วิเคราะห์ทางรอดธุรกิจ ค้าปลีกเชียงใหม่ครึ่ง หลัง ปี 2565

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 ยังอยู่ในช่วงการเฝ้าระวังทำให้การประเมินสุขภาพธุรกิจของผู้ประกอบการ ในปี 2565 ไม่ชัดเจน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองทิศทางค้าปลีก จะฟื้นตัวกลับมาได้มากน้อยเพียงใดยังคงขึ้นอยู่กับ การบริหารจัดการสถานการณ์โควิด โดยเฉพาะสายพันธุ์ใหม่ โอมิครอน (Omicron) เป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะกำหนดทิศทางธุรกิจค้าปลีก หากรุนแรงจนภาคการท่องเที่ยวเชียงใหม่ ยังไม่สามารถกลับมาเป็นเมืองท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบได้ อาจต้องหวังพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศเพื่อหนุนให้ธุรกิจฟื้นตัว โดยมี มาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเป็นตัวสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายเงิน

ทั้งนี้ค้าปลีกในเมืองท่องเที่ยวลำดับต้น ๆ อย่างจังหวัดเชียงใหม่ ยังต้องเผชิญกับความยากในการสร้างยอดขายหรือการทำกำไรจาก กำลังซื้อที่ซบเซาและการแข่งขันรุนแรง รวมถึงผู้ผลิตที่ปรับเปลี่ยนการรุกตลาดเป็นผู้ค้า สินค้าที่มีความแตกต่างกันน้อยรวมถึงต้นทุนสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น และมาตรการความช่วยเหลือของภาครัฐ ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อและหนุนรายได้ของผู้ประกอบการที่เริ่มทยอยหมดลง

การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ โอมิครอน (Omicron) เป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดทิศทางธุรกิจค้าปลีก จากเดิมที่คาดว่าฟื้นตัวในทางที่ดีขึ้น จากการที่ภาคการท่องเที่ยวกลับมาเดินหน้าอีกครั้ง คนไทยเริ่มต้นเดินทางมากขึ้น นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ไม่ใช่คนจีนเริ่มกลับเข้ามาเที่ยวเชียงใหม่เพิ่มขึ้น แต่กำลังซื้อจากนักท่องเที่ยวยังไม่มากพอ และกลายเป็นว่า ร้านค้าปลีกอาจจะต้องหวังพึ่งพากำลังใช้จ่ายและการบริโภคภายในประเทศ อย่างกลุ่มนักท่องเที่ยวไทยเที่ยวไทย เพื่อหนุนให้ธุรกิจฟื้นตัว จากแรงซื้อที่เน้นการเข้าถึงได้ง่าย

ธุรกิจค้าปลีกในจังหวัดเชียงใหม่ยังมีความอ่อนไหวอย่างมาก เพราะ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19  หากมองระดับกลางที่ยังไม่แน่ใจว่าจะดีขึ้นหรือแย่ลงมากน้อยเพียงไร ธุรกิจค้าปลีกยังต้องพึ่งพากันจับจ่ายใช้สอยในประเทศของคนไทยเป็นหลัก การฟื้นตัวของธุรกิจค้าปลีกเชียงใหม่ยังคงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย และโอกาสฟื้นตัวจากปัจจัยบวก เช่น โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย , การท่องเที่ยวเริ่มฟื้นฟู , การส่งออกเริ่มเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้น

ค้าปลีกในจังหวัดเชียงใหม่ยังคงต้องเผชิญกับความยากลำบาก ในการสร้างยอดขายหรือทำกำไรอีกครั้ง คาดว่า ตลาดมีแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ทั้งแบบหน้าร้านออฟไลน์หรือบนแฟลตฟอร์มออนไลน์และกลุ่มสินค้าที่ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก สวนทางกับกำลังซื้อของผู้บริโภคที่มีอย่างจำกัด ผู้ประกอบการค้าปลีกยังต้องติดตามสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนและปรับตัวให้ทันสถานการณ์เพื่อให้ธุรกิจยังคงมีกระแสเงินสดเข้ามาหมุนเวียน และสามารถประคับประคองธุรกิจให้ดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ยอดขายของค้าปลีก ปี 2565 แม้ว่าจะยังขยายตัวราว 2.8% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ขยายตัวที่ 4.5%  แต่การขยายตัวดังกล่าว น่าจะเป็นผลของราคาสินค้าอุปโภคต่างๆ ที่ทยอยปรับเพิ่มสูงขึ้น ตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก รวมถึงราคาสินค้าที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ได้ยอดขายส่วนใหญ่ น่าจะมาจากการขยายตัวจากการซื้อขายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

เนื่องจาก ต้นทุนในการทำธุรกิจค้าปลีกมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาพลังงาน ราคาน้ำมัน ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อต้นทุนค่าขนส่ง และราคาวัตถุดิบ วัตถุดิบอาหาร บรรจุภัณฑ์  เช่น กระป๋องอลูมิเนียม ยังมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น กระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาจำหน่ายสินค้าอีกหลายรายการ ที่คาดว่าจะปรับสูงขึ้นตามและส่งผลต่อราคาสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การปรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอาจจะส่งผลให้ผู้บริโภคใช้จ่ายได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากผลกระทบจากค่าครองชีพและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังซบเซาทำให้ต้องใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น สวนทางกับค่าครองชีพที่เร่งตัวขึ้น

ทั้งนี้การฟื้นตัวของค้าปลีกจะแตกต่างไปในแต่ละประเภทของสินค้า จะมีทั้งธุรกิจที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันและธุรกิจที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากแยกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้

กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ของใช้ส่วนตัว จะยังเติบโตได้เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าจำเป็น แต่ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง เพราะมีตลาดที่กว้างบนแพลตฟอร์มออนไลน์

กลุ่มสุขภาพและความงาม ยังคงขยายตัวได้จากพฤติกรรมการใส่ใจดูแลสุขภาพของผู้บริโภค แต่อาจเผชิญกับการแข่งขันด้านราคา เนื่องจากสินค้าไม่ได้แตกต่างกันมากนัก

กลุ่มสินค้าแฟชั่น ยอดขายอาจฟื้นตัวดีขึ้นจากการเริ่มทยอยกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ แต่ด้วยกำลังซื้อที่ยังจำกัดประกอบกับผู้ค้าที่อยู่ในตลาดมีจำนวนมากเกิน อาจจะยังส่งผลต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค

กลุ่มเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน วัสดุก่อสร้าง ตกแต่ง ซ่อมบำรุง ยอดขายอาจจะฟื้นตัวดีขึ้นจากฐานที่ต่ำ และในบางพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม จึงทำให้มีความต้องการสินค้ากลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มสินค้าไม่จำเป็นหรือสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่ง คาดว่าผู้บริโภคจะปรับลดการใช้จ่าย หรือวางแผนใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น หรือหันไปซื้อสินค้ามือสองทดแทน เช่น เสื้อผ้า หรือกระเป๋ามือสอง 

จากการสำรวจพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีก พบว่า นอกจากจุดแข็งเรื่องทำเลที่ตั้งของร้านค้าที่อยู่ใกล้บ้านแล้ว ร้านค้าปลีกยังมีสินค้าแบรนด์รองหรือแบรนด์ราคาประหยัด ให้เลือกหลากหลายสอดรับกับกำลังซื้อและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่หันมาซื้อสินค้ากลุ่มดังกล่าวมากขึ้น

จากการสำรวจของ โพลล์ศูนย์วิจัยกสิกร พฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกของกลุ่มผู้บริโภค พบว่า ในการซื้อสินค้าผ่านร้านค้าปลีกออฟไลน์ ปัจจัยที่เลือกใช้บริการประกอบไปด้วย สะดวกและใกล้บ้าน 97%  ความคุ้นเคยสนิทสนม 40.9 % และมีสินค้าแบรนด์ร้องเบนซ์ประหยัด 32.3% 

แต่สิ่งที่ต้องพัฒนาและปรับปรุง มีบริการชำระค่าสินค้าที่หลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะคิวอาร์โค๊ด เพิ่มหมวดหมู่สินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพ ปรับภาพลักษณ์หน้าร้านและบริเวณร้านให้มีความทันสมัยสะอาดสว่างและมีทางเดินสะดวก

ในส่วนของร้านค้าปลีกออนไลน์ ปัจจัยที่เลือกใช้บริการ ร้านอยู่บน E- marketplace ที่มีบริการ ครบวงจร 60.1% และมีการจัดโปรโมชั่น ที่หลากหลาย 49.8% สินค้ามีคุณภาพและตรงปก 49.2% 

กลู่มลูกค้ามองหา กิจกรรมส่งเสริมการขายหรือโปรโมชั่นที่ต้องการขายจากร้านค้าปลีก เช่น จัดส่งฟรีกำหนดยอดสั่งซื้อขั้นต่ำเพื่อรับบริการส่งฟรี 63.0% จัดเซตสินค้าจำเป็นราคาประหยัด กล่องสุ่ม 56.4% และ มีระบบสมาชิก สะสมแต้มเพื่อรับส่วนลดและบริการพิเศษ 48.8%

หากร้านค้าปลีก สามารถปรับปรุงในส่วนของการให้บริการชำระเงินผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น ชำระผ่าน คิวอาร์โค้ด (QR Code) รวมถึงการนำสินค้ากลุ่มสุขภาพ เช่น อาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ หน้ากากอนามัย มาจำหน่ายมากขึ้นและปรับภาพลักษณ์ หน้าร้านให้มีความทันสมัย สะอาด สว่าง และมีทางเดินสะดวกเชื่อว่าจะสามารถจูงใจให้ผู้บริโภค ยังคงเลือกซื้อสินค้าผ่านร้านค้าปลีก โดยเฉพาะกลุ่มสินค้า อุปโภค บริโภค อย่างเช่น ของสด เนื้อสัตว์ ผัก ข้าวสาร น้ำดื่ม และของใช้ในครัวเรือน ที่ได้รับความนิยมในการเลือกซื้อผ่านร้านค้าปลีกใกล้บ้าน

สิ่งที่ต้องพัฒนาและปรับปรุง ประกอบไปด้วย ความหลากหลายและคุณภาพสินค้า  ผู้ประกอบการสามารถควบคุมคุณภาพของสินค้า บริการก่อนและหลังการขาย มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขายใหม่ๆ เช่น ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสินค้า ที่รวดเร็วและชัดเจน รวมถึง ช่องทางการจัดส่งสินค้าและการชำระเงินที่หลากหลาย เชื่อว่ากลุ่มลูกค้ายังจะช่วยอุดหนุนยอดขายให้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากปัจจัยดังกล่าวที่กล่าวไว้ข้างต้น ประเมินได้ว่า ธุรกิจค้าปลีกครึ่งปีหลังโดยเฉพาะยอดขายในร้านค้าปลีกที่เป็นออฟไลน์มีแนวโน้มกลับมาเติบโตได้อีกครั้งนึง หลังจากถูกกดไว้ด้วยปัจจัยของ โควิด-19 ผู้คนเริ่มอยากออกมาจับจ่ายใช้สอยนอกบ้าน แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไร สิ่งสำคัญของผู้ประกอบการค้าปลีกคือการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา กลยุทธ์สำหรับการปรับตัวเพื่อรับมือเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังดังนี้

– พัฒนาสินค้าให้มีความโดดเด่นและแตกต่าง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

– ปรับตัวให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้ทุกสถานการณ์ และอยู่เหนือคู่แข่งภายใต้แนวคิด พีดีซีเอ (PDCA) คือ การวางแผน ลงมือทำ  ตรวจสอบและแก้ไข แนวคิดนี้จะช่วยให้เรียนรู้และพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ หรือแสวงหาสิ่งใหม่ มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาจนคู่แข่งตามไม่ทัน

– หลีกเลี่ยงการลงทุนเพิ่มในส่วนที่ยังไม่จำเป็น เพื่อความคล่องตัวในการปรับตัวที่ง่ายและรวดเร็ว 

– ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ ปรับลดมาร์จิ้นหรือกำไรลง เพื่อให้ธุรกิจมีกระแสเงินสดเข้ามาหมุนเวียนและเข้าประคองธุรกิจ

– บริหารจัดการสต๊อกสินค้าแต่ละประเภท โดยอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ

– วางแผนการขนส่งและการจัดส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

– ทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและการรักษาคุณภาพ ในการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่องในทุกช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งหน้าร้านและออนไลน์

– มองหาช่องทางหรือรูปแบบการขายใหม่ เพื่อกระจายความเสี่ยงเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในต่างประเทศได้มากขึ้น

– หลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคาและหันมาเน้นการแข่งขันด้านคุณภาพและความแตกต่างของสินค้าที่ตอบโจทย์ลูกค้าเป้าหมายได้มากที่สุด

เหนือสิ่งอื่นใด คือ การรักษาคุณภาพของการให้บริการที่สม่ำเสมอ ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญสำหรับการตัดสินใจเลือกซื้อบริการของผู้บริโภค เพื่อให้พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ ผู้ค้าปลีกจะต้อง จะต้องดูแลทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ออนไลน์หรือออฟไลน์ รวมไปถึงระบบจัดส่ง การบริการการคุมต้นทุน การชำระเงิน การควบคุมคุณภาพ การรับประกันสินค้า และ การสื่อสารทั้งในองค์กรนอกองค์กร สถาบันการเงินคู่ค้า และลูกค้า การตกแต่งร้านทั้งออนไลน์และออฟไลน์การจัดเรียงสินค้าความสะอาดไซไฟและการจัดทางเดินให้เหมาะสม

ดูแลสินค้า ให้มีปริมาณที่เพียงพอต่อการขาย ไม่มากเกินจนค้างสต๊อก ไม่น้อยเกินไปจนเสียโอกาสในการขายและมีสินค้าดีติดร้านอยู่เสมอ ฝึกอบรมให้พนักงาน พร้อมมอบสวัสดิการที่เหมาะสม เพราะพวกเขาคือ Asset ที่มีค่า ที่ต้องมองว่า คือ ค่าใช้จ่าย

สิ่งสำคัญคือ ต้องรู้ทันพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และหาความต้องการของพวกเขาให้เจอ รวมถึงนำเสนอสิ่งใหม่ๆ เพื่อสร้างความพึงพอใจและความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้าได้อย่างสูงสุด

เรียบเรียงโดย : บ่าวหัวเสือ

ร่วมแสดงความคิดเห็น