ท่องเที่ยววิกฤติสุด ๆ เชียงใหม่ขอโปรแรง กระตุ้นช่วงวันหยุด ช่วงเทศกาล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการแถลงภาวะเศรษฐกิจ 3 ไตรมาสปี 2563 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2564 ของหอการค้า
จ.เชียงใหม่ นั้น ระบุว่าเศรษฐกิจเชียงใหม่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศในเกณฑ์สูง สาขาท่องเที่ยวจึงเป็นสาขาที่ฟื้นตัวช้าทำให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในฟื้นที่ตลอดทั้งปี 2563 นี้หายไปจากระบบไม่น้อยกว่า 1 แสนล้านบาท

นายวโรดม ปิฎกานนท์ ประธานกรรมการหอการค้า จ.เชียงใหม่ ยืนยันว่า ทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจเชียงใหม่
คาดหวังปัจจัยรอดจากมาตรการกระตุ้นภาครัฐที่มีประสิทธิภาพและลงลึกถึงเศรษฐกิจชุมชน ส่วนการเตรียมรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษในพื้นที่เชียงใหม่ต้องรอบคอบและมีมาตรการที่รัดกุม หากทำได้จะเป็นต้นแบบกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้อีกจังหวัด

ทั้งนี้ ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ จากการติดตามของหอการค้าฯ พบว่าการบริโภคภาคเอกชนหดตัวมาก โดยรวม
แล้วเป็นผลพวงจากมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 การลงทุนภาคเอกชนหดตัวต่อเนื่อง เช่น ด้านก่อสร้างการซื้อของลูกค้าในประเทศมีประปราย เนื่องจากขาดสภาพคล่อง

“ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอการลงทุนโครงการใหม่ ๆ ขณะที่มาตรการเยียวยาภาครัฐช่วยพยุงการบริโภค
เพียงบางส่วน การใช้จ่ายสินค้าลดลงทุกหมวดสินค้าโดยเฉพาะบริการสินค้าในชีวิตประจำวัน และหมวดยานยนต์หาดตัวมาก ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2564 อยู่กับมาตรการและนโยบายกระตุ้นของภาครัฐเป็นเรื่องหลัก”

ด้านผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ที่พัก ในเชียงใหม่ กล่าวว่า สภาพที่เกิดขึ้นในเมืองท่องเที่ยว เป็นเหมือนกันหมดทั่ว
โลก การจะเปิดตลาดลูกค้าต่างชาติ เป็นเรื่องที่หลาย ๆ ฝ่ายกังวล อยากให้เน้นตลาดในประเทศมากกว่า แต่โดยรูปแบบของเชียงใหม่กำลังซื้อกล่มต่างชาติจะมีมากกว่า

“การกระตุ้นกิจกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่ ให้นักท่องเที่ยวคนไทยเข้ามา รวมถึงการศึกษา ดูงาน อบรม สัมมนา จัดโปร
แบบหนัก ๆ อาจจะช่วยต่อลมหายใจกลุ่มที่พัก โรงแรม ให้มีความหวังบ้าง ชลอการเซ้ง ขายกิจการ ซึ่งภาคการท่องเที่ยวถือว่าวิกฤติสุดกระทบทั้งกลุ่มบริการ, ร้านขายของที่ระลึก, รถเช่า, ไกด์นำเที่ยว, สถานที่ท่องเที่ยวที่ปรับปรุงรับตลาดท่องเที่ยวเชียงใหม่ช่วงคึกคัก เมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้ย่ำแย่ หายไปทีละราย ๆ”

 

 

อย่างไรก็ตามโครงการคนละครึ่ง ซึ่งเสนอโดยกระทรวงการคลัง มีกิจการร้านค้าลงทะเบียน รวม 210,010 ร้าน ที่
ลงทะเบียนสำเร็จ 152,795 ร้าน ที่รอตรวจสอบ 56,465 ร้าน และกิจการไม่เข้าข่ายเงื่อนไขโครงการ 750 ร้าน ในรายจังหวัดนั้นพบว่า อยู่ในเชียงใหม่ 7,105 ร้าน ส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารและในการประชุม ครม. เมื่อ 12 ต.ค. ที่ผ่านมา มีการรายงานความคืบหน้าโครงการเราเที่ยวด้วยกัน มีผู้ลงทะเบียน 5.27 ล้านคน และใช้สิทธิแล้ว 1,406,808 คืน มีสัดส่วนจากรัฐสนับสนุน 1,537.2 ล้านบาท มูลค่ายอดใช้จ่ายตั๋วเครื่องบินใช้สิทธิแล้ว 51,753 สิทธิ รัฐสนับสนุน 43.9 ล้านบาท

 

“สำหรับมูลค่ายอดใช้จ่ายภายใต้โครงการนี้รวม 5,096.5 ล้านบาท แบ่งเป็น มูลค่าโรงแรมที่พัก 4,049.7 ล้าน
บาท และสายการบิน 130 ล้านบาท เป็นรายได้จากนักท่องเที่ยว 3,169.7 ล้านบาท และจากรัฐบาล 1,926.8 ล้านบาท โครงการกำลังใจ มีบริษัทนำเที่ยวเข้าร่วม 3,959 บริษัท นักท่องเที่ยวเข้าร่วม 379,771 คน และมีสัดส่วนรัฐ
สนับสนุน 759,542,000 บาท”

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ขอความร่วมมือ ให้ทุกหน่วยงานรวมถึงภาคเอกชน อาทิ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภา
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวช่วยกันรณรงค์ประชาสัมพันธ์มาตรการเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับภาคประชาชนมากขึ้น ปรับปรุงมาตรการ “เราเที่ยวด้วยกันและมาตรการกำลังใจ” ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอ อาทิ ให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการเราเที่ยวด้วยกันสามารถใช้บริการโรงแรมที่พัก และใช้ อี วอยเช่อร์ บัตรกำนัลสำหรับค่าสนับสนุนอาหาร ค่าเข้าชมแหล่งท่องเที่ยว ค่าสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านได้ ขยายระยะ
เวลาดำเนินโครงการ ไปจนถึง 31 มกราคม 2564

“ในขณะที่ภาคเอกชน ใน จ.เชียงใหม่ ระบุว่า คาดหวัง กิจกรรม โครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวจังหวัด ในช่วง ตุลาคม ถึง ธันวาคม นี้ ด้วยรูปแบบที่ดึงดูดใจกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย ฉีกกรอบแนวเดิม ๆ งานยี่เป็ง ลอยกระทง, เทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ มีกิจกรรมที่แปลกใหม่ อีกทั้งแหล่งท่องเที่ยว ก็ควรกระจาย ไม่กระจุกตัว เนื่องแน่นด้วยผู้คนเฉพาะเทศกาล ไม่ว่าจะที่แม่กำปอง, ม่อนแจ่ม หรือที่อื่น ๆ จนมีปัญหารถติด เสียบรรยากาศ แชร์ภาพ แบ่งปันข้อมูล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมภาคท่องเที่ยวเชียงใหม่ได้ ซึ่งปรากฎการร์แห่ตามกันไป หลาย ๆ สถานที่ผ่านสื่อสังคม สร้างพลังชวนติดตามไปเที่ยวได้อย่างดี เช่น หาดบางแสน ในวันนี้ ที่คลาคล่ำด้วยนักท่องเที่ยวช่วงเสาร์ อาทิตย์”

ร่วมแสดงความคิดเห็น