วิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชนคุณธรรม: เที่ยวชุมชน ยลวิถี”
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ดร.กรวรรณ สังขกร หัวหน้าศูนย์วิจัยฯ ดร.ศันสนีย์ กระจ่างโฉม ดร.รชพรรณ ฆารพันธ์ และอาจารย์ธิตินัดดา จินาจันทร์ เข้าร่วมเป็นวิทยากรกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชนคุณธรรม: เที่ยวชุมชน ยลวิถี เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการท่องเที่ยวอย่างมืออาชีพ” โดยได้รับเกียรติจาก นางกรวรรณ สุ่มมาตย์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วม เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 ณ สวนทวีชล อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ภายในกิจกรรม ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้หลากหลายด้าน ทั้งด้านการท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมชุมชน และการบริหารคน “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ความสำคัญของการท่องเที่ยวชุมชน โดยดร.กรวรรณ สังขกร หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การจัดการและแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่นโดย ดร.ศันสนีย์ กระจ่างโฉม ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การจัดการทรัพยากรบุคคลของชุมชน เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการท่องเที่ยวอย่างมืออาชีพโดย ดร.เผชิญวาส ศรีชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมยังได้ลงมือวางแผนเชิงปฏิบัติ ผ่านการแบ่งกลุ่มย่อยตามพื้นที่ชุมชน 5 แห่ง ซึ่งแต่ละกลุ่มได้สะท้อน ปัญหาและความต้องการของชุมชน ดังนี้:
กลุ่มที่ 1 ชุมชนวัดศรีนวรัฐ อำเภอสันป่าตอง (วิทยากร: ดร.กรวรรณ สังขกร สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ฯ)
กลุ่มที่ 2 ชุมชนวัดป่าตาล อำเภอสันกำแพง (วิทยากร: ดร.ศันสนีย์ กระจ่างโฉม สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ฯ)
กลุ่มที่ 3 ชุมชนไตลื้อลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด (วิทยากร: อาจารย์ธิตินัดดา จินาจันทร์ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ฯ)
กลุ่มที่ 4: ชุมชนวัดศรีสุพรรณ อำเภอเมืองเชียงใหม่ (วิทยากร: ดร.รชพรรณ ฆารพันธ์ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ฯ)
กลุ่มที่ 5: ชุมชนวัดพระธาตุดอยสะเก็ด อำเภอดอยสะเก็ด (วิทยากร: ดร.เผชิญวาส ศรีชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล)
บรรยากาศเต็มไปด้วยความกระตือรือร้นและความร่วมมือจากผู้เข้าร่วม ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างมืออาชีพและสอดคล้องกับอัตลักษณ์ท้องถิ่น










ร่วมแสดงความคิดเห็น