โรงเรียนเทศบาลดอนแก้วจัดกิจกรรมบรรเลงเพลงในนาข้าว หุ่นไล่กาต้านโควิด 19

เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 28 ตุลาคม 2563 ที่บริเวณแปลงนาสาธิต โรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้ว ต.แม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก นางวาสนา เบ้านี รองผู้อำนวย และ รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้วโรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้วจัดกิจกรรมบรรเลงเพลงในนาข้าว หุ่นไล่กาต้านโควิด 19 ภายใต้โครงการ ส่งเสริมเอกลักษณ์ของสถานศึกษา “ ฮาร์โมนิการ์ นาอิททรีย์ “ โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 -3 เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งภายในกิจกรรมทางโรงเรียนฯ ให้นักเรียนได้ช่วยกันออกแบบหุ่นไล่กาที่มีการรณรงค์การป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19 ) โดยตัวหุ่นจะสวมหน้ากากอนามัยเป็นเชิงสัญญาลักษณ์ให้ทุกคนตระหนักถึงการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 ) จากนั้นนักเรียนนำหุ่นไล่กาลงปักในแปลงนาประกอบการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์จากวงเมาท์ออแกนของโรงเรียนในแปลงนาให้ต้นข้าวฟังไปพร้อมๆกัน สร้างบรรยากาศให้นักเรียน และต้นข้าวให้มีความสุข

นางวาสนา กล่าวว่า โรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้วจัดกิจกรรมตามหลักสูตรเพิ่มเติมของสถานศึกษาประกอบด้วยหลักสูตรนาอินทรีย์และเมาท์ออนแกน ที่ดำเนินการมาแล้วจนถึงปีที่ 16 ซึ่งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 -3 ได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Aentive Lentting เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง 2 หลักสูตรเป็นหลักสูตรที่นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและชุมชนในเขตบริการของโรงเรียนต้องการให้มีการจัดการเรียนการสอน ในตัวหลักสูตรมีความยืดหยุ่นให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันแต่ยังคงเอกลักษณ์แบบตั้งเดิมอยู่และหลักสูตรนาอินทรีย์ยังคงใช้วิธีการทำนาแบบดั่งเดิมไม่ใช้สารเคมีในกระบวนการทำนาทุกขั้นตอนเพราะได้ส่งผลผลิตไปตรวจหาสารเคมีตกค้างกับหน่วยงานทางการศึกษาที่มีเครื่องมือเฉพาะทางแล้วไม่พบสารเคมีทุกชนิดส่วนหลักสูตรเมาท์ออแกนยังคงบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์เป็นหลักเพื่อน้อมลำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระปรีชาสามารถด้านการดนตรีของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงนิพนธ์ไว้ให้กับปวงชนชาวไทย

นางวาสนา กล่าวอีกว่า เนื่องด้วยปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19 ) ประกอบกับทางโรงเรียนอยู่ใกล้ชายแดน-เมียนมา ซึ่งมีการแพร่ระบาดทำให้ต้องเฝ้าระวังและจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวด้วย ประกอบกับต้นฤดูฝนมีปริมาณน้ำฝนน้อยเป็นอุปสรรค์ในการดำนา ทำให้ต้นข้าวเกิดภาวะเครียดตั้งทองออกรวงช้า ประกอบกับมีนกจำนวนมากที่คอยจิกกินข้าวเมื่อนักเรียนทราบข่าวจึงค้นหาวิธีการจะป้องกันและได้วิธีการไม่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นคือการทำ “หุ่นไล่กา”ในสถานการณ์โควิด-19 กับการลดภาวะความเครียดของต้นข้าวโดยการบรรเลงเพลงให้ต้นข้าวฟัง

ร่วมแสดงความคิดเห็น