ชูโมเดลพลิกโฉมเกษตร

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฐกถา ในงานมหกรรม
แสดงสินค้าและนวัตกรรมของอุตสาหกรรมไทย ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ จ.เชียงใหม่ ถึงแนวทางพลิกโฉมเกษตรไทยด้วยแนวคิดการขับเคลื่อน
การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว เป็นโมเดลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นวาระแห่งชาติว่า
การพัฒนาประเทศช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง
แวดล้อม และความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น ขณะที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในระยะหลังเริ่มชะลอตัวลง ช่วง ปี 2560 – 2564
มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.43 ต่อปี อัตราเติบโตดังกล่าวไม่เพียงพอในการนำพาประเทศให้ก้าวข้าม กับดักรายได้ปานกลางไปสู่การเป็นประเทศที่
พัฒนาแล้ว
สำหรับภาคเกษตรไทย เกี่ยวข้องกับประชากรเกือบ 24 ล้านคน คิดเป็นพื้นที่การเกษตร 149.24 ล้านไร่ หรือพื้นที่เกือบครึ่งหนึ่งของ
ประเทศในการผลิตทางการเกษตร แต่พื้นที่ทางการเกษตรส่วนใหญ่ ใช้ในการผลิตสินค้าเกษตรเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย ข้าวโพด และปาล์มน้ำมัน
ซึ่งเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่ราคามีความผันผวนตามสภาพภูมิอากาศและอุปทานในตลาดโลก จึงส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยค่อนข้างต่ำใช้ทรัพยากรเป็นจำนวน
มาก หรือที่เรียกว่า ทำมาก แต่ได้น้อย
นอกจากนี้ ภาคเกษตรยังต้องเผชิญบริบทต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งการแพร่ระบาดของโควิด – 19 ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร การขยายตัวของความเป็นเมือง ในปีที่ผ่านมารัฐบาล ได้เห็นชอบ
ให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว เป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นวาระแห่งชาติ
” การจะพลิกโฉมเกษตรไทยด้วยแนวคิดนี้ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องวางเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาให้ชัดเจน โดยเน้นการ
ปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรของประเทศไทยสู่ 3 สูง คือ ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูง และ รายได้สูง ซึ่งประสิทธิภาพสูง คือการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมผสาน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ยกระดับผลผลิตเกษตร มาตรฐานสูง
การจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรได้ ประการแรก ต้องพัฒนาและยกระดับการผลิตเกษตรมูลค่าสูง โดยปรับโครงสร้างการผลิตจากผลิต
มากแต่สร้างรายได้น้อย ไปสู่การผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมไปสู่การผลิตสินค้าเกษตรที่มูลค่าเพิ่มสูง มีการสร้าง
ความแตกต่างให้กับสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์
ส่วนเศรษฐกิจหมุนเวียนภาคเกษตรถือเป็นแหล่งผลิตขยะธรรมชาติที่มีปริมาณมาก และก่อให้เกิดปัญหาในการทำลาย ดังนั้น ควรมีการส่งเสริม
การบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยการบริหารจัดการของเสีย ขยะจากฟาร์ม แปลงเกษตรอย่างเป็นระบบ เพื่อหยุดการเผา
ในพื้นที่เกษตรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการนำกลับมาใช้ใหม่ การใช้ซ้ำ ส่งเสริมการทำเกษตรแบบปลอดการเผา รวมทั้งการส่งเสริมการแปรรูปวัสดุ
เหลือใช้ทางการเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์หรือพลังงานเชื้อเพลิง
ในด้านเศรษฐกิจสีเขียว โดยนำแนวคิด สมดุลและยั่งยืน ซึ่งการทำการเกษตรที่ผ่านมา มีการนำทรัพยากรมาใช้อย่างฟุ่มเฟือยและใช้ประโยชน์
ไม่เต็มประสิทธิภาพ กระบวนการผลิตที่นำสารเคมีและปุ๋ยมาใช้ในปริมาณมากเกินไป ต้องส่งเสริมให้เกษตรกรใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างถูกต้อง เหมาะสม
และมีความปลอดภัย การจะร่วมกันพลิกโฉมเกษตรไทย ด้วยแนวคิดนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ร่วมกันในระดับพื้นที่ ใช้ตลาดนำการ
ผลิต รู้จักนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการเพิ่มผลิตภาพและศักยภาพการผลิต ที่สำคัญต้องร่วมกันใช้วิกฤตมาสร้างโอกาส เพื่อนำพาประเทศก้าวสู่เกษตร
อุตสาหกรรม เกษตรมูลค่าสูง และยกระดับเกษตรกรสู่อาชีพเกษตรกรรมแห่งอนาคตที่สมบูรณ์แบบ

ร่วมแสดงความคิดเห็น