67437

MED CMU ฟัง for health EP. 130 ทำความรู้จัก “วันผู้พิการสากล”

โดย รศ.นพ.จักรกริช กล้าผจญ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับฟังผ่านช่องทางYoutube : https://cmu.to/IqdkQSpotify : https://cmu.to/tWr0UApple Podcasts : https://cmu.to/XpQciFacebook : https://cmu.to/vNSJi #วันผู้พิการสากล #medcmu #MedCMUในมือคุณ #คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #สื่อสารองค์กรMedCMU

กรมอนามัย ย้ำ กินหมูดิบ เสี่ยงโรคไข้หูดับ แนะ ปรุงสุก สะอาดปลอดภัย

กรมอนามัย ย้ำ กินหมูดิบ เสี่ยงโรคไข้หูดับ แนะ ปรุงสุก สะอาดปลอดภัย จากกรณี ผู้ใช้ X (ทวิตเตอร์) รายหนึ่งได้เผยแพร่ภาพเมนูซูชิหมูดิบของร้านอาหารแห่งหนึ่ง นั้น กรมอนามัยย้ำผู้บริโภคควรเลือกกินเมนูแบบปรุงสุกปลอดภัยกว่า เพราะการบริโภคเนื้อหมู เครื่องในหมู หรือเลือดหมู รวมไปถึงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ทุกชนิดที่ไม่ได้ผ่านการปรุงสุกมาก่อน อาจเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) หรือโรคไข้หูดับได้ ซึ่งหากได้รับเชื้อชนิดนี้จะทำให้มีอาการมีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน บางรายแสดงอาการไข้ร่วมกับมีผื่น อุจจาระร่วง บางรายติดเชื้อที่เยื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้มสมอง รวมถึงอาจทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ การปรุงอาหารด้วยเนื้อหมู ก่อนนำวัตถุดิบมาปรุง ต้องล้างน้ำให้สะอาดเพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อโรค พยาธิ สารเคมีตกค้าง และต้องปรุงให้สุกโดยใช้ความร้อนให้อาหารสุกอย่างทั่วถึงด้วยอุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 นาที ที่สำคัญคือให้เลือกร้านที่ได้รับป้ายสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ผู้จำหน่าย […]

อันตรายจาก “โรคฉี่หนู”

🐁 เล็กแต่ร้าย อันตรายจาก “โรคฉี่หนู” | Suandok Channel วิทยากรโดยอ.พญ.กวิสรา กระแสเวสอาจารย์ประจำหน่วยโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อนภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. 📍ติดตามผ่านFacebook: https://cmu.to/l5MAMYoutube: https://cmu.to/0aeZh #อันตรายจาก “โรคฉี่หนู” #ฉี่หนู#MedCMU #MedCMUในมือคุณ#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่#สื่อสารองค์กรMedCMU

วันเอดส์โลก (World AIDS Day) วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันเอดส์โลก

Theme of World AIDS day 2023องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันเอดส์โลก (World AIDS Day) เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันการติดเชื้อHIV และโรคเอดส์ ยอมรับและเข้าใจผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลก และในปีนี้ได้กำหนดแนวคิดการรณรงค์ คือ “Let Communities Lead” เป็นการมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ในการสนับสนุนให้ชุมชน องค์กร และกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะเยาวชน โดยมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างความตระหนักในการป้องกัน และเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน ซึ่งจะนำไปสู่การยุติปัญหาเอดส์ได้ภายในปี 2573 เชื้อ HIV และโรค AIDS แตกต่างกันอย่างไร ?HIV ย่อมาจาก human immunodeficiency virus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยเชื้อ HIV จะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า CD4 (ซีดีโฟร์) ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายลดต่ำลง จนทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่างๆ เช่น วัณโรค เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา ปอดอักเสบจากเชื้อรา รวมทั้งเกิดมะเร็งบางชนิดได้มากกว่าคนปกติ ซึ่งอาการอาจจะรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป และอาจเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต อย่างไรก็ตามผู้ที่ติดเชื้อ […]

ปภ. แนะผู้ขับขี่เตรียมรถให้พร้อมก่อนขับ ลดเสี่ยงอุบัติเหตุในช่วงฤดูหนาว

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะประชาชนก่อนออกเดินทางท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาว ควรเตรียมรถให้พร้อมขับอย่างปลอดภัย โดยตรวจเช็คระบบไล่ฝ้าที่ปัดน้ำฝน ยางรถยนต์ สัญญาณไฟ ระบบเบรก ให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งเครื่องยนต์ต้องไม่มีอาการผิดปกติ ระบบแบตเตอรี่มีไฟเพียงพอ ผู้ใช้รถไฟฟ้าขอให้วางแผนตรวจสอบจุดให้บริการชาร์จไฟระหว่างทาง เพื่อให้การเดินทางเป็นไปด้วยความปลอดภัย นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า เข้าสู่ช่วงฤดูหนาวแล้วและในช่วงนี้มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ประชาชนจึงนิยมเดินทางวางแผนเดินทางท่องเที่ยวสัมผัสอากาศหนาวตามยอดเขาหรือเชิงดอย ซึ่งอาจเจอสภาพอากาศที่แปรปรวนได้ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะการเตรียมสภาพรถให้พร้อมขับรถในช่วงฤดูหนาว โดยผู้ขับขี่ควรตรวจเช็คระบบปัดน้ำฝนและระบบไล่ฝ้าของรถยนต์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ยางรถยนต์ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่มีรอยปริ รั่วซึม พร้อมเติมลมยางให้ได้มาตรฐานที่กำหนด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนนและลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากยางระเบิด รวมถึงตรวจสอบระบบเบรกให้สามารถหยุดรถได้ในระยะที่ปลอดภัย ผ้าเบรกมีควรความหนาไม่ต่ำกว่า 4 มิลลิเมตร เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ควรตรวจสอบเครื่องยนต์ไม่มีอาการผิดปกติและไม่มีสัญลักษณ์เตือนบนหน้าปัดรถ เช่น สัญญาณของน้ำมันคลัตช์ น้ำมันเบรก น้ำในหม้อน้ำแบตเตอรี่ น้ำมันเกียร์ น้ำมันหล่อลื่นให้อยู่ในระดับที่กำหนด หากมีสัญลักษณ์เตือนบนหน้าปัดรถให้รีบนำรถเข้าศูนย์บริการ ที่สำคัญ สัญญาณไฟต้องมีแสงไฟส่องสว่างทุกดวง หากชำรุดควรเปลี่ยนหลอดไฟใหม่ หมั่นทำความสะอาดโคมแก้วครอบสัญญาณไฟ จะช่วยให้แสงไฟส่องสว่างมากขึ้น เพื่อเพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็นในการขับรถ รวมถึงตรวจดูระดับแบตเตอร์รี่ให้อยู่สภาพที่สมบูรณ์ไม่เสื่อมสภาพ เพราะทำให้เกิดอันตรายในระหว่างขับขี่ได้ สำหรับผู้ใช้รถไฟฟ้าควรเช็คสถานีชาร์จโดยสามารถใช้แอปพลิเคชันเพื่อค้นหาข้อมูลและสถานีชาร์จตามเส้นทางได้ […]

ปภ.แนะรู้หลักป้องกัน – เสี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาวปลอดภัย

ฤดูหนาวเป็นช่วงที่ประชาชนนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวตามยอดเขาหรือเชิงดอย เพื่อสัมผัสความงดงาม ของทัศนียภาพ ซึ่งความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และการขาดความระมัดระวัง อาจส่งผลให้ได้รับอันตราย เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติในการท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาว ดังนี้การกางเต็นท์พักแรม การใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส

รวมยี่ห้อนมผง ลักลอบนำเข้าจากเวียดนาม ไม่มี อย. อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง

ซึ่งยี่ห้อนมผงดังกล่าว ได้ลักลอบนำเข้ามาจากประเทศเวียดนาม มีการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ไม่มีหลักฐานผลการทดสอบประสิทธิภาพทางวิทยาศาสตร์ ไม่มี อย.รับรองแต่อย่างใด หากรับประทานเข้าไปอาจมีผลเสียต่อสุขร่างกายได้

ปภ. เตือนระวังเพลิงไหม้จากพลุดอกไม้ไฟ – โคมลอย

ปภ. เตือนระวังเพลิงไหม้จากพลุดอกไม้ไฟ – โคมลอยในช่วงเทศกาลวันลอยกระทง ( 23 พ.ย. 66) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เตือนประชาชนระวังอันตรายจากพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟและอัคคีภัย ในช่วงเทศกาลลอยกระทง ควรเล่นพลุดอกไม้เพลิงอย่างถูกวิธีและคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก หลีกเลี่ยงการเล่นพลุดอกไม้ไฟในลักษณะเสี่ยงอันตรายและเล่นให้ห่างจากวัตถุไวไฟหรือวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง รวมถึงเลี่ยงการปล่อยโคมลอยใกล้ชุมชนและสนามบิน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ 🔶 นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ช่วงเทศกาลลอยกระทง มักเกิดอุบัติเหตุจากการจุดพลุดอกไม้ไฟและการปล่อยโคมลอย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ได้รับอันตราย เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะวิธีป้องกันอุบัติภัยจากพลุดอกไม้ไฟ-โคมลอยในช่วงเทศกาลลอยกระทง ดังนี้ การเล่นพลุดอกไม้ไฟ ควรเล่นอย่างถูกวิธี ห้ามจุดพลุดอกไม้ไฟบริเวณใกล้แนวสายไฟ แหล่งชุมชน สถานีบริการน้ำมันและวัตถุไวไฟ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดระเบิดและเพลิงไหม้ รวมถึงไม่โยนพลุดอกไม้ไฟใส่กลุ่มคน และควรอยู่ให้ห่างจากบริเวณจุดพลุดอกไม้ไฟในระยะไม่ต่ำกว่า 10 เมตร ไม่ดัดแปลงพลุหรือดอกไม้ไฟให้มีเสียงดังหรือแรงอัดสูง อีกทั้งหลีกเลี่ยงการนำพลุดอกไม้ไฟที่จุดไฟไม่ติดมาจุดไฟซ้ำ เพราะก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงได้ หลังจากเล่นพลุดอกไม้ไฟ ควรตรวจสอบสถานที่เล่นให้เรียบร้อย เก็บเศษพลุดอกไม้ไฟและดับประกายไฟให้หมด เพื่อป้องกันเพลิงไหม้ ส่วนผู้ที่ปล่อยโคมลอยในช่วงเทศกาลลอยกระทง เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ ควรปล่อยโคมลอยบริเวณที่โล่งแจ้ง ห่างจากแหล่งชุมชนและแนวสายไฟ เลือกใช้โคมลอยที่ได้มาตรฐาน โดยโครงทำจากวัสดุธรรมชาติ […]

สรุป 9 เทรนด์การตลาด ที่ Philip Kotler พูดในงาน World Marketing Forum | BrandCase

สรุป 9 เทรนด์การตลาด ที่ Philip Kotler พูดในงาน World Marketing Forum | BrandCase วันนี้มีงาน World Marketing Forum ครั้งที่ 3 จัดขึ้นโดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย โดยจัดขึ้นที่อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก ในวันที่ 16-17 พ.ย. 2566พาร์ตหนึ่งที่น่าสนใจคือ “คุณฟีลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler)” บิดาการตลาดสมัยใหม่ ผู้เขียนหนังสือเล่มดังอย่าง Marketing 5.0ได้ Video-in เข้ามาในช่วงหนึ่งของงานด้วยคุณฟีลิป คอตเลอร์ พูดเรื่องอะไรบ้าง ?BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ ใน 9 ข้อ ที่มา: Facebook BrandCase

วิธีรับมือแผ่นดินไหว และปฏิบัติหลังเกิดแผ่นดินไหว

วิธีรับมือแผ่นดินไหว วิธีปฏิบัติหลังเกิดแผ่นดินไหว ข้อมูล : กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว

ข่าวปลอม! สาสุขชัวร์ห้ามกินลูกพลับกับนมเปรี้ยว และกล้วยหอม

ข่าวปลอม! สาสุขชัวร์ ห้ามกินลูกพลับกับนมเปรี้ยว และกล้วยหอม เพราะจะทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย สาสุข ชัวร์ ยังไม่มีงานวิจัยระบุว่าการกินลูกพลับ ตามด้วยนมเปรี้ยวและกล้วยหอม จะมีสารอาหารที่ออกฤทธิ์เสริมกันแล้ว ก่อให้เกิดพิษต่อร่างกาย หรือทำให้เสียชีวิตได้ ข้อเท็จจริง : ลูกพลับและกล้วยหอมเป็นผลไม้ที่เป็นแหล่งของใยอาหาร ซึ่งทำหน้าที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์ (prebiotic) หากกินร่วมกับนมเปรี้ยวซึ่งเป็นแหล่งของจุลินทรีย์ มีประโยชน์ (probiotic) จะเกิดประโยชน์ต่อร่างกาย แต่สิ่งที่ควรระวังคือพลับและกล้วยหอม เป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง รวมถึงนมเปรี้ยวส่วนใหญ่มักเติมน้ำตาล การกินพลับกับนมเปรี้ยว และกล้วยหอมพร้อมกัน จะได้รับพลังงานหรือปริมาณน้ำตาลเกินจำเป็น ซึ่งหากร่างกายไม่สามารถเผาผลาญได้หมด ก็จะกลายเป็นไขมันสะสม ก่อให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนได้

ปภ.แนะใช้ความเร็วเหมาะสม – ขับรถปลอดภัยไร้อุบัติเหตุทางถนน

การขับรถเร็วเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในลำดับต้น ๆ ทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิต กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงขอแนะสาระน่ารู้เกี่ยวกับการใช้ความเร็วในการขับรถอย่างปลอดภัย ดังนี้ขับรถเร็วเสี่ยงอุบัติเหตุอย่างไร– มองเห็นเส้นทางและสภาพแวดล้อมไม่ชัด เนื่องจากขอบเขตการมองเห็นเส้นทางจะเคลื่อนตัวไปข้างหลังอย่างรวดเร็ว – ระยะทางในการหยุดรถลดลง เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะไม่สามารถหยุดรถได้อย่างปลอดภัย – ระยะเวลาในการแก้ไขเหตุฉุกเฉินลดลง จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรุนแรง – แรงปะทะเพิ่มขึ้น แรงปะทะจะเพิ่มขึ้นตามอัตราความเร็ว ยิ่งขับรถเร็วจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิตขับรถปลอดภัยใช้ความเร็วให้เหมาะสม

กล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ ร่วมค้นพบการปะทุของซากดาวฤกษ์

กล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ ร่วมค้นพบการปะทุของซากดาวฤกษ์ ในรูปแบบที่ไม่เคยพบมาก่อน สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผยกล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ ขนาด 2.4 เมตร ณ หอดูดาวแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ จ. เชียงใหม่ ร่วมทีมวิจัยนานาชาติ สังเกตการณ์ซากดาวฤกษ์ AT2022tsd พบการปะทุหลังเกิดซูเปอร์โนวา ทิ้งห่างมากกว่า 100 วัน ซึ่งไม่เคยสังเกตการณ์ได้มาก่อน และยังพบการปะทุระยะสั้น เพียง 30 วินาที นับว่าสั้นที่สุดที่เคยสังเกตการณ์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ในช่วงความยาวคลื่นแสง งานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature สดร. ร่วมทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติ นำโดย Dr. Anna Y. Q. Ho จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา ค้นพบการปะทุของซากดาวฤกษ์ AT2022tsd อีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่สามารถสังเกตการณ์การปะทุขึ้นหลังจากการระเบิดครั้งแรก (ซูเปอร์โนวา) มากกว่า 100 วัน จึงใช้กล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง […]

รวมเรื่องควรรู้กับ พ.ร.บ.รถยนต์ ไม่ทำไม่ได้ ผิดกฎหมาย โดนปรับ!

สำหรับผู้ที่ขับขี่รถยนต์มือใหม่ เพิ่งเริ่มเป็นเจ้าของรถยนต์ของตัวเองแล้ว นอกจากการทำบัตรใบขับขี่ที่ต้องสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อยืนยันว่าสามารถขับขี่โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่ภาครัฐบังคับให้เจ้าของรถยนต์ต้องดำเนินการทุกคัน นั่นคือการทำ พ.ร.บ.รถยนต์ แล้วสิ่งนี้คืออะไร หากไม่ทำจะผิดกฎหมายหรือไม่ เรารวมเรื่องควรรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถยนต์ มาบอกกันไว้ที่นี่แล้ว พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไรย่อมาจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เป็นประกันภาคบังคับที่กฎหมายระบุให้รถยนต์ทุกคันที่มีการจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องทำ เพื่อให้ความคุ้มครองผู้ขับขี่และผู้โดยสารในรถ รวมถึงบุคคลภายนอกที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ขับขี่จะเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ ทำให้ผู้ประสบภัยสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลและเงินค่าชดเชยได้อย่างทันท่วงทีตามที่กฎหมายกำหนด พ.ร.บ.รถยนต์ ครอบคลุมอะไรบ้างพ.ร.บ.รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนน “เบื้องต้นโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด” โดยบริษัทประกันจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยภายใน 7 วัน นับจากวันที่บริษัทได้รับคำร้องขอให้ชดเชยในความเสียหายจากผู้ประสบภัย ดังนี้• กรณีบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยจะได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินคนละ 30,000 บาท• กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวนคนละ 35,000 บาท• กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวนคนละ 35,000 บาท ในกรณีที่ผู้ประสบภัยพิสูจน์แล้วว่า “เป็นฝ่ายถูก” จะสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้ ดังต่อไปนี้• ค่ารักษาพยาบาล (ตามจริง) สูงสุดคนละ 80,000 บาท• […]

สธ. เผยคนไทยตายก่อนวัยอันควร จากการบาดเจ็บทางถนน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน

หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง เผยผลการศึกษาพบคนไทยสูญเสียปีสุขภาวะรวมกว่า 18.5 ล้านปี ส่วนใหญ่จากการตายก่อนวัยอันควรด้วยเหตุบาดเจ็บทางถนน โรคหลอดเลือดสมองและโรคเบาหวาน โดยเฉพาะวัยทำงานทั้งชายและหญิง เสนอให้เป็นวาระเร่งด่วนในการลดปัจจัยเสี่ยงอุบัติเหตุและโรคไม่ติดต่อ พร้อมคัดกรองผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นพ.ทรงคุณวุฒิ ระดับ 11) และประธานคณะกรรมการ MIU (MOPH Intelligence Unit) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า แผนงานพัฒนาดัชนีภาระโรคแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาประเมินภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย ในการศึกษาและสำรวจครั้งล่าสุด พบว่า คนไทยทั้งประเทศสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability-Adjusted Life Years) รวมกว่า 18.5 ล้านปี ซึ่งจำนวนปีที่สูญเสียไปอย่างน่าเสียดายนี้เพราะสุขภาพที่ไม่ดี พิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัย โดยกว่าร้อยละ 72 เป็นการสูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควรจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ การบาดเจ็บทางถนน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน พบสูงสุดในกลุ่มอายุ 45- 59 ปี ทั้งในเพศชายและหญิง ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงาน โดยในเพศชายสูญเสียจากการบาดเจ็บทางถนนสูงสุด รองลงมา คือ โรคหลอดเลือดสมอง […]

ปภ. แนะวิธีรับมือฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ควรเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน ลดการประกอบกิจกรรมที่เพิ่มปริมาณฝุ่นละออง พร้อมปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดหรือติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ เพื่อลดการสูดดมฝุ่นละอองเข้าร่างกายมากเกินไป นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ระยะนี้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เริ่มมีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยติดตามข่าวสารหรือใช้แอปพลิเคชันตรวจสอบคุณภาพอากาศอยู่เสมอ เพื่อช่วยในการวางแผนการทำกิจกรรมหรือแผนเดินทาง หากอยู๋ในบ้านควรปิดประตูและหน้าต่างให้มิดชิด เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองที่ลอยเข้ามาหรือติดตั้งระบบกรองอากาศ จะช่วยลดผลกระทบจากการสูดดมฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ฝุ่นละอองหนาแน่น หากจำเป็นควรสวมหน้ากากอนามัยและเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวันเพื่อซับกรองและป้องกันการสูดดมฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย และไม่ควรออกกำลังกายและทำงานหนักในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน เพราะร่างกายจะสูดดมฝุ่นละอองเข้าไปในปริมาณมาก นอกจากนี้ ขอให้สังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจและภูมิแพ้

พบสารเคมี PFAs ที่ก่อมะเร็ง ในเครื่องสำอางกันน้ำ

สื่อนอกอย่าง theguardian รายงานถึงการศึกษาสารเคมี PFAs ((Perfluoroalkyl and Polyfluoroalkyl Substances) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สารเคมีอมตะ” (forever chemicals) ซึ่งสารเคมีเหล่านี้เป็นสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเอง และไม่สามารถถูกทำลายได้ ไม่ว่าจะใช้แบคทีเรีย ไฟ หรือน้ำ ก็ตาม และล่าสุดพบว่าอาจมีการผสมในเครื่องสำอางค์หลายชนิด โดยเฉพาะเครื่องสำอางค์แบบกันน้ำ เครดิตภาพ:https://www.seegerweiss.com/product-liability/waterproof-makeup-pfas-lawsuit/ ขณะที่ seegerweiss รายงานผลการศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่ามาสคาร่า ลิปสติก อายไลเนอร์ และผลิตภัณฑ์แต่งหน้าอื่นๆ แบบกันน้ำและติดทนนานยอดนิยม อาจมีสารเคมี PFAs ที่ก่อมะเร็ง สารเคมีเหล่านี้อาจทำให้ผู้ใช้ได้รับผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สารเคมีอมตะ หรือสาร PFAs ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตเครื่องสำอางค์หลายยี่ห้อทั้งในอเมริกาและแคนาดา อีกทั้งรายงานล่าสุดที่ถูกตีพิมพ์ใน Environmental Science & Technology เผยว่า มีสารฟลูออรีนอยู่ในระดับสูง ซึ่งสารนี้เป็นตัวบ่งชี้ว่ามีสาร PFAs และ สารเคมีเหล่านี้ มีความเชื่อมโยงกับ โรคมะเร็ง ⁃โรคตับ ไทรอยด์ ภูมิคุ้มกันลดลง ฮอร์โมนแปรปรวน และอื่นๆ ดังนี้ University […]

แชร์ประสบการณ์ผ่อนบ้าน ที่จ่ายเท่าไหร่ เงินต้นก็ไม่หมดสักที

ช่วงนี้เห็นคนแชร์ประสบการณ์การผ่อนบ้าน ที่จ่ายเท่าไหร่เงินต้นก็ไม่หายสักที จึงขออนุญาตมาแชร์ทริกที่ตัวเองใช้นะคะ เผื่อเป็นประโยชน์กับผู้คน ซึ่งเงินงวดที่หญิงต้องจ่าย คือ งวดละ 7,700 แต่เรามักจะจ่ายเกินเสมอ จะจ่ายอยู่ที่ 11,000 บาท พอจ่ายแล้วรู้สึกว่าเอ๊ะ ทำไมตัดเงินต้นน้อยจังหญิงได้ทำการทดลอง 3 แบบดังนี้ ขอขอบคุณข้อมูลจาก Facebook คุณ Phetlorm Kleebkaraket

ปภ.แนะวิธีลากรถอย่างปลอดภัย ป้องกันอุบัติเหตุซ้ำซ้อน

หลายครั้งมักเกิดอุบัติเหตุกับการลากรถเสียหรือรถขัดข้อง การเรียนรู้ข้อควรปฏิบัติในการลากรถอย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนและช่วยไม่ให้รถได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้น เพื่อลดอันตรายจากการลากรถเสีย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะวิธีลากรถอย่างปลอดภัย ดังนี้ ประเภทของการลากรถ1.การลากรถโดยใช้สายพ่วง เหมาะสำหรับกรณีที่พวงมาลัยรถและเบรกสามารถใช้งานได้ โดยใช้เชือกหรือลวดสลิงที่มีความยาว 3 – 5 เมตร ผูกยึดกับจุดต่อพ่วงสำหรับลากรถหรือโครงสร้างรถที่มีความแข็งแรง2.การลากรถโดยไม่ใช้สายพ่วง– ลากรถแบบยกหน้ารถหรือท้ายรถ (Tow dolly) โดยมีอุปกรณ์สำหรับรองรับและยึดล้อคู่หน้าหรือคู่หลังให้แน่นหนา ก่อนยกให้ลอยเหนือระดับพื้น– ลากรถแบบสไลด์ออน (Slide on) โดยเคลื่อนย้ายรถขึ้นไปบรรทุกบนรถสไลด์หรือรถยกวิธีลากรถโดยใช้สายพ่วง3.ผู้ขับรถลาก– ขับรถด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยค่อย ๆ ออกรถ เพื่อป้องกันรถเสียหายจากการกระตุกหรือกระชากของสายพ่วง รวมถึงใช้ความเร็วคงที่ไม่เกิน 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เว้นระยะห่างระหว่างรถลากกับรถที่ถูกลากให้เหมาะสมกับความยาวของสายพ่วง และให้สัญญาณไฟล่วงหน้าก่อนเปลี่ยนช่องทางหรือเลี้ยวรถ4.ผู้ขับรถที่ถูกลาก– ตรวจสอบการควบคุมรถ โดยทดสอบเบรกและพวงมาลัยให้สามารถควบคุมได้ กรณีรถเกียร์ธรรมดา ให้ปลดเบรกมือและเข้าเกียร์ว่าง กรณีรถเกียร์อัตโนมัติ ให้เลื่อนเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง– ควบคุมรถอย่างระมัดระวัง โดยควบคุมความเร็วและเว้นระยะห่างให้สัมพันธ์กับรถลาก รวมถึงบังคับพวงมาลัยให้อยู่ในช่องทางเดียวกับรถลากกฎหมายเกี่ยวกับการลากรถรถเสีย กฎหมายกำหนดให้ผู้ขับขี่ต้องนำรถให้พ้นทางเดินรถโดยเร็ว หากจำเป็นต้องจอดอยู่ในทางเดินรถให้จอดในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจรและจัดให้มีเครื่องหมายหรือสัญญาณที่แสดงให้ผู้ใช้เส้นทางรายอื่นทราบว่ารถเสีย อาทิ ป้ายสามเหลี่ยมสะท้อนแสงลากรถ กฎหมายกำหนดให้รถทุกชนิดลากรถได้ 1 คัน และต้องจัดให้มีเครื่องหมายความปลอดภัยในการลากรถ– ลากรถโดยใช้สายพ่วง ให้ติดธงสีแดงบริเวณจุดกึ่งกลางของสายพ่วงรถในเวลากลางวันที่มีแสงสว่างเพียงพอ และติดตั้งโคมไฟหรือวัสดุเรืองแสงสีแดงบริเวณจุดกึ่งกลางของสายพ่วงรถในเวลากลางคืนหรือช่วงเวลาที่มีแสงสว่างน้อย

1 2 3 146