ปภ.เรียนรู้ป้องกัน – เตรียมพร้อมรับมือ ‘พายุหมุนเขตร้อน’…ดำเนินชีวิตปลอดภัย

พายุหมุนเขตร้อนเป็นพายุที่มีความรุนแรงและสร้างความเสียหายอย่างมหาศาล โดยบริเวณที่อยู่ใกล้หรือพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวผ่าน จะมีพายุลมแรงฝนตกหนักและคลื่นสูง เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย
โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะวิธีการเตรียมความพร้อมรับมือและปฏิบัติตนอย่างปลอดภัย เมื่อเกิดพายุหมุนเขตร้อน ดังนี้

ฤดูกาลและพื้นที่เสี่ยงเกิดพายุหมุนเขตร้อนของประเทศไทย ได้แก่
ช่วงเดือนสิงหาคม เคลื่อนตัวผ่านตอนบนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม มีโอกาสเกิดพายุมากและเคลื่อนตัวทุกภาคของประเทศ
ช่วงพฤศจิกายน – ธันวาคม มีแนวโน้มเคลื่อนตัวผ่านทางภาคใต้

การเตรียมพร้อมรับมือพายุหมุนเขตร้อน ให้ปฏิบัติ ดังนี้
ติดตามพยากรณ์อากาศ หากมีประกาศแจ้งเตือน ให้เตรียมรับมือและปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด
ตรวจสอบบ้านเรือนให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันลมแรงพัดบ้านเรือนเสียหายจัดเก็บสิ่งของที่ปลิวลมได้ในที่มิดชิด เพื่อป้องกันสิ่งของถูกพายุพัดเสียหายและได้รับอันตรายจากการพัดกระแทกสำรวจสิ่งปลูกสร้างบริเวณรอบบ้านให้อยู่ในสภาพปลอดภัย โดยตัดแต่งกิ่งต้นไม้และโค่นต้นไม้ในพื้นที่เสี่ยงต่อการล้มทับ


หากพบเสาไฟฟ้าหรือป้ายโฆษณาที่ไม่มั่นคงแข็งแรง ให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการแก้ไขจัดทำที่ค้ำยันต้นไม้ หรือที่กำบังปกคลุมผลผลิตทางการเกษตร เพื่อป้องกันความเสียหายจากพายุลมแรงจัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็นไว้ใช้งานในยามฉุกเฉิน อาทิ เครื่องอุปโภค-บริโภค อาหารแห้ง น้ำดื่มสะอาด ยารักษาโรค

ปฏิบัติตนเมื่อเกิดพายุหมุนเขตร้อน ให้ปฏิบัติ ดังนี้
หลบในอาคารที่มั่นคงแข็งแรง ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด เพื่อป้องกันสิ่งปลูกสร้างล้มทับ และอันตรายจากสิ่งของพัดกระแทกไม่อยู่ใกล้ต้นไม่ใหญ่ หรือสิ่งปลูกสร้าง ที่ไม่มั่นคงแข็งแรง อาทิ ป้ายโฆษณา เสาวิทยุสื่อสาร เพราะเสี่ยงต่อการถูกล้มทับไม่นำเรือออกนอกจากฝั่ง โดยเฉพาะเรือขนาดเล็ก เพราะคลื่นลมในทะเลมีกำลังแรง ทำให้เรือล้มได้
งดเว้นการประกอบกิจกรรมทางทะเลทุกประเภท อาทิ เล่นน้ำ ดำน้ำ ทำประมง เพราะอาจถูกคลื่นซัด ทำให้เสียชีวิดได้
ดำเนินชีวิตปลอดภัยหลังเกิดพายุหมุนเขตร้อน ให้ปฏิบัติ ดังนี้
ไม่ออกไปอยู่ในที่โล่งแจ้งภายหลังพายุภายหลังพายุสงบ ควรอยู่ในบ้าน หรือบริเวณที่ปลอดภัยอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง
ไม่เข้าใกล้บริเวณที่มีต้นไม้ล้ม สายไฟขาด หรือเสาไฟฟ้าล้ม เพราะอาจจะได้รับอันตราย ให้แจ้งเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการแก้ไข

ทั้งนี้ การเตรียมความพร้อมรับมือ โดยติดตามการพยากรณ์อากาศ ประกาศแจ้งเตือน ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขบ้านเรือน สภาพแวดล้อมรอบบ้าน และพื้นที่สาธารณะ ให้อยู่ในสภาพปลอดภัยอยู่เสมอจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น