รอง อว. ปาฐกถาพิเศษ งาน FTI EXPO 2022

รองปลัดกระทรวง อว. ปาฐกถา “การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสและยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทย เติบโตอย่างยั่งยืน”

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว. ปาฐกถาพิเศษ “การวิจัยพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างโอกาสและยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยเติบโตอย่างยั่งยืน”เพื่อสร้างการรับรู้ สร้างความตระหนัก พร้อมแรงขับเคลื่อนในการนำเทคโนโลยี งานวิจัยและนวัตกรรมมาช่วยสร้างโอกาสและยกระดับแก่ภาคอุตสาหกรรมไทย โดยได้รับความสนใจจากหน่วยงาน องค์กร และสถาบันการศึกษาร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ จ.เชียงใหม่

ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวปาฐกถา ในงาน FTI EXPO 2022 : SHAPING FUTURE INDUSTRIES ว่า อุตสาหกรรมในมิติ วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทำไม วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมจึงมีความสำคัญ ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมจะสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมไทย ได้อย่างไร บทบาทของ อว. ในการส่งเสริมงานวิจัยพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม

ความสำคัญของนวัตกรรมในการทำธุรกิจ นวัตกรรมช่วยให้บริษัทเติบโต นวัตกรรมเป็น 1 ใน 3 ปัจจัยสำคัญ ในการช่วยธุรกิจเติบโต 50 องค์กรช้ันนาของโลกจะ focus ท่ี วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม นวัตกรรมช่วยให้องค์กรทันสมัย คาดว่า 40%. ของบริษัท ใน Fortune 500 จะหายไปในอีก 10ปีข้างหน้า จาก Disruptive Technology นวัตกรรมช่วยให้องค์กรมี ความแตกต่างจากองค์กรอื่น ประหยัดเวลา ต้นทุน และทรัพยากร

จะสร้างนวัตกรรมเข้าไปในองค์กร ได้อย่างไร ?ต้องไม่คิดถึงประสิทธิภาพ หรือ การ ขยายขนาดการผลิตเพียงอย่างเดียว ยอมรับความไม่แน่นอน เริ่มจากนวัตกรรมเล็กๆก่อน แล้วค่อย พัฒนาเพิ่มข้ึนลเรื่อยๆ ท้ังในผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการ ต้องไม่คิดแยกส่วน บูรณาการกับ ส่วนต่างๆ และใช้ทรัพยากรร่วมกัน ฝึกให้ คนในองค์กรคิดนอกกรอบ ฝึกให้ คนในองค์กรมี Growth Mindset

นอกจากนี้ มุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและมีผลกระทบทางเศรษฐกิจสูงเพื่อผลักดันให้เกิดผลิตภัณฑ์ และบริการมูลค่าสูง หรือให้เกิดธุรกิจใหม่สร้างผู้ประกอบการ สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพ และผลักดันผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแขง่ ขัน (competitive) และนำพาประเทศให้พ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income trap) ไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีการเติบโตที่ยั่ง ยืนในอนาคต

โครงการบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน การจัดระบบการศึกษาให้นักศึกษามีองค์ความรู้และทักษะสอดคล้องต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม นักศึกษาเข้าศึกษาในหลักสูตรปวส. และ/หรือปริญญาตรี โดยเรียนรายวิชาตามหลักสูตร หลังเลิกงานหรือวันหยุดในสถานที่ที่สถานประกอบการจัดให้ เข้าทำงานเต็มเวลาในสถานประกอบการเป็นระยะเวลา 2 ปีโดยได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานเสมือนเป็นพนักงาน

โครงการสร้างขีดความสามารถในการทำนวัตกรรมของภาค
อุตสาหกรรมเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขันของประเทศโดยการพัฒนากำลังคนระดับสูง การจัดระบบการศึกษาให้นักศึกษามีองค์ความรู้และทักษะสอดคล้องต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
นักศึกษาเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาโท พร้อมกับเข้าทำงานเต็มเวลาในสถานประกอบการเป็นระยะเวลา 2 ปี พัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดการนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมให้แก่บุคลากรในสถานประกอบการร่วมกับนักศึกษา จัดการเรียนและการฝึกทักษะการทำงานตามกระบวนการ RDI QS ในสถานประกอบการดำเนินโครงการนวัตกรรมและนำเสนอเป็นผลงานทางวิชาการผ่านโครงการวิทยานิพนธ์

นอกจากนี้ 20 กันยายน 2562 คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) คร้ังที่ 3/2562 มอบหมาย อว. กำหนดหลักสูตร และสาขาการศึกษาเป้าหมาย จัดทำกลไกการพัฒนาบุคลากรทักษะสูงร่วมกับภาคเอกชน พิจารณารับรอง ประกาศหลักสูตร และสาขาการศึกษาเป้าหมายร่วมกับ สกพอ. จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกา ร่วมกับกระทรวงการคลัง เป็นการสร้างโอกาสและยกระดับ ภาคอุตสาหกรรมไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ร่วมแสดงความคิดเห็น