ชาวสวนผู้ปลูกสตรอเบอรี่ ขายลูกละ 300 บาท ปี 1 กวาดเงินพันล้าน

สตรอเบอรี่ ถือว่าเป็นผลไม้ที่สร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกร ในเขตพื้นภาคเหนือของประเทศไทยรวมทั้งจังหวัดเชียงใหม่ ในพื้นที่หลาย ๆ อำเภอ แต่ปัญหาที่เกษตรกร ที่ทำสวนสตรอเบอรี่พบเจอก็ไม่แตกต่างกัน ตั้งแต่เรื่อง ผลผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ ศัตรูพืช ดิน ฟ้า อากาศ และ ราคา ไร่สตรอเบอรี่ในหลาย ๆ พื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ถูกพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตร แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์การแก้ไขระยะยาว ในการพัฒนาไร่สตรอเบอรี่ของกลุ่มเกษตรกร

แต่ปัจจุบันเกษตรกรรุ่นใหม่ ได้มีการนำเทคโนโลยีสมาท์ฟาร์มเข้ามาใช้ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มกำไร อย่าง  ฟาร์มพริกหวานและเมลอน ในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ , ฟาร์มเมลอน ของนายรักเกียรติ ลี้ถาวร เกษตรกรรุ่นใหม่วัย 38 ปี , โอ้กะจู๋ฟาร์ม สันทราย เชียงใหม่ , โรงเรือนสมาร์ทฟาร์มสตรอเบอรี่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ และ สมาร์ทฟาร์มสวนดอกไม้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ใช้การศึกษาหาข้อมูลจาก อินเตอร์เน็ตและอบรม กับสถาบันทางการศึกษา แล้วนำมาปฏิบัติจริง 

วันนี้เราเลยจะนำทุกท่านมารู้จักกับ กลุ่มเกตรกรรุ่นใหม่ ที่เป็นต้นแบบของการทำการเกษตรแบบ สมาทร์ฟาร์ม และมีการพัฒนาการปลูกสตรอเบอรี่ ด้วยเทคโนโลยีจนสามารถขายได้ถึงลูกละ 300 บาท นั้นคือ กลุ่มเกษตรกรสตาร์ทอัพ ที่ชื่อ โออิชิ (Oishii)

มาทำความรู้จักกับ โออิชิ (Oishii) สตาร์ทอัพในสหรัฐอเมริกา ผู้พัฒนาสตรอเบอรี่ราคาท้องตลาดทั่วไป ไปสู่ สตรอเบอรี่ลูกละ 300 บาท และสามารถสร้างรายได้ถึง 1,800 ล้านบาท ภายใน 1 ปี  ฮิโรกิ โกกะ (Hiroki Koga) ผู้ร่วมก่อตั้ง โออิชิ (Oishii) เคยทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านฟาร์มแนวตั้ง หรือการปลูกพืชเป็นชั้น ๆ ในประเทศญี่ปุ่น จนต่อมาในปี 2558 ได้มีโอกาสมาเรียนต่อหลักสูตร MBA ที่สหรัฐอเมริกา

เมื่อ ฮิโรกิ โกกะ ถึงสหรัฐอเมริกา สังเกตเห็นลูกสตรอเบอรี่ที่ขายอยู่ตามซูเปอร์มาร์เก็ตดูน่าอร่อยมีสีสันสวยงาม ผลมีขนาดใหญ่มาก และน่าอร่อย เมื่อชื้อมาทาน พบว่า เนื้อของสตรอเบอรี่ไม่ฉ่ำน้ำ รสชาติจืดจาง เรื่องนี้ทำให้ ฮิโรกิ โกกะ ฝังใจมาตลอด ว่าอยากพัฒนาสตรอเบอรี่ให้ได้ดังใจที่ตัวเองเคยทานมาว่ามันอร่อยเพียงใด

เมื่อ ปี 2560 ฮิโรกิ โกกะ เรียนจบ เขาจึงตัดสินใจเริ่มทำฟาร์มสตรอเบอรี่เป็นของตัวเอง โดยการนำพันธุ์สตรอเบอรี่ จากบริเวณ “เจแปนแอลป์” ที่อยู่แถว จังหวัดโทยามะ (Toyama) เชื่อมต่อกับ จังหวัดนะงะโนะ (Nagano) ประเทศญี่ปุ่น มาปลูกด้วยวิธีการทำฟาร์มแบบแนวตั้ง (Vertical Farming) ในสหรัฐอเมริกา ปลูกด้วยระบบปิด จำลองพื้นที่การปลูก ที่สามารถควบคุมแสงแดด ก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ อุณหภูมิ ความชื้น และสารอาหารไม่ต่างจากวันที่อากาศดีที่สุด ในประเทศญี่ปุ่น

แต่เนื่องจาก เมื่อปี 2560 การทำฟาร์มแบบแนวตั้ง ยังนิยมปลูกแต่พืชใบเขียว ทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกสตรอเบอรี่ด้วยวิธีนี้ ไม่มีให้ศึกษา ทำให้ ฮิโรกิ โกกะ และ เบรนแดน ซอมเมอร์วิลล์ (Brendan Somerville) ผู้ร่วมก่อตั้ง โออิชิ ต้องใช้เวลาในการศึกษาถึง 1 ปีเต็ม ในการศึกษาค้นคว้าวิธีการปลูกและสร้างสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสมกับการปลูกสตรอเบอรี่

 ฮิโรกิ มีการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามาปรับใช้กับฟาร์มแนวตั้ง การควบคุมสภาพแวดล้อมมีการนำ เทคโนโลยีไอโอที (Internet of Things) หุ่นยนต์ที่คอยดูแลต้นสตรอเบอรี่ รวมถึงการให้ผึ้งเข้ามาผสมเกสรทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ คือ สตรอเบอรี่ แสนอร่อย จากฟาร์มที่สะอาด และให้ผลผลิตตลอดทั้งปี

เมื่อพัฒนาได้ตามต้องการแล้ว ฮิโรกิ จึงตั้งชื่อให้กับสินค้าชิ้นนี้ว่า “โอมากาเสะ เบอรี่” (Omakase berry) เนื่องจาก ฮิโรกิ มองว่านี่คือสิ่งที่ดีที่สุด ที่เขานำเสนอมาให้ทุกคนได้ทานเหมือนกับเชฟที่คัดสรรสิ่งดี ๆ มาให้กับลูกค้า

โอมากาเสะ เบอรี่ มีจุดเด่น คือ กลิ่นหอม รสชาติหวานเป็นพิเศษ โดยอ้างอิงจากค่า Brix หรือหน่วยการวัดความหวาน คือปริมาณน้ำตาลในของเหลว สตรอเบอรี่ทั่วไป จะมีระดับความหวานอยู่ที่ 7-8 Brix  แต่ โอมากาเสะ เบอรี่ มีระดับความหวานอยู่ที่ 10 -15 Brix ส่งผลให้ สตรอเบอรี่ โอมากาเสะ เบอรี่ มีราคาสูงถึง 1,800 บาทต่อกล่อง โดย 1 กล่อง จะมีสตรอเบอรี่ 6 ลูก เมื่อเฉลี่ยออกมาแล้วพบว่า ราคาสูงถึงลูกละ 300 บาท

ถึงแม้ว่า โอมากาเสะ เบอรี่ ของ โออิชิจะมีราคาค่อนข้างสูง แต่นั้นไม่ใช่ปัญหา กลุ่มลูกค้าที่อยากลิ้มลองรสชาติ สตรอเบอรี่โอมากาเสะ เบอรี่ ของบริษัท โออิชิ จนผลิตไม่ทัน ถึงแม้ว่าปัจจุบัน บริษัท โออิชิ จะมีโรงเพาะปลูกในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ทั้งหมด 3 แห่งก็ตาม และ หนึ่งในนั้น คือ ฟาร์มนิวเจอร์ซีย์ ซึ่งถือเป็นฟาร์มแนวตั้ง ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่ประมาณ 6,870 ตารางเมตร

สิ่งที่น่าสนใจคือในปี 2019 บริษัทสามารถระดมทุนเพื่อนำเงินมาขยายโรงงาน รวมถึงนำมาวิจัย ได้ถึง 1,800 ล้านบาท โดยมีผู้ลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น และ Silicon Valley เพื่อพัฒนาสตรอเบอรี่สายพันธุ์อื่น ๆ และขยายไปยังผลไม้ประเภทอื่น เช่น องุ่น มะเขือเทศ หรือเมลอน

อย่างไรก็ตาม ฮิโรกิ ต้องการให้ทุกคนสามารถเข้าถึงผลไม้ที่มีคุณภาพดี จึงเริ่มพัฒนาและวางขายสตรอเบอรี่ขนาดใหม่ ที่มีขนาดลูกเล็กลง ในราคาที่กลุ่มลูกค้าทั่วไปสามารถเข้าถึงได้

อีกหนึ่งสิ่งที่บริษัทให้ความใส่ใจก็คือ “การรักษ์โลก” นอกจากการมอบความอร่อยให้กับลูกค้า โออิชิ ยังมีการใช้ทรัพยากรน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการทำฟาร์มแบบปกติ รวมถึงฟาร์มยังตั้งอยู่ไม่ห่างจากตัวเมืองใช้เวลาในการขนส่งน้อยมีส่วนช่วยลดการสร้างมลพิษ

การพัฒนาของ ฮิโรกิ ทำให้เห็นมุมมองทางธุรกิจที่น่าสนใจ  ว่าการขายที่เน้นปริมาณอาจจะสร้างรายได้จำนวนมาก แต่การใส่ใจในคุณภาพของสินค้าถึงแม้จะมีปริมาณที่น้อยกว่าก็สามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้เช่นกัน ที่สำคัญ คือ สามารถเพิ่มกำไรที่ดีกว่า การปลูกแบบเน้นปริมาณ ที่สำคัญ การเน้นคุณภาพเป็นโอกาสที่สร้างความแตกต่าง และเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าติดใจ และกลับมาซื้อซ้ำอย่างแน่นอน 

แน่นอนว่า เกษตรกรรุ่นใหม่ในเชียงใหม่ ในหลายพื้นที่ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาปฏิบัติ ด้วยตัวเองหรือนำไปปรับแก้ในพื้นที่ของ พ่อ แม่ และสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สิน ทำกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ อย่างเช่น 

ฟาร์มพริกหวานและเมลอน ในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ของ ลุงจง หรือนายธนวิทย์ วงษ์ใหญ่  ใช้นวัตกรรมสมาร์ทฟาร์ม เข้ามาช่วยดูแลผลผลิตผ่านแอปพลิเคชันทางสมาร์ทโฟน ที่เน้นการทำการเกษตรแบบง่าย ๆ เหมือนการเล่นเกมปลูกผักในมือถือ  

“ลุงจง” ทำการเกษตรปลูก เมลอน พริกหวานฮอลแลนด์ และเห็ดเกือบทุกสายพันธ์ุ เดิมเป็นการทำการเกษตรแบบดั่งเดิมที่เน้นการจ้างคนงานจำนวนมาก เพื่อคอยดูแลผลผลิต  แต่หลังจากได้มีการศึกษาดูงานโครงการสมาร์ทฟาร์มของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชงคลล้านนา  จึงเขาร่วมเป็นฟาร์มนำร่อง ที่นำระบบสมาร์ทฟาร์ม เข้ามาบริหารแปลงเกษตร  ผ่านแอปพลิเคชัน ควบคุมการให้น้ำ ให้ปุ๋ย ตรวจสอบอุณหภูมิ และดูแลโรงเรือนผ่านกล้องวงจรปิด ที่ติดตั้งไว้ เมื่อทดลองใช้ พบว่า ช่วยลดต้นทุนแรงงาน ใช้คนงาน ไม่ถึง 3 คนจากเดิน เกือบ 20 คน มีเวลาเพิ่มขึ้น และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น         

 เช่นเดียวกับ ฟาร์มเมลอน ของนายรักเกียรติ ลี้ถาวร เกษตรกรรุ่นใหม่วัย 38 ปี ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตจากมนุษย์เงินเดือน มาเป็นเกษตรกร ทำฟาร์มเมลอน อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผ่านการอบรม ที่เดียวกัน และสร้างโรงเรือน ราคาหลักพัน ถูกกว่าต่างประเทศหลายเท่าตัว จัดว่าเป็นนวัตกรรมที่เกษตรกร เข้าถึงได้ง่าย สามารถจัดการเวลา ขนส่งผลผลิตได้เอง ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง จึงเป็นระบบที่เหมาะกับผู้ที่ทำฟาร์มขนาดเล็ก 

โดยมีการพัฒนาต่อยอดให้สามารถตรวจค่าความชื้น ค่าความเป็นกรดด่างในน้ำและดิน พร้อมระบบการแจ้งเตือนและพยากรณ์ล่วงหน้า เพื่อสร้างมาตรฐานการผลิตและความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ต่อไป

เรื่องนี้สามารถนำมาพัฒนาเกษตรกร ในพื้นที่เชียงใหม่ ได้อย่างไร กลุ่มงานไหนจะต้องทำการส่งเสริมและช่วยเหลืออย่างไร เรื่องของบริษัท โออิชิ เป็นแนวทางในการส่งเสริมศึกษา และพัฒนาได้เป็นอย่างดี อยู่ที่จะลงมือทำหรือไม่ อย่างไร ต่อไป….

ที่มา : Forbes , CNBC , สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , verticalfarmdaily

เรียบเรียงโดย : บ่าวหัวเสือ

ร่วมแสดงความคิดเห็น