330

ม.แม่โจ้ เปิดโมเดลธุรกิจเกษตรแบบใหม่ ขายมะม่วงเหมายกต้น

ม.แม่โจ้ เปิดโมเดลธุรกิจเกษตรแบบใหม่ ขายมะม่วงเหมายกต้นตลอดฤดูกาลให้คุณเป็นเจ้าของมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองคุณภาพมาตรฐานส่งออก การันตีผลผลิต ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดโมเดลธุรกิจเกษตรแบบใหม่ ให้ทุกท่านได้เป็นเจ้าของผลผลิตมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองคุณภาพ แบบเช่าเหมายกต้นตลอดฤดูกาลเก็บเกี่ยว ในพื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยทุกขั้นตอนการผลิตระบบ GAP ตามมาตรฐานการส่งออก การันตีผลผลิตมะม่วงคุณภาพเริ่มต้นที่ 50 กิโลกรัม/ต้น (ขนาดผล 300 กรัม ขึ้นไป) พร้อมจัดส่งให้ถึงบ้าน นายสุรชัย ศาลิรัศ ผู้อำนวยการฟาร์มมหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า “สำหรับการเปิดขายมะม่วงแบบเหมายกต้นตลอดฤดูกาลเก็บเกี่ยวนั้น ถือเป็นโมเดลธุรกิจเกษตรแบบใหม่ ที่ให้ท่านได้เป็นเจ้าของมะม่วงทั้งต้น โดยมีเจ้าหน้าที่ นักศึกษา ดูแลดำเนินการทุกกระบวนการผลิตระบบ GAP ตามมาตรฐานการส่งออก ตั้งแต่ต้นฤดูกาล จนถึง ช่วงเก็บเกี่ยวการผลิต คือ ตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บผลผลิตเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นในช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม ,มีการป้องกันศัตรูพืชเพื่อรักษาคุณภาพผลผลิตช่วงออกดอก และก่อนห่อผล ในเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์,ตัดแต่งผลและห่อผลเพื่อปรับปรุงคุณภาพสีผิว ป้องกันโรคและแมลง ช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ,ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากแปลง คัดขนาดและคุณภาพผลผลิตในเดือนพฤษภาคม พร้อมจัดส่งให้เจ้าของที่สั่งจองไว้ถึงบ้าน ทั้งนี้ ท่านยังสามารถเข้ามาดูกระบวนการผลิตหรือร่วมเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตมะม่วงคุณภาพได้ทุกระยะ และสามารถเข้าร่วมเก็บเกี่ยวผลผลิตเองในพื้นที่ได้ตามสะดวก” ขอเชิญท่านที่สนใจ […]

(มีคลิป) มอบใบประกาศนีบัตรให้พ่ออุ้ยคำปัน อุทรา

งานเกษตรภาคเหนือ ครั้งที่ 10 คณะเกษตรศาสตร์ มช.มอบใบประกาศนีบัตรให้พ่ออุ้ยคำปัน อุทรา สนับสนุนทำซุ้มศิลปะไม้ไผ่มอบให้ มช. และกำนันดี จันทคลักษณ์ จัดแสดงแปลงผักปลอดสารพิษมาจัดแสดงให้ความรู้ นทท.และ นศ. เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 12 ธ.ค. 2565 ผศ.ดร.ดรุณี นาพรหม คณะบดีคณะเกษตรศาสตร์ มช. มอบหมายให้ ผศ.ดร.ต่อนภา ผุสดี รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวตกรรม คณะเกษตรศาสตร์ มช. พร้อมนายทัพไท หน่อสุวรรณ นักวิทยาศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มช.มอบประกาศนียบัตรให้นายดี จันทคลักษณ์ อดีตกำนันตำบลแม่เหียะ และผู้ดูแลดีดีฟาร์ม (ฟาร์มปลูกผักปลอดสารเคมี) และประธานวิสาหกิจชุมชนผิดอาหารสัตว์ ที่ได้มาจัดแสดงรูปแบบผลิตพืชผักปลอดสารพิษในแปลงสาธิตการพัฒนาระบบนิเวศเกษตรเมือง ภายใต้การจัดแสดงในโครงการพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยเพื่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัยตามแนวทาง BCG Economy Model และมอบประกาศนียบัตรให้พ่อครูคำปัน อุทรา ศิลปินรางวัลเพชรราชภัฎ และเพชรล้านนา สาขาศิลปะสถาปัตยกรรมงานไม้ไผ่ ประจำปี พ.ศ.2548 ที่ได้ให้การสนับสนุนการจัดแสดงซุ้มศิลปะไม้ไผ่ ที่ถ่ายทอดภูมิปัญญางานศิลปะรักษ์โลก สร้างขึ้นร่วมงานเกษตรภาคเหนือ […]

ทต.ร้องกวาง มอบกระสอบทราย ให้แก่กลุ่มเกษตรกร

ทต.ร้องกวาง มอบกระสอบทราย ให้แก่กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้น้ำลำห้วยบาตร นำไปกั้นน้ำ กักเก็บ ไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 เทศบาลตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ นำโดย นายพิพัฒน์ ซื่อทรงธรรม นายกเทศมนตรีตำบลร้องกวาง อ.ร้องกวาง จ.แพร่พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมมอบกระสอบทราย พร้อมถุงบรรจุทราย ให้แก่กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้นำ้ลำห้วยบาตร หมู่ที่ 4 ตำบลร้องเข็ม อำเภอร้องกวางฯ เตรียมนำไปกั้นน้ำ กักเก็บ ไว้ใช้ในการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง นายพิพัฒน์ ซื่อทรงธรรม นายกเทศมนตรีตำบลร้องกวาง กล่าวว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับพี่น้องเกษตรกร ในการทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งที่จะมาถึงนี้ วันนี้ทางคณะผู้บริหาร และหัวหน้าส่วนราชการ เทศบาลตำบลร้องกวางฯ ร่วมมอบกระสอบทราย พร้อมถุงบรรจุทราย ให้แก่กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้น้ำลำห้วยบาตร หมู่ที่ 4 ตำบลร้องเข็ม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ นำไปกั้นน้ำ กักเก็บ ซึ่งในช่วงนี้ยังพอมีน้ำตามลำห้วยไว้ใช้ในการเกษตร

อบรมเกษตรกร “การผลิตอาหารไก่พื้นเมืองโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น”

ปศุสัตว์จังหวัดแพร่ จัดฝึกอบรมเกษตรกร หลักสูตร “การผลิตอาหารไก่พื้นเมืองโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น” ตามโครงการพัฒนาเครือข่ายการผลิตและการตลาดไก่พื้นเมือง เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 นางสาวอาทิยา แปลงใจ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแพร่ ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์อำเภอสูงเม่น ดำเนินการจัดฝึกอบรมเกษตรกร หลักสูตร “การผลิตอาหารไก่พื้นเมืองโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น” ตามโครงการพัฒนาเครือข่ายการผลิตและการตลาดไก่พื้นเมือง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีเป้าหมายเกษตรกรจำนวน 5 ราย ณ ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงไก่พื้นเมืองและสวยงามตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรที่เลี้ยงไก่พื้นเมือง พัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง และเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้กับเกษตรกร

โครงการอบรมอาชีพ แม่บ้านเกษตรกร จ.เชียงใหม่ 1 วันทำได้จริง

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00น. นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เปิดโครงการอบรมอาชีพแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ และประชุมสัญจรคณะกรรมการแม่บ้านเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ณ เทศบาลตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นางเทวิกา ชัยชนะ ประธานคณะกรรมการแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดฯ และนางจันทร์หอม วงค์ไชย ประธานแม่บ้านระดับอำเภอ กล่าวรายงาน โครงการอบรมดังกล่าว ประกอบด้วยเป้าหมายเป็นแม่บ้านเกษตรจาก 25 อำเภอ จำนวน 100 ราย กำหนดจัดจำนวน 3 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 งบประมาณทั้งสิ้น 450,000 บาท โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมการเกษตร และกองทุนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพ และเป็นการเพิ่มรายได้แก่กลุ่มแม่บ้านเกษตร ประกอบด้วยหลักสูตรสร้างอาชีพได้แก่ การทำข้าวหมูแดง ,ข้าวหมูกรอบ, ขนมถั่วแปบ อีกทั้งการศึกษาดูงานในพื้นที่ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว เกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน ซึ่งการจัดกิจกรรมดังกล่าว แสดงถึงความเข้มแข็งของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ที่พร้อมที่จะพัฒนาตนเอง พัฒนากลุ่มองค์การเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาภาคการเกษตร จนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

โออาร์ ตอกย้ำวิสัยทัศน์ “เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโตร่วมกัน”

โออาร์ ตอกย้ำวิสัยทัศน์ “เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโตร่วมกัน” มุ่งมั่นเดินหน้าธุรกิจด้วยแนวคิด Inclusive Growth ร่วมเติบโตกับธุรกิจทุกรูปแบบ นายสุชาติ ระมาศ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) พร้อมด้วยนายสมยศ คงประเวช รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านธุรกิจไลฟ์สไตล์ และน.ส.ราชสุดา รังสิยากูล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการโครงการ ORion นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมศึกษาดูงานแปลงสาธิตการปลูกกาแฟ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ และการกระบวนการรับซื้อ คัดแยกเมล็ดกาแฟและการบำบัดน้ำเสีย ซึ่ง OR ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง ดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาการปลูก และการผลิตกาแฟระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ พื้นที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ โดยมี นายจตุพร ปารมี หัวหน้าสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ให้การต้อนรับ พื้นที่ดำเนินงานโครงการดังกล่าว เป็นพื้นที่ต้นแบบองค์ความรู้ในการส่งเสริมการปลูกกาแฟ ภายใต้ระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ควบคู่กับการพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังมีจุดเรียนรู้ชุมชนในด้านการปลูกกาแฟร่วมกับไม้ร่มเงา การแปรรูปกาแฟ ตลอดจนการบำบัดน้ำเสียจากการแปรรูปกาแฟอีกด้วย ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวเป็นการส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ให้มีช่องทางในการจำหน่ายเมล็ดกาแฟที่แน่นอน […]

องคมนตรี ติดตามงานสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

องคมนตรี ติดตามงานสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ องคมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามงานพื้นที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เตรียมนำพืชและผลไม้เมืองหนาว มาจำหน่ายในงานโครงการหลวง 3-7 ธันวาคม นี้ ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์เชียงใหม่ วันนี้ (11 พ.ย. 65) พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานพื้นที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของมูลนิธิโครงการหลวง  เริ่มดำเนินงานเมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้วยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชประสงค์ให้ชาวเขาในพื้นที่เลิกปลูกฝิ่น สถานีฯ อ่างขาง จึงเป็นแห่งแรกที่ดำเนินการวิจัยทดสอบพันธุ์พืชเขตหนาว เพื่อส่งเสริมแก่เกษตรกร สร้างรายได้ทดแทน รวมทั้งยังนำพันธุ์ไม้โตเร็วต่างถิ่นมาปลูกเพื่อฟื้นฟูพื้นที่โดยรอบ จนทำให้สภาพดอยหัวโล้นกลายเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันมีเกษตรกร 4 ชนเผ่า ได้แก่ ชาวลาหู่ […]

พช.อ.สูงเม่น ลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมชม โคก หนอง นา พื้นที่สูงเม่น

พช.อ.สูงเม่น ลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมชม โคก หนอง นา พื้นที่อำเภอสูงเม่น เมื่อวันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.30 น. นางผุสดี ดวงเนตร พัฒนาการอำเภอสูงเม่น จ.แพร่ มอบหมายให้ นางอดิศร พรหมอยู่ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ พร้อมด้วยทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสูงเม่น ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าและเยี่ยมชมการดำเนินงาน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” จำนวน 2 แปลง ดังนี้ แปลงนายสุรินทร์ ดอกบัว หมู่ที่ 5 ตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ แปลงนางดรุณี เวียงนาค หมู่ที่ 4 ตำบลสบสาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ จากการติดตามและเยี่ยมชมการดำเนินการของแปลงดังกล่าว พบว่า แปลงครัวเรือนต้นแบบมีการเลี้ยงปลา และปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และมีการนำไปจำหน่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน […]

(มีคลิป) ตลาดนัดยามเช้าหน้าค่าย ช่วยเหลือเกษตรกรน่าน

เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 65 วลา 07.30 น. ณ บริเวณหน้าค่ายสุริยพงษ์ ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน โดย พล.ต.คณิศร อาสมะ ผบ.มทบ.38 ผอ.ศอ.จอส.พระราชทาน มทบ.38 มณฑลทหารบกที่ 38 ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดน่าน และสำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน เปิดตลาดจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรจากเกษตรกรรายย่อย รวมทั้งผลผลิตของโครงการทหารพันธุ์ดีน่าน เช่น ผักปลอดภัย ผักพื้นบ้าน พริก เห็ด มะนาว กล้วย ลองกอง ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาในด้านผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาดและมีราคาตกต่ำ และเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน โดยบริการพื้นที่ฟรีเพื่อจำหน่ายสินค้าทุกวันอังคาร และวันพุธ ณ บริเวณหน้าค่ายสุริยพงษ์ ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน เป็นบรรยากาศสบายสร้างความสุขให้ประชาชนกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมให้มีรอยยิ้มเกิดความซาบซึ้งใจที่ทหารเป็นที่พึ่งของประชาชนในทุกโอกาส

เกษตรเชียงใหม่ ชวนอุดหนุนผลิตภัณฑ์จากโครงการพระราชดำริ

“เกษตรเชียงใหม่ชวนอุดหนุนผลิตภัณฑ์จากโครงการพระราชดำริ ณ ตลาดเกษตรกร” วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 น. นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่พร้อมนางกนกวรรณ พรหมตัน หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต นายฐานพัชร์ เลิศจารุอนันต์ รักษาราชการแทนเกษตรอำเภอเมือง ติดตามให้กำลังใจการดำเนินงานโครงการพระราชดำริ มูลนิธิสิริวัฒนา เชสเชียร์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ส่งเสริมการเรียนรู้ฝึกอาชีพ พัฒนาทักษะการประกอบการเกษตรแก่ผู้พิการ ได้แก่การผลิตพืชผักในระบบปลอดภัยปลอดภัย การขยายพันธุ์แคคตัส การเลี้ยงสัตว์ งานหัถกรรม ต่างๆ และนำผลผลิตจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้แก่มูลนิธิโดยมีการบริหารจัดการที่เหมาะสม โดยที่ผ่านมานั้นนำไปจำหน่ายที่อำเภอแม่ริม ปัจจุบันทางสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เพิ่มช่องทางการจำหน่ายโดยให้ออกร้านจำหน่ายที่บริเวณตลาดเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประจำทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ นอกจากนี้จะมีผลิตภัณฑ์จากโครงการพระราชดำริ ของจังหวัดเชียงใหม่มาจำหน่ายเช่น โครงการเกษตรวิชญา, โครงการพัฒนาตามพระราชดำริ อำเภอสันป่าตอง ,โครงการพระราชดำริแปลง 9 ไร่ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถอุดหนุนสินค้าดังกล่าวได้ ณ ตลาดเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ เริ่มในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 นี้เป็นต้นไปหากสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ หมายเลขโทรศัพท์ […]

ชาวนาเฮ!! ราคาข้าวเปลือก ปีนี้ขยับขึ้น 2 บาท

เกษตรอำเภออำเภอและเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบราคาข้าวที่ท่ารับชื้อข้าว วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.00 น. นายอภิชาต ฟองสินธุ์ เกษตรอำเภอสันกำแพง จ.เชียงใหม่ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสันกำแพง ร่วมติดตามสถานการณ์เก็บเกี่ยวข้าว และราคาข้าวเปลือกเหนียวทุกพันธุ์ ราคารับซื้อ 8.90 บาทต่อกิโลกรัม และสุ่มตรวจสอบวัดความชื้นของเกษตรกรที่นำมาผลผลิตมาจำหน่าย โดยมีเจ้าหน้าที่ของท่าข้าวฯ ร่วมต้อนรับและให้ข้อมูล ณ ท่าข้าวพรพาณิชย์ หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ทางด้านนายอภิชาต ฟองสินธุ์ เกษตรอำเภอสันกำแพง ได้กล่าวว่า ส่วนราคาข้าวเหนี่ยวดังกล่าว ในปีนี้ราคาดีกว่าปีที่แล้ว 8 บาทกว่าถึง 9 บาท ส่วนปีที่ผ่านมาราคาข้าวเหนี่ยวไม่เกิน 7 บาท เจ้าหน้าที่จะตรวจราคาตลอดในฤดูเก็บเกี่ยวปีนี้ต่อไป

ลำปาง สร้างอาชีพเสริม ลดรายจ่ายครัวเรือน ด้วยการจัดการขยะอินทรีย์ฯ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มร.ลป. ร่วมกับบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด (SCG) สร้างอาชีพเสริม ลดรายจ่ายครัวเรือน ด้วยวิธีการจัดการขยะอินทรีย์และการเลี้ยงไส้เดือนดินระดับครัวเรือน รศ.วิไลลักษณ์ พรมเสน คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พร้อมด้วยนายบุญเชิด กลิ่นโกสุม ตัวแทนบริษัทปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด และคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ในสังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร่วมจัดโครงการฝึกอบรมอาชีพเสริม ลดรายจ่ายครัวเรือน ด้วยวิธีการจัดการขยะอินทรีย์และการเลี้ยงไส้เดือนดินระดับครัวเรือน ณ ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนบ้านแม่ทาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ฝึกอบรมอาชีพเสริม ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กลุ่มเกษตรกรต้นแบบและเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การเลี้ยงไส้เดือนดิน ให้แก่ครัวเรือนต้นแบบบ้านแม่ทานหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 ตำบลสันดอนแก้ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ซึ่งในการจัดกิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้นำชุมชน กลุ่มเกษตรกร บุคลากรทางการศึกษา เด็กและเยาวชนในพื้นที่เข้าร่วมอบรมเป็นจำนวนมาก สืบเนื่องจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เข้าไปดำเนินการสำรวจทัศนคติของชุมชนรอบบ่อเหมืองฯ โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก และเป็นการผลิตเพื่อการบริโภคในระดับครัวเรือนซึ่งมีค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตสูง เนื่องจากนิยมใช้สารเคมี เช่น ซื้อปุ๋ย ยา สารเคมีต่างๆ ทำให้ต้องสูญเสียรายจ่ายในแต่ละปีจำนวนมาก และก่อให้เกิดภาวะหนี้สินตามมา ในขณะเดียวกันกลุ่มเกษตรกรรมยังมีการเลี้ยง วัว ควาย ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนที่สามารถนำมาผลิตเป็นปุ๋ยจากมูลสัตว์ได้ ประกอบกับความคิดเห็นและความต้องการส่วนใหญ่ของประชาชนอยากให้มีหน่วยงานต่างๆ […]

1 2 3 4 5 9