นักวิทย์จีนพัฒนาวิธีรักษาอาการบาดเจ็บ ‘เอ็น-กระดูก’ แบบใหม่

เซี่ยงไฮ้, 19 มี.ค. (ซินหัว) — ทีมวิจัยของจีนได้พัฒนาโครงเลี้ยงเซลล์แบบหลายเซลล์โดยใช้เซรามิกชีวภาพแบบอนินทรีย์สำหรับรักษาอาการบาดเจ็บบริเวณเส้นเอ็นและกระดูก
ข้อจำกัดของกิจกรรมการเคลื่อนไหวจากการสูญเสียโครงสร้างตามธรรมชาติ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บดังกล่าวมีคุณภาพชีวิตลดลง

เพื่อแก้ปัญหานี้ ทีมวิจัยซึ่งนำโดยสถาบันเซรามิกแห่งเซี่ยงไฮ้ (SIC) สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ได้ผสมอนุภาคนาโนแมงกานีสซิลิเกต (MS) เข้ากับเซลล์ที่เกี่ยวกับเส้นเอ็น/กระดูก เพื่อสร้างโครงเลี้ยงเซลล์แบบหลายเซลล์ชนิดปรับเปลี่ยนภูมิคุ้มกันร่างกาย และสร้างเนื้อเยื่อระหว่างเส้นเอ็นและกระดูก

โครงเลี้ยงเซลล์แบบนี้ไม่เพียงแสดงกิจกรรมทางชีวภาพที่หลากหลายในหลอดทดลอง แต่ยังบรรลุการควบคุมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน สร้างเนื้อเยื่อใหม่หลายเนื้อเยื่อ และฟื้นฟูการทำงานของกำลังกล้ามเนื้อในสัตว์ทดลองต่างๆ ที่ได้รับบาดเจ็บเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด
อู๋เฉิงเถี่ย นักวิจัยจากสถาบันเซรามิกแห่งเซี่ยงไฮ้ กล่าวว่าการศึกษาครั้งนี้ให้แนวคิดใหม่ในการบรรลุการปรับเปลี่ยนภูมิคุ้มกันร่างกายและสร้างเนื้อเยื่อแบบบูรณาการของเส้นเอ็น-กระดูก และส่วนต่อประสานของเนื้อเยื่ออื่นๆ

อนึ่ง การศึกษาดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ในวารสารไซแอนซ์ แอดวานซ์ (Science Advances) เมื่อไม่นานนี้

(แผนภาพจากสถาบันเซรามิกแห่งเซี่ยงไฮ้ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน แสดงภาพกระบวนการที่โครงเลี้ยงเซลล์แบบหลายเซลล์ชนิดปรับเปลี่ยนภูมิคุ้มกันร่างกายถูกนำมาใช้สร้างเนื้อเยื่อระหว่างเส้นเอ็นและกระดูก)

ร่วมแสดงความคิดเห็น