กรุงเทพฯ, 1 ก.ค. (ซินหัว) — พินิจ จารุสมบัติ วัย 70 ปีกว่า อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย และประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ยังคงจดจำได้ว่าตอนเด็กๆ บ้านของเขามีโอ่งเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่เยอะมาก ครั้นถามคุณย่าว่าโอ่งเหล่านี้มาจากไหน คุณย่าก็บอกว่ามาจากประเทศจีน ครอบครัวของพินิจนั้นเกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างจีนกับไทยมายาวนาน ตั้งแต่ส่งออกข้าวสารสู่ฮ่องกงจนถึงนำเข้าสินค้าอื่นๆ จากจีนสู่ไทย โดยพินิจบอกว่าครอบครัวของเขาทำการค้ากับจีนเยอะมาก โอ่งน้ำเหล่านี้ขนส่งตรงมาจากจีน หินที่ใช้ก่อสร้างบ้านบางส่วนก็มาจากจีนเช่นเดียวกัน ปัจจุบันบ้านของพินิจยังคงมีโอ่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ตั้งอยู่ แม้โอ่งเหล่านี้ดูธรรมดาแต่สมัยนั้นถือเป็นของหายากในไทย โดยโอ่งน้ำที่บรรพบุรุษนำมาจากจีนยังคงถูกใช้งานจากคนรุ่นสู่รุ่น บางครั้งใช้เก็บน้ำในหน้าแล้ง ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้จากครอบครัวของพินิจเป็นดั่งภาพสะท้อนของการแลกเปลี่ยนฉันมิตรระหว่างจีนกับไทย บันทึกประวัติศาสตร์จีนระบุว่าจีนและไทยติดต่อสื่อสารกันมานานตั้งแต่ก่อนเกิดการก่อตั้งประเทศไทย โดยเมื่อครั้งเจิ้งเหอออกเดินเรือในยุคราชวงศ์หมิง เขาได้ล่องเรือตามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นเหนือสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน และช่วยเหลือราชวงศ์ในอาณาจักรอยุธยาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านบางแห่ง ช่วงก่อนพวกล่าอาณานิคมจากตะวันตกจะเข้ามา ยุคสมัยนั้นไทยทำการค้ากับจีนเป็นส่วนใหญ่ โดยจีนนำเข้าข้าวสาร เครื่องเทศ แร่ดีบุก และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจากไทย ส่วนไทยนำเข้าเครื่องเคลือบ ผ้าไหม ใบชา และเครื่องเหล็กจากจีน ซึ่งผู้ค้าจะใช้วัตถุหนักๆ อย่างรูปปั้นหินเป็นอับเฉาถ่วงน้ำหนักเรือระหว่างขากลับ ไทยได้ขุดพบรูปปั้นหินและช้างหินจำนวนมากระหว่างการซ่อมแซมถนนภายในพระบรมมหาราชวังเมื่อเดือนกรกฎาคม 2021 ซึ่งบางส่วนเป็นรูปปั้นบุคคลที่มีใบหน้าและการแต่งกายจากหลากหลายเชื้อชาติ รวมถึงสัตว์ในตำนาน โดยผลการตรวจสอบพบรูปปั้นหินบางส่วนสลักคำว่า “ผลิตในกว่างตง” อยู่ด้วย ขณะการตรวจสอบกับเอกสารทางประวัติศาสตร์พบรูปปั้นหินเหล่านี้ปรากฏอยู่ในรูปถ่ายเก่าของวัดพระแก้วในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเป็นไปได้สูงว่ารูปปั้นหินเหล่านี้อาจถูกนำเข้าสู่ไทยในฐานะอับเฉาถ่วงน้ำหนักเรือ โดยปัจจุบันรูปปั้นหินเหล่านี้ได้รับการบูรณะฟื้นฟูและตั้งประดับภายในพระบรมมหาราชวัง กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนมิตรภาพระหว่างจีนกับไทย […]
ร่วมแสดงความคิดเห็น