จับตาการเยือนไต้หวัน กระทบการเงินไทย

เอเชีย พลัส ผู้ให้บริการทางการลงทุนอย่างครบวงจร ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์เกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจไทย จากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน หลังการเยือนไต้หวันของ ส.ส.แนนซี่ เพโลซี่ ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อคืนที่ผ่านมา

ทางเอเชียพลัสได้วิเคราะห์ว่า การเดินทางเยือนไต้หวันของ ประธานสภาผู้แทนฯสหรัฐ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม โดยมี 2 แง่มุม คือ มุมของความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการที่จะเกิดการใช้กําลังระหว่างประเทศ และในมุมของการค้าระหว่างประเทศอย่าง น้อยที่สุดทําให้ความคาดหวังว่ากําแพงภาษีระหว่าง สหรัฐ-จีน (Trade War) ที่ ก่อนหน้านี้มีลุ้นว่า จะผ่อนคลาย อาจต้องล้มเลิกไป ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยได้ศึกษา ผลกระทบต่อ SET Index ในช่วงที่มีการประกาศกําแพงภาษี แต่ละรอบพบว่ามี การปรับลดลงเฉลี่ย 7-10% ส่วนประเด็นอื่นเป็นเรื่องที่ กระทรวงการคลังให้ภาพ เศรษฐกิจบ้านเรา ว่าอยู่ในช่วงการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยคาด GDP Growth ปี 2565 จะอยู่ที่ 3.3% โดยมีนักท่องเที่ยวปี 2565 อยู่ที่ 6 ล้านคน และเพิ่มเป็น 19 ล้านคน ในปี 2566 ภาพดังกล่าวน่าจะมีส่วนช่วยดึงดูด Fund Flow ให้เข้ามาได้

SET Index น่าจะพักฐานมี 1575 จุด เป็นแนวรับแรก และระดับถ้ดไปที่ 1,565 จุด แนวต้าน 1,600 จุด พอร์ตจําลองวานนี้ Stop Profit หุ้น GPSC ให้นําเงินเข้าซื้อ BAM แทน (น้ำหนัก 10%) หุ้น Top Pick เลือก BAM, BEM และ PYLON

เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เดินทางถึงไต้หวันและกล่าวว่าเราเคารพในคํามั่น สัญญาของเราต่อระบอบประชาธิปไตย เพื่อย้ำว่าเราต้องเคารพเสรีภาพและประชาธิปไตย ของไต้หวันทั้งหมด ขณะที่จีนตอบโต้ทันทีที่เพโลซีถึงไต้หวัน โดยประกาศซ้อมรบทางทหาร ในวันที่ 4-7 ส.ค. นี้ ในน่านน้ำและน่านฟ้าที่ล้อมรอบไต้หวัน เตือนไม่ให้มีเรือหรือเครื่องบินใด ล้ำเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวระหว่างฝึกซ้อม ทําให้สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ และจีนในไต้หวันนั้น เป็นเรื่องที่ต้องติดตามพัฒนาการต่อไป ซึ่งอาจสร้าง Downside ใน เชิงเศรษฐกิจเพิ่มเติม หลังจากที่ IMF เพิ่งปรับลดคาดการณ์ World GDP Growth ปี 2565 จาก 3.6 % มาอยูที่ 3.2 % ซึ่งถือว่าอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับ World Bank และ OECD ที่ ปรับลดมาก่อนหน้านี้

ขณะที่ ผลกระทบต่อประเทศไทยกรณีเลวร้าย น่าจะมีความเสี่ยงที่จะทําให้การค้าระหว่างประเทศสะดุด ขณะที่บ้านเราโครงสร้าง GDP ส่วนราว 68% มาจากภาคการส่งออก โดยไทยมีสัดส่วนการค้ากับจีนมากที่สุดราว 1.28 แสนล้านเหรียญในปี 2021 หรือคิดราว 22% ของประเทศคู่ค้าทั้งหมด และสหรัฐฯก็มีสัดส่วนการค้ากับไทยอันดับที่ 3 ราว 6.1 หมื่นล้าน เหรียญหรือคิดเป็นสัดส่วนราว 11% ของประเทศคู่ค้าทั้งหมด โดยหากรวมสัดส่วนการค้า ทั้ง 2 ประเทศ อยู่ที่ 33% หรือ 1 ใน 3 ของประเทศคู่ค้าทั้งหมดของไทย

ที่มา : เอเชียพลัส

ร่วมแสดงความคิดเห็น