อัพเดทสภาวะตลาดหุ้น เนื่องจาก วันที่ 26 ตุลาคม 2566 มีการเคลื่อนไหวที่รุนแรงค่อนข้างมากแต่ไม่ใช่เป็นการเคลื่อนไหวที่รุนแรงเฉพาะในประเทศไทย แต่เป็นทั้งภูมิภาคและในยุโรป
หุ้นไทยก่อนหน้านี้ปรับตัวลงมา 170 จุด ในช่วงเวลาประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมาเพราะคิดว่ามีการรีบาวด์กลับมาวันนี้ 26 ตุลาคม 66) ท้ายที่สุดก็ร่วงปรับตัวลงไปอีกประมาณสัก 30 กว่าจุดด้วยกัน ตอนนี้ก็ลงไปประมาณ 2 เดือน 200 จุดด้วยกันอยู่ที่ 1,371.2 จุด ต่ำที่สุดแล้วในรอบ 3 ปี พูดง่ายๆ ตอนที่โควิดก็ยังไม่เท่านี้มาก่อนช่วงปลายโควิดเองก็สูงกว่าแล้วก็ถือว่าค่อนข้างหนักทีเดียว ตั้งแต่ เดือน กันยายน ถึงตอนนี้ปรับลงแล้ว 194 จุด ด้วยกัน เมื่อวาน (26 ตุลาคม 66) ปรับตัวลงไป 30.48 จุด
คุณ ภานุวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์หยวนต้าซีเคียวริตี้ประเทศไทย บอกว่า จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผ่านมาเค้าลางของเศรษฐกิจซึ่งอาจจะลามมายังตลาดหุ้น ตอนนี้เริ่มต้นชัดเจนมากแล้ว โดยเฉพาะช่วงเออร์นิ่งยิว ก็คือส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนของพันธบัตรกับผลตอบแทนของตลาดหุ้น อยู่ในช่วงที่ค่อนข้างแคบ
ส่วนก่อนหน้านี้หยวนต้าเตือนให้นักลงทุนลดพอร์ตมาระยะหนึ่งแล้ว ส่วนตัวมองว่าปีหน้าจะเกิดวิกฤตแน่นอนเพียงแต่ว่ามันจะเป็นวิกฤตแบบไหน ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมามีทั้งส่วนของ อสังหาริมทรัพย์ในจีนที่ยังไม่คลี่คลาย ความเสี่ยงกับหุ้นกู้ของบริษัทในสหรัฐครบกำหนดในปีหน้า ความเสี่ยงจากผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นของธนาคารในสหรัฐฯ ซึ่งก็เกิดปัญหามาแล้วเมื่อกลางปี เช่น ซิลิคอนแวลลีย์แบงก์ (Silicon Valley Bank)’ บอกว่าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯสูงกว่าช่วงก่อนหน้านี้ และปัญหาแบงก์ต่างๆ ยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะมีคนไปถอนเงินจำนวนมาก
จากข้อมูลในอดีตจะเห็นว่าวิกฤติจะเกิดขึ้นในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยสูงเกือบทั้งนั้น สิ่งที่นักลงทุนควรทำในตอนนี้ คือ การขายหุ้นปรับลดพอร์ตในจังหวะที่ตลาดหุ้นพื้นตัวแรง โดยเฉพาะถ้ามีสัญญาณที่ตลาดฟื้นตัวได้ 30 จุด ถึง 50 จุด ตอนนี้ยังไม่เห็นสัญญาณว่าอัตราดอกเบี้ยจะเริ่มปรับตัวลง ขณะที่ธนาคารกลางสำคัญยังไม่มีท่าทีว่าจะกลับมาให้ความสำคัญกับตลาดทุน เพราะยังต่อสู้กับแนวรับแรกนั่นก็คือ อินเทเฟชั่นความเสี่ยงของตลาดจะอ่อนตัวลงไปอีก
อีกเรื่องที่ต้องระวังคือการอ่อนค่าของเงินในกลุ่มอีเมอร์ จิ้งมาร์เก็ต เมื่อเทียบกับค่าของดอลลาร์ ทำให้ประเทศที่มีหนี้สกุลเงินดอลลาร์สูงอาจจะมีปัญหาได้ แต่บ้านเราหนี้ที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศต่ำมาก เพราะส่วนใหญ่หนี้ของรัฐบาลจะเป็นการกู้ภายในประเทศ คือ เป็นหนี้สกุลเงินบาทเป็นหลักก็เลยไม่น่าจะได้รับผลกระทบอย่างหนักเท่ากับประเทศที่มีหนี้เป็นเงินสกุลดอนลาร์
ที่นี่เมื่อวานเองก็ปรับตัวลงไป 30 จุด ตัวที่ทำให้มีการขับเคลื่อนปรับตัวลงคืออะไร ก็คือ DELTR ELECTRONICS ปรับตัวลงไป หุ้น DELTR ปรับตัวลดลงไปติดลบไป 10.5% ไปปิดที่ราคาเมื่อวานนี้ 72 บาทสลึง ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ส่วนภาพรวมถือว่าตลาดอ่อนแอเพราะแรงซื้อก็หายไป
แรงกดดันจากการหุ้นไทยร่วงทำจุดต่ำสุด นักลงทุนบางส่วนก็ใช้กลยุทธ์ช๊อต อะเกนพอร์ต (Short Against Port) เป็นต้นเพราะ ที่นี่ถ้าไม่รวมผลกระทบจาก DELTR ดัชนีเซ็ทเมื่อวานนี้ก็จะติดลบประมาณ 1.4 หรือ 1.5% จากที่ติดลบทั้งหมด 2.17% พูดง่าย DELTR มีน้ำหนักค่อนข้างเยอะทีเดียว
ตลาดหุ้นอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ก็พบว่าอ่อนตัวลงทั้งหมดปรับตัวลง มีเฉพาะจีนกับไต้หวันที่มีการปรับตัวขึ้น จีน ปรับขึ้น จุด 5% ไต้หวันจุด 3% แต่ที่เหลือ คอมโพสิตตลาดหุ้นเกาหลีใต้ติดลบ 2.71% นิเคอิ 225 ลบ 2.2% ดัชนีอินโดนีเซียคอมโพสิตลบ 1.5% ดัชนีนิที่ 50 อินเดียลบ 1.39% มีเพียงแค่จีนไต้หวันและที่ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย
ส่วนตลาดหุ้นยุโรป เปิดตลาดส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนลบประมาณสักจุด 5 ถึง 1.5% ทีนี้เมื่อตลาดลงมาแบบนี้ก็ต้องถามว่าตลาดทรัพย์เขาบอกว่าเป็นอย่างไร
กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดร.ภากรปีตธวัชชัย เปิดเผยว่าตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลงแรงเมื่อวานนี้ก็สอดคล้องกับตลาดหุ้นต่างประเทศที่ปรับตัวลงแรงเหมือนกัน ปัจจัยกดดันก็คือสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส ความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายการเงินของ เฟดประเมินประเด็นเหล่านี้ยันกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนต่อไป
บ็อกเซ็ตอินเด็กซ์ ปรับตัวลงแรงกว่าตลาดหุ้นในหลายประเทศ แต่ว่าไทยยังคงเป็นทิศทางเดียวกันกับ ตลาดหุ้นสหรัฐยุโรปและภูมิภาคจากการตรวจสอบข้อมูลของทาง ตลท. เมื่อวานไม่เจอความผิดปกติในการทำธุรกรรม ช็อตเชล(Short Sell) ที่มีสัดส่วนประมาณ 11.34% กับเธดดิ้งโปรแกรมที่มีสัดส่วนประมาณ 36% ของการซื้อขายเป็นระดับที่ปกติ
สาเหตุหลักๆ มาจากปัจจัยภายนอกที่กดดันการลงทุนดัง ดังนั้นถ้าประเมินปัจจัยลบในต่างประเทศคลี่คลายโดยเฉพาะสถานการณ์สงครามตะวันออกกลางคลี่คลายลงก็พอจะมีโอกาสที่ตลาดหุ้นไทยจะฟื้นกลับมาได้ เพราะปัจจัยพื้นฐานของประเทศแล้วก็ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียนบ้านเราไม่มีปัญหาซึ่งนักลงทุนเองต้องพิจารณาข้อมูลต่างๆ ให้มีความรอบคอบด้วย
ทีนี้ไปดู Fund Flow ต่างชาติ มีการเทขายออกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีจนถึงตอนนี้ 170,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินระยะสั้นในขณะที่ช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของ เดือน พฤศจิกายน ตลาดหลักทรัพย์ ก็เตรียมจะเดินทางร่วมกันไปนายกรัฐมนตรีไปที่สิงคโปร์เพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้บรรดานักลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มเติมด้วย
ก็ถือว่าตลาดหุ้นไทยที่มีการปรับตัวลงมามีทั้งปัจจัยในประเทศด้วย ดังนั้นต้องดูสถานการณ์เกี่ยวกับเรื่องของนโยบาย 10,000 บาทความชัดเจนหลังจากนี้จะเป็นอย่างไรหรือแม้กระทั่งสถานการณ์สงครามอิสราเอลกลุ่มฮามาสก็ถือว่ายกระดับมากยิ่งขึ้น ประกอบกับตัวของบอนด์ยีลพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐไม่ว่าจะเป็นทั้งระยะสั้น 2 ปี ระยะกลาง 10 ปี และระยะยาว 30 ปี ก็ถือว่าพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันก็ยิ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ลดความน่าสนใจในการลงทุนสินทรัพย์เสี่งลงแล้วไปหาสินทรัพย์ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น บอนด์ยีลด์ หรือทองคำ ในช่วงนี้
เรียบเรียงโดย : บ่าวหัวเสือ
ร่วมแสดงความคิดเห็น