เสาสะดือเมือง (เสาหลักเมือง)

เชียงใหม่นิวส์ – ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ขอนำเสนอเรื่องราวของ เสาสะดือเมือง ที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิคู่บ้านคู่เมืองของเมือง ที่ชาวล้านนาเชื่อว่า การได้มาเที่ยวหรือพักอาศัย เมืองใดๆ แล้ว การได้มากราบไหว้สักการะ เสาสะดือเมือง หรือเสาหลักเมือง ช่วยเสริมสร้างสิริมงคล และทำให้การทำงาน ท่องเที่ยวมีความราบรื่น ประสบความสำเร็จ

เสาสะดือเมืองเชียงราย (เสาหลักเมือง) เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของการก่อตั้งชุมชนและเมือง สำหรับจังหวัดเชียงรายจะเรียกเสาหลักเมืองว่าเสาสะดือเมือง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า เมื่อครั้งการสร้างเมืองครั้งแรกใช้คำว่า “เสาสะดือเมือง” ไม่ใช้คำว่าเสาหลักเมือง

เสาสะดือเมืองเชียงรายแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2530 เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา หรือ 5 รอบ และเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญามังรายมหาราช ผู้ทรงสร้างเมืองเชียงรายเนื่องในวโรกาสการเฉลิมฉลองการสร้างเมืองเชียงรายครบ 725 ปี โดยนายอร่าม เอี่ยมอรุณ ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นได้เป็นแม่งานร่วมกับหน่วยงานราชการ เช่น สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ องค์กรภาคประชาชน ภาคเอกชน และรัฐบาลเยอรมัน

ลักษณะของเสาสะดือเมืองเชียงราย สร้างขึ้นโดยยึดตามรูปแบบเสาใจกลางบ้านของชาวไทลื้อซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตอำเภอเทิง อำเภอเชียงของ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ซึ่งปกติเสาใจกลางบ้านของชาวไทลื้อจะสร้างด้วยไม้ แต่เสาสะดือเมืองเชียงรายเป็นเสาหิน ซึ่งสร้างจากหินชั้นดีจากจังหวัดตาก ทั้งนี้เพื่อความคงทนถาวร โดยบริเวณที่ตั้งเสาสะดือเมืองแห่งนี้เรียกว่า ดอยจอมทอง ซึ่งตามประวัติศาสตร์กล่าวว่าพญามังรายได้เสด็จมาหาตามช้างของพระองค์ซึ่งหนีเตลิดมา เมื่อพระองค์ได้ทรงพบว่าสถานที่แห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสมในการสร้างบ้านเมือง จึงโปรดให้สร้างเมืองเชียงรายขึ้น

เสาสะดือเมืองเชียงราย สร้างในรูปแบบศิลปะขอมแบบพนมบาแกง โดยยึดตามรูปแบบสมมติของจักรวาล หันหน้าไปสู่ทิศตะวันออก บริเวณด้านนอกสุดเป็นคูน้ำเหมือนในจักรวาล ลานดินถัดจากคูน้ำหมายถึงแผ่นดิน ลานด้านในยกเป็นชั้นๆ จำนวน 6 ชั้น เปรียบเสมือนสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น ในกามภูมิ ประกอบด้วยชั้นจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามะ ดุสิต นิมมานรตี และปรนิมมิตสวัตตี ตามลำดับ โดยแต่ละชั้นจะมีร่องน้ำคั่นกลาง เหมือนปัญจมหานที ได้แก่ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และมหิ ไหลลดหลั่นกันลงสู่พื้นดิน ชั้นในสุดยกเป็น 3 ชั้น หมายถึงรูปภูมิ อรูปภูมิ และนิพพาน ตัวเสาสะดือเมืองตั้งโดดเด่นดั่งเขาพระสุเมรุอยู่บนฐานสามเหลี่ยมยกพื้นสูง ซึ่งเปรียบเสมือนตรีกูฏบรรพต หรือผา 3 เส้า มีเสาบริวารล้อมรอบจำนวน 108 ต้น โดยตัวเสาสะดือเมืองมีขนาดใหญ่เท่ากับ 5 กำพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ซึ่งเป็นไปตามคติความเชื่อของล้านนาโบราณที่จะต้องสร้างเสาสะดือเมืองให้มีขนาดใหญ่เท่ากับ 5 กำพระหัตถ์ และมีความสูงเท่ากับส่วนสูงของพระวรกายของพระมหากษัตริย์

เสาสะดือเมืองเชียงรายและเสาบริวารแกะสลักจากหิน โดยฝีมือของนายสิงห์คำ สมเครือ ช่างฝีมือชาวพะเยา ปัจจุบันเสาสะดือเมืองเชียงรายนอกจากเป็นสถานที่รำลึกถึงการสร้างเมืองเชียงรายแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย

บริเวณข้างเสาสะดือเมืองเชียงราย เป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุดอยจอมทอง และเชิงบันไดทางขึ้นไปสู่เสาสะดือเมืองด้านขวามือ มีสิ่งก่อสร้างขนาดย่อมตั้งอยู่ เรียกว่า “กรุวัฒนธรรมเชียงราย” ซึ่งก่อสร้างขึ้นเมืองวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2544 เพื่อเก็บร่องรอยและหลักฐานทางวัฒนธรรมร่วมสมัยปัจจุบัน ซึ่งกรุวัฒนธรรมเชียงรายนี้จะทำการขุดขึ้นมาอีกครั้งเมื่อมีอายุครบ 100 ปี หรือในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2644

วัดกลางเวียง ( Wat Klang Wiang Chiang Rai ) คือวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเวียงเชียงราย มีเสาหลักเมืองเชียงรายตั้งอยู่ สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1975 เดิมชาวบ้าน เรียกว่า วัดจั๋นตะโลก หรือ วัดจันทน์โลก เพราะในวัดเคยมีต้นจันทน์แดงขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ ถือเป็นไม้มงคลใช้บูชาพระตามธรรมเนียมโบราณ

จนกระทั่งเมื่อมีการรังวัดเมืองเชียงรายใหม่ และพบว่าวัดแห่งนี้อยู่ใจกลางเมืองพอดี จึงได้สถาปนาสะดือเวียง หรือ เสาหลักเมืองขึ้น ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงราย ตรงสี่แยกระหว่าง ถ. อุตรกิจ ติดกับ ถ. รัตนาเขต ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ประวัติ วัดกลางเวียง คือวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเวียงเชียงราย มีเสาหลักเมืองเชียงรายตั้งอยู่ สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1975 เดิมชาวบ้าน เรียกว่า วัดจั๋นตะโลก หรือ วัดจันทน์โลก เพราะในวัดเคยมีต้นจันทน์แดงขนาดใหญ่ขึ้นอยู่

ถือเป็นไม้มงคลใช้บูชาพระตามธรรมเนียมโบราณ จนกระทั่งเมื่อมีการรังวัดเมืองเชียงรายใหม่ และพบว่าวัดแห่งนี้อยู่ใจกลางเมืองพอดี จึงได้สถาปนาสะดือเวียง หรือ เสาหลักเมืองขึ้น พร้อมกับเปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดจันทน์โลกกลางเวียง แต่ในปี พ.ศ. 2446 เกิดพายุใหญ่พัดต้นจันทน์แดงหักโค่นลงมา พระอุโบสถและวิหารพังทลาย ต้องบูรณะใหม่ ชื่อวัดจึงเหลือเพียงวัดกลางเวียง ปัจจุบันเสาหลักเมืองเก่าได้ล้มไปนานแล้ว ในปี พ.ศ. 2535 จึงได้สร้างเสาหลักเมืองขึ้นมาใหม่ประดิษฐานอยู่ในมณฑปทรงฟักทองยอดแหลม

บริเวณที่ตั้งเสาหลักเมืองเดิม ภายนอกมีรูปปั้นท้าวจตุโลกบาล ทำหน้าที่พิทักษ์สะดือเวียงตามคติความเชื่อของชาวล้านนา ส่วนตำแหน่งที่เคยมีต้นจันทน์แดงอยู่นั้น ปัจจุบันทางวัดได้สร้างเจดีย์ขึ้นรอบฐานมีช้างทรงเครื่องยืนราย ส่วนพระอุโบสถนั้นได้สร้างขึ้นใหม่ตามแบบสถาปัตยกรรมล้านนาประยุกต์

ซึ่งทาง Wisut Buachum  ผู้อำนายการ ททท.สำนักงานเชียงราย-พะเยา ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทุกท่าน มาแอ่วเชียงราย พร้อมกับรับสิทธิพิเศษสุด “ Wow “ภายใต้แคมเปญ “ Wow Chiang Rai” ในช่วง Green Season. (1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2565) นี้

ชวน นทท. มาท่องเที่ยวกราบพระในเชียงราย ที่มีทั้งวัดวาอารามสวยงาม และท่านจะได้พบกับกิจกรรมต่างๆ ในช่วงหน้าฝน Green Season

Wow Blooming สีสันสดใส : ร่วมกิจกรรม Kick Off เปิดตัวแคมเปญ Wow Chiang Rai รับฟรีส่วนลด และสิทธิพิเศษจากบูทผู้ประกอบการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย พบกับกิจกรรมบนเวที ฟังเพลงเพราะๆ พร้อมลุ้นรางวัล และของที่ระลึก จาก ททท. ระหว่างวันที่ 1-3 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00-21.00 น. ณ ชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเชียงราย

Wow Shopping : ร่วมกิจกรรม Wow Tourist Privilege โดยเซ็นทรัลเชียงราย รับส่วนลดพิเศษจากร้านค้าชั้นนำภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงราย และห้างสรรพสินค้าโรบินสัน มูลค่ากว่า 3,000 บาท ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line Official Account : @Centralchiangrai หรือคลิก : https://lin.ee/zgRRX6K

Wow สบายกระเป๋า : รับทันที ส่วนลด 10-50 % และสิทธิพิเศษอื่นๆ มากมาย เพียงท่านสแกน QR Code รับสิทธิได้ ณ สถานประกอบการท่องเที่ยวที่ร่วมกิจกรรมกว่า 100 ราย ในช่วงระหว่างวันที่ 1 กรกฏาคม.- 30 กันยายน 2565

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท.สำนักงานเชียงราย โทร. 053-717433 , 053-744674,
Facebook : ททท.สำนักงานเชียงราย-พะเยา, www.tourismchiangrai-phayao.com

ร่วมแสดงความคิดเห็น