เมืองโบราณใต้พิภพ ปมเหตุ “เวียงกุมกาม” ล่มสลาย

รายงานสำนักโบราณคดีที่ 7 เชียงใหม่ อ้างอิงผลงานวิชาการ ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คณะสถาปัต
ยกรรมกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุข้อมูลเกี่ยวกับ เวียงกุมกาม อาณาจักรโบราณ สร้างโดยพญามังรายกษัตริย์ที่เสกสร้างเมืองหลายแห่งในบริเวณลุ่มน้ำกก ได้น่าสนใจ โดยสันนิษฐานว่าเป็นการสร้างโดยการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมชาวไท-ยวนที่มีความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษและอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับวัฒนธรรมหริภุญไชยที่นับถือพุทธศาสนา มีหลักฐานชัดเจนถึงแนวคิดดังกล่าว

ขณะพญามังราย ประทับในเวียงกุมกาม ได้ผสานความเชื่อผ่านเรื่องรุกขเทวดาศักดิ์สิทธิ์อยู่รักษาไม้เดื่อ เทวดานั้นมักให้คุณแก่คนทั้งหลาย ด้วยรูปแบบสร้างวัดและปลูกต้นศรีมหาโพธิ์จากลังกาที่บริเวณไม้เดื่อที่นับถือว่าเป็นไม้สรี (ศรี) ที่เป็นตัวแทนของพุทธศาสนา และถือว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ การสร้างเวียงกุมกามมีแนวคิดการวางผังเมืองอย่างเมืองหริภุญไชย มีศูนย์กลางเมืองที่วัดกุมกาม และวัดประจำทิศที่มุมทั้งสี่แห่งของเมือง ตามคติศูนย์กลางจักรวาลของพุทธศาสนา ประกอบด้วยวัดกุมกามทีปราม วัดกู่จ๊อกป็อก วัดกู่ป้าด้อม และวัดพระเจ้าองค์ดำ วัดเหล่านี้ไม่ได้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน และมีวัดกานโถมเป็นศูนย์กลางเมืองตามคตคิวามเชื่อเรื่องอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของผี ของกลุ่มชนชาวพื้นเมือง โดยเวียงกุมกามมีแนวแกนที่สำคัญ 2 แกน ได้แก่ แนวแกนตะวันตก – ตะวันออก ตั้งแต่กำแพงด้านตะวันออกทางด้านใต้ของวัดกู่มะเกลือวัดกู่อ้ายสีผ่านวัดกานโถมด้านเหนือ วัดธาตุน้อย วัดอีค่างไปจนสุดฝั่งเมืองด้านตะวันตก แนวแกนเหนือ – ใต้ มีแนวผ่านพื้นที่กลางเวียงวัดกุมกามและวัดกานโถมลงไปทางใต้จนสุดกำแพงเมืองด้านทิศใต้ แนวคิดการวางแกนสำคัญในเวียงเช่นนี้นอกจากเวียงกุมกามแล้วยังมีที่อื่นๆอาทิ หริภุญไชย (ลำพูน) เชียงใหม่ และเชียงแสน เป็นต้น

สำหรับปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เวียงกุมกามล่มสลาย เกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน ตามหลักฐานทางโบราณคดีภาวะน้ำท่วม เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งการล่มสลายของอาณาจักรโบราณแห่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ณ ช่วงเวลาหนึ่งหากแต่ใช้ระยะยาวนานก่อนที่เมืองจะถูกทิ้งร้างไป โดยมีหลายปัจจัยประกอบกัน

ประการแรก คือการเปลี่ยนแปลงอำนาจบทบาทและฐานะของเมืองเป็นเพียงเมืองหน้าด่านของเชียง
ใหม่ และในที่สุดเป็นเพียงชุมชนชานเมืองหลวงเพื่อกิจกรรมทางพุทธศาสนา

ประการต่อมา คือการเปลี่ยนแปลงเส้นทางของแม่น้ำปิง ทำให้เวียงกุมกามไม่มีศักยภาพทางการสัญ
จรและการค้าเพียงพอที่จะยังคงฐานะความสำคัญอีกต่อไป เนื่องด้วยแม่น้ำปิงไหลผ่านที่ราบโล่งซึ่งลาดต่ำ ส่งผลให้น้ำปิงมีโอกาสที่จะเปลี่ยนเส้นทางเดินได้ ซึ่งสนับสนุนข้อสันนิษฐานที่กล่าวว่าแม่น้ำปิงเคยเปลี่ยนทางเดินอย่างน้อย 3 ครั้งด้วยกัน

ประการสุดท้าย คือ ภัยจากสงคราม ที่เวียงกุมกามมักถูกโจมตีและมีการตั้งทัพของกลุ่มผู้รุกราน มี
การกวาดต้อนผู้คนในอาณาจักรโบราณแห่งนี้ไปเป็นเชลยศึกที่พม่า ตลอดจนการมีสงครามอย่างต่อเนื่องทำให้เวียงกุมกามไม่มีเวลาที่จะฟื้นฟูสภาพบ้านเมืองและถูกทิ้งร้าง ตามกาลเวลา เวียงกุมกามทั้งหมดถูกฝังอยู่ใต้พื้นดินราว 1-2 เมตรจนกระทั่งถูกคนพบในปีพ.ศ.2527และมีการขุดค้นทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นสถาน
ที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์สำคัญอีกแห่งในแผ่นดิน

ร่วมแสดงความคิดเห็น