เผยภาพสัตว์ป่าเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ พื้นที่โครงการฯ ห้วยลาน

กล้องคาเมล่าแทป…เผยให้เห็นภาพสัตว์ป่าเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์พื้นที่ โครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เมื่อวันที่ 9-10 มีนาคม 2566 โครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ดำเนินการลงพื้นที่สำรวจศึกษาข้อมูลสัตว์ในพื้น เขตป่าห้วยลาน 31,284 ไร่ มี นางวรภาดา​ สุวรรณลพ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยได้มีการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์เก็บข้อมูลสัตว์ป่า เมื่อวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นระยะเวลา 28 วัน
วันที่ 9-10 มีนาคม 2566

โดย ทางเจ้าหน้าดำเนินการเก็บกล้องมี นายบุญธรรม จันทร์แปง เจ้าหน้าที่โครงการห้วยลาน, นายธนนท์ชัย สุวิชัย เจ้าหน้าที่โครงการห้วยลาน, นาย พีรพัฒน์ ดุมนิล ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่โครงการห้วยลาน, นายเอกราช มาไกล เจ้าหน้าที่โครงการห้วยลาน ทั้ง 4 คน ติดตามพิกัด GPS ที่ได้ติดตั้งกล้องไว้ ป่าในช่วงฤดูร้อนแล้ง น้ำในแหล่งธรรมชาติแห้ง และพบไฟป่าในบางจุด

ภาพจากกล้องดักถ่ายภาพ (Camera trap) พบสัตว์ป่าในพื้นที่มีความหลากหลาย ชะมดและอีเห็น ลิง (monkey) พบแม่และลูก “ไก่ป่า” (Red Junglefowl) ที่มากัน 3 ตัวตัวผู้ 1 และตัวเมียอีก 2 ตัว “หมาจิ้งจอกสยาม” (Siamese jackal) เป็นหมาจิ้งจอกชนิดย่อยของหมาจิ้งจอกทองที่พบได้ในประเทศไทย และจัดเป็นหมาป่า 1 ใน 2 ชนิดเท่านั้นที่พบได้ในประเทศไทย “เก้ง หรือ ฟาน” เป็นกวางขนาดกลาง “หมูป่า” (Sus scrofa) ตัวใหญ่ที่ติดเข้ามาให้กล้องแบบล้น ผิวสีดำหรือเทาเข้ม มีขนขึ้นจางๆ ทั่วทั้งตัว ขนมันวาวสีดำหรือน้ำตาล ขนบริเวณสันหลังยาวเป็นพิเศษ หมูป่าจะมีเขี้ยวที่งอกยาวตลอดชีวิต และร่องรอยมูลของสัตว์

ในการดำเนินการสำรวจครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงความสมบูรณ์หลากหลายของสัตว์ป่าห้วยบลาน เป็นแหล่งอาศัยที่สําคัญของสัตว์ป่า ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์ เป็นพื้นที่แหล่งต้นน้ำและแหล่งอาหารของสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างปลอดภัย ในการอนุรักษ์สมบัติอันล้ำค่าอันเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ณ โครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำห้วยลาน บ้านปง (ห้วยลาน) หมู่ที่ 8 ต.ออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น