ปภ.แนะใช้อุปกรณ์นิรภัยถูกวิธี…ลดบาดเจ็บ – เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ

อุปกรณ์นิรภัยเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยปกป้องผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนนไม่ให้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิต
เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะการใช้อุปกรณ์นิรภัยอย่างถูกต้อง ดังนี้
เข็มขัดนิรภัย

  • บุคคลทั่วไป คาดเข็มขัดนิรภัยแนบชิดลำตัว พาดผ่านสะโพกและหัวไหล่ ปรับสายไม่ให้พลิกหรือบิดงอ
  • สตรีมีครรภ์ คาดเข็มขัดนิรภัยพาดผ่านร่องอกลงมาด้านข้างของช่องท้อง ให้สายคาดแนวนอนอยู่เหนือต้นขากระดูก
    เชิงกราน รวมถึงใช้หมอนใบเล็กหรือผ้าขนหนูรองบริเวณหน้าท้องส่วนล่าง
  • เด็ก สามารถคาดเข็มขัดนิรภัยที่ติดตั้งมากับรถ เมื่อมีรูปร่างและความสูงใกล้เคียงผู้ใหญ่ โดยเด็กต้องนั่งตัวตรง หลังพิงพนัก และห้อยขากับเบาะนั่งได้พอดี
  • ข้อควรระวัง ไม่ควรคาดเข็มขัดนิรภัยพาดชิดลำคอ และไม่คาดใต้วงแขน เพราะหากเกิดอุบัติเหตุ เข็ดขัดนิรภัย
    จะไม่สามารถเหนี่ยวรั้งลำตัวผู้ประสบเหตุ ทำให้ได้รับอันตรายได้
    เบาะนั่งนิรภัย (Car – seat)
  • เลือกใช้เบาะนิรภัยที่ได้มาตรฐาน โครงสร้างแข็งแรง ตัวล็อกแน่นหนา เหมาะสมกับวัย รูปร่าง น้ำหนัก และส่วนสูงของเด็ก
  • ใช้เบาะนั่งนิรภัยอย่างถูกวิธี ศึกษาคู่มือการใช้งาน ติดตั้งในตำแหน่งที่ปลอดภัย เหมาะกับลักษณะของรถ โดยยึดติดเบาะนั่งนิรภัยไว้บริเวณกึ่งกลางของเบาะด้านหลังรถ และคาดสายรัดที่นั่งนิรภัยให้กระชับลำตัวเด็ก
  • กรณีไม่มีเบาะนั่งนิรภัย ควรให้เด็กนั่งบริเวณเบาะหลังรถค่อนไปทางใดทางหนึ่ง ไม่ควรให้เด็กนั่งเบาะหน้าหรือ
    นั่งตักผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารด้านหน้ารถ เพราะหากประสบอุบัติเหตุ จะทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บรุนแรงได้
    หมวกนิรภัย
  • เลือกใช้หมวกนิรภัยแบบเต็มใบที่มีขนาดพอดีกับศีรษะ มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • เปลี่ยนหมวกใบใหม่ทุก ๆ 3 – 5 ปี หรือหลังหมวกกระแทกพื้น และไม่นำหมวกนิรภัยที่ตกกระแทกพื้นอย่างแรง
    มาใช้งาน เพราะวัสดุบางชิ้นเสื่อมสภาพ ไม่สามารถรองรับแรงกระแทกได้เมื่อประสบอุบัติเหตุ
  • สวมหมวกในลักษณะตรง คาดสายรัดคางและปรับความตึงให้กระชับใต้คาง สายไม่บิดหรือหย่อน และกระชับ เพียงพอที่หมวกนิรภัยจะไม่หลุดออกจากศีรษะ
  • ไม่เก็บหมวกนิรภัยในบริเวณที่มีความร้อน เพราะพลาสติกและโฟมจะหมดอายุการใช้งาน อาจทำให้ไม่สามารถรองรับแรงกระแทกเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางถนนได้

ทั้งนี้ การใช้อุปกรณ์นิรภัย ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร จะช่วยลดการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
ทางถนนได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น