เครือข่ายภาคประชาชนรวมตัว จี้รัฐทำความเข้าใจสถานการณ์ เร่งแก้ปัญหาสารพิษ-น้ำท่วม

เชียงราย เครือข่ายภาคประชาชนรวมตัว จี้รัฐทำความเข้าใจสถานการณ์ เร่งแก้ปัญหาสารพิษ-น้ำท่วม เตรียมยื่นข้อเรียกร้อง UN Women ตั้งกองทุนช่วยผู้ประสบภัย

วันที่ 13 ก.ค.68 ที่วัดพระธาตุสองพี่น้อง บ้านเชียงแสนน้อย ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เครือข่ายแม่น้ำลุ่มน้ำโขงและภาคีภาคประชาชนกว่า 145 คน จาก เครือข่ายแม่หญิงลุ่มน้ำโขง กลุ่มแม่หญิงชนเผ่า สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต Oxfam และ นักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัย ได้รวมตัวประชุมภายใต้หัวข้อ “แม่น้ำโขงรุกหนัก” เพื่อหารือและระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสารพิษและอุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตผู้คนในลุ่มน้ำโขง น้ำกก น้ำสาย น้ำรวก

โดยช่วงเช้า ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนบทเรียนเกี่ยวกับการจัดการปัญหาอุทกภัย และหารือแนวทางการทำงานร่วมกันของเครือข่ายแม่น้ำโขงลุ่มน้ำภาคเหนือ โดยมีแนวคิดที่จะ จัดตั้ง “กองทุนแม่น้ำโขงลุ่มน้ำภาคเหนือช่วยเหลือท่วม” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประสบภัย และเปิดรับสมัครสมาชิกเครือข่ายรักแม่น้ำโขง

ในช่วงบ่ายเป็นการพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะสารพิษในแม่น้ำ กก สาย รวก โขง ที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่งในพื้นที่รัฐฉานของเมียนมา โดยมี ดร.สืบสกุล กิจนุกร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ดร.นิอร สิริมงคลเลิศกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ผศ.ดร.มาลี สิทธิเกรีรยงไกร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.ดร.เสถียร ฉันทะ มหาวิทยาลัยบราชภัฏเชียงราย นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว กลุ่มรักษ์เชียงของ นายสายัณน์ ข้ามหนึ่ง ผู้อำนวยการสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต และUN Women เข้าร่วมเสวนา ซึ่งมีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญร่วมให้ข้อมูลและระดมความคิดเห็น ในหัวข้อ “สารพิษกับคนลุ่มน้ำโขงและน้ำสาขา”

โดยการพูดคุยได้กล่าวถึงปัญหาสารปนเปื้อนในแม่น้ำ กก สาย รวก และโขง ที่กำลังก่อให้เกิดปัญหาในหลากหลายด้าน ทั้งด้านการเกษตร การประมง และการใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งผู้เข้าร่วมกล่าวว่า ปัจจุบันชาวบ้านริมแม่น้ำไม่กล้าใช้น้ำในแม่น้ำในการอุปโภคบริโภคเพราะกลัวจะได้รับสารพิษ เพราะน้ำที่ใช้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในเขตเมือง ที่น้ำประปา ทำให้มีความกังวล ไม่กล้าใช้น้ำ

นายสายัณน์ ข้ามหนึ่ง ผู้อำนวยการสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต กล่าวว่า ในวันนี้เป็นการประชุมของเครือข่ายลุ่มน้ำเครือข่ายแม่ญิงลุ่มน้ำภาคเหนือ มาจากเครือข่ายที่อยู่ในลุ่มน้ำกก อิง โขง สาย รวก เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มผู้หญิงที่มีข้อกังวลต่อการปนเปื้อนต่อแม่น้ำกก สาย รวก ซึ่งในวันนี้เราจะยื่นข้อเสนอถึง Un Women ที่จะขับเคลื่อนผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาเรื่องการปนเปื้อนสารพิษในแม่น้ำ กก สาย รวก โขง รวมถึงในระยะยาวทางเครือข่ายก็มีแนวทางในการที่จะจัดรวมตัวกันเป็นเครือข่ายเฝ้าระวัง และก็ช่วยเหลือ พี่น้อผู้หญิงที่มาทั้งหมดนี้เป็นเครือข่ายที่ได้เคยเผชิญกับเหตุน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว และได้รับผลกระทบจากสารพิษ ซึ่งตอนนี้มีข้อเสนอกันว่าอยากจะมีการตั้งกองทุนของเครือข่ายแม่ญิงในการช่วยเหลือแบ่งปันกันเรื่องของในภาวะรับมือกับภัยพิบัติ น้ำท่วม น้ำแล้ง และเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
“ข้อเรียกร้องของภาคประชาสังคมหรือภาคผู้หญิง คือต้องการให้มีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง การแก้ไขปัญหายังเกิดความล่าช้า การตอบรับของฝ่ายเอ่อในฝั่งพม่าเองเนี่ยหรือว่าในพื้นที่การทำเหมือง ก็ยังไม่เป็นรูปธรรมมากนัก แต่ก็มีการเจรจาของฝ่ายความมั่นคง หรือการให้ข่าวของภาครัฐในการที่จะเร่งในการเจรจาแต่ว่าตอนนี้ขณะนี้ก็ยังไม่มีแผนการแก้ไขปัญหาในระยะยาว มีเพียงแต่การรายงานสถานการณ์ สำหรับเรื่องการตรวจเรื่องของคุณภาพน้ำอยากให้มีการตั้งศูนย์ที่เชียงราย ซึ่งเราก็ยังมีความคาดหวังว่าเรื่องการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อาจจะต้องรีบเร่งในการเจรจากับประเทศต้นทางที่ก่อมลพิษ” ผู้อำนวยการ สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต กล่าว

ดร.สืบสกุล กิจนุกร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า ตอนนี้ปัญหาใหญ่อยู่ตรงที่ท่าทีของรัฐบาลแล้วก็ความเข้าใจของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาแม่น้ำกกสายรวบโขงปนเปื้อนสารพิษจากเมืองในประเทศเมียนมา ท่าทีของรัฐบาลที่เป็นปัญหาก็คือว่าขาดความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ และความเข้าใจของคนในรัฐบาล มักจะพูดว่ามันไม่มีปัญหาอะไร อย่างเช่นล่าสุดของกรณีรัฐมนตรีช่วยมหาดไทยที่ออกมาบอกว่าตอนนี้สถานการณ์สารพิษในแม่น้ำมีความคงที่ ซึ่งเราดูจากข้อเท็จจริงแล้วมันคนละเรื่อง ความคงที่มันมี 2 ความหมายคงที่ ความหมายแรกก็หมายความว่ามันยังคงมีความเสี่ยงอยู่ยังมีสารพิษอยู่มันไม่ได้ลดลง ผลการ ตรวจของกรมควบคุมมลพิษครั้งที่ 6 ก็ชัดเจนว่า แม่น้ำกก แม่น้ำสาย เมีสารหนูสารตะกั่วและแมงกานีส เกินค่ามาตรฐาน แม่น้ำรวก แม่น้ำโขง มีสารหนูเกินค่ามาตรฐาน ความหมายอีกอันหนึ่งของการบอกว่าสารพิษมันคงที่ก็คือรัฐบาลยังไม่ได้แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุอย่างจริงจัง ซึ่งอันนี้เป็นหัวใจสำคัญมากเพราะว่าตั้งแต่เกิดเรื่องรัฐบาลมักจะบอกว่ามีการเจรจากับรัฐบาลเมียนมาโดยใช้กลไกล MRC ใช้กลไก LMC ทุกอย่าง แต่ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏก็คือว่ารัฐบาลเพียงแต่มีการส่งหนังสือไปขอเจรจากับทางเมียนมา แล้วทางเมียนมาร์เองก็ยังไม่ได้กำหนดวันเจรจา ซึ่งอันนี้มันก็แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยยังไม่ได้มีความมุ่งมั่นเพียงพอในการเปิดโต๊ะเจรจาหรือกดดันให้มีการเจรจา ซึ่งอันนี้มันถ้าเราดูแล้วคือมันต่างจากกรณีข้อคิดเห็นเรื่องดินแดนกับประเทศกัมพูชา ซึ่งรัฐบาลใช้หลายกลไกลในการเจรจา กับ รัฐบาลกัมพูชา ซึ่งผมคิดว่ามันสะท้อนให้เห็นว่าตอนนี้สถานการณ์ปัญหา แม่น้ำกก แม่น้ำสาย แม่น้ำรวก แม่น้ำโขง ที่ปนเปื้อนสารพิษมันยังไม่ได้รับการแก้ไข มันก็ยังต้องการให้รัฐบาลมีความมุ่งมั่นจริงจังมากกว่านี้
“ ตอนนี้ผลการตรวจสารโลหะหนัก แลตะกอนดินจากกรมควบคุมมลพิษ ครั้งล่าสุดเพิ่งเปิดเผยเมื่อต้นเดือน กรกฎาคม แสดงให้เห็นว่ายังมีสารโลหะหนัก เกินค่ามาตรฐาน แม่น้ำกก แม่น้ำสาย มีสารหนู สารตะกั่ว แมงกานีส มาตรฐาน แม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง มีสารหนูเกินค่ามาตราฐาน ซึ่งตรงนี้สิ่งที่รัฐบาลต้องทำก็คือการเร่งดำเนินการเจรจากับ ประเทศเมียนมา ประเทศจีน ใช้กลไก MRC กลไก LMC ทุกกลไก ที่รัฐบาลมี แล้วก็ที่ รัฐบาลเคยบอกว่าทำแล้วเนี่ยให้มันบรรลุผลมากที่สุดเท่าที่จะทำได้” ดร.สืบสกุลกล่าว

ร่วมแสดงความคิดเห็น