มาตรการ กักตัวล่าสุดเมื่อติดโควิด

มาตรการ กักตัวล่าสุด ข้อปฏิบัติเมื่อติดโควิด-19 ต้องทำอย่างไร?
.
เตรียมหลักฐานผลตรวจ ATK (2 ขีดติดโควิด) และบัตรประชาชน ติดต่อรับยาตามสิทธิ (บัตรทอง, ประกันสังคม, ข้าราชการ) ที่โรงพยาบาล หรือจุดรับยาใกล้บ้าน หรือติดต่อสายด่วน 1330, 1669, 1668 เพื่อเข้ารับการรักษา
.
อาการป่วยแบบไหน…ต้องรักษายังไง?
ผู้ป่วยไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้สูงเกิน 37.5 แต่ไม่เกิน 39 องศาเซลเซียล, ไอ, เจ็บคอ, มีน้ำมูก, ท้องเสีย ไม่มีโรคร่วม หรือแพทย์มีความเห็นให้ไปรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) สามารถรักษาตามแนวทาง “เจอ-แจก-จบ” และทำสิ่งต่อไปนี้

▪แยกตัวจากผู้อื่น แบบ 5+5 วัน คือแยกกักรักษาที่บ้าน 5 วัน และป้องกันเข้มอีก 5 วัน

▪กินยาตามอาการ (บางคนที่แพทย์ให้กินยาต้านโควิด ต้องกินให้ครบตามกำหนด)

▪กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
ปรุงสุก สะอาด แนะนำเมนูย่อยง่ายๆ

▪ล้างมือบ่อยๆ
ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะหลังจากเข้าห้องน้ำ

▪แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้ปะปนกับผู้อื่น

▪แยกขยะ โดยก่อนนำถุงขยะติดเชื้อไปทิ้งให้ใส่น้ำยาฟอกขาวหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ 2 ฝา ใส่ถุงอีกชั้น มัดปิดปากถุงให้สนิทเขียนหน้าถุงว่าขยะติดเชื้อด้วย

▪แยกห้องน้ำ (กรณีทำไม่ได้ ให้ผู้ติดเชื้อเข้าคนสุดท้าย และและทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งหลังใช้เสร็จ)

▪พูดคุยกับคนอื่นได้ โดยใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ต้องใส่ทั้ง 2 ฝ่าย เว้นระยะห่าง 2 เมตร

หลังกักตัวครบ 10 วัน (วันแรกที่ตรวจพบ = วันที่ 0)
▪ผู้มีอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ ไอเล็กน้อย อาจตรวจ ATK ผลเป็นบวก แต่ถือว่าไม่แพร่เชื้อ

▪ผู้มีอาการแย่ลง ไข้สูงอย่างต่อเนื่อง เสมหะปนเลือด หายใจลำบาก เหนื่อยหอบมากขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์
.
{เพิ่มเติม}
ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง แต่เหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรง หรือมีโรคร่วม กลุ่ม 608 (เช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอด โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่ำ และเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1000)

ผู้ป่วยบางรายจะได้กลับไปรักษาตัวที่บ้าน แต่บางรายอาการแย่จำเป็นต้องรักษาที่โรงพยาบาล ตามดุลพินิจของแพทย์
.
ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หอบเหนื่อยตลอดเวลา หายใจลำบาก พูดไม่เป็นประโยค ไม่รู้สึกตัว เอกซเรย์พบปอดอักเสบรุนแรง มีภาวะปอดบวม โรคประจำตัวกำเริบ ออกซิเจนลดลง วัดไข้ได้ 39 องศาเซลเซียสขึ้นไป อย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 4 ชั่วโมงใน 1 วัน

รีบไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
.
รวบรวมข้อมูลล่าสุด 28 พ.ย. 2565
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ขอบคุณ ThairathTV

ร่วมแสดงความคิดเห็น