อความสวยงามและแสดงสถานะทางสังคม ทางการรักษาของคนล้านนาโบราณก็จะให้เงินแถบนี้บ่มในไข่ไก่ที่ต้มสุขแล้วเอาไข่แดงออกใช้ผ้าเช็ดหน้าห่อแล้วนำไปถูไถ่บนตัวผู้ที่ป่วยไข้เรียกว่า”การแฮกตุ่ม”แต่ต้องมีการร่ายคาถากำกับ ไข้ที่ถูกจับออกมาจะติดอยู่ที่เงินแถบจนเป็นสีดำ จะต้องทำการขัดด้วยขี้เถ้าแล้วบ่มในไข่ทำแบบนี้จนไข้หมด ซึ่งสังเกตที่เงินว่าจะไม่ดำอีก สำหรับปัจจุบันเงินรูปีอินเดียในล้านนากลายเป็นประวัติศาสตร์แต่ในสาธารณรัฐอินเดียนั้น ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจและในฐานะเจ้าของสกุลเงิน อินเดียในยุคอาณานิคมอังกฤษ Cr.อภิรัฐ คำวัง

23 ตุลาคม วันประสูติกาล พ่อขุนเม็งรายมหาราช

เชียงใหม่นิวส์ – ร้อยเรื่องเมืองล้านนา นำเสนอเรื่องราวของพ่อขุนเม็งรายมหาราชซึ่ง 23 ตุลาคม คือวันประสูติกาล พ่อขุนเม็งรายมหาราช วันนี้ 23 ตุลาคม วันประสูติกาล พ่อขุนเม็งรายมหาราช ครบรอบวันประสูติ 783 ปี พ่อขุนเม็งรายมหาราชประสูติเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 1782 ณ เมืองหิรัญนครเงินยางเวียงเชียงแสน ทรงเป็นผู้รวบรวมอาณาจักรน้อยใหญ่ทางตอนเหนือให้เป็นปึกแผ่นเดียวกัน พ่อขุนเม็งรายมหาราช ทรงสร้างเมืองเอกในแว่นแคว้นถึง 3 เมืองได้แก่ เมืองเชียงราย เมื่อ พ.ศ. 1805 เมืองกุมกาม (ปัจจุบันคืออำเภอสารภีจังหวัดเชียงใหม่) เมื่อ พ.ศ. 1829 เมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1834 ก็นับได้ว่าเมืองเชียงรายมีอายุ 760 กว่าปีมาแล้ว ทรงก่อต้งสร้างเมืองล้านนาให้เจริญรุ่งเรือง

1 2 3 4 6