(มีคลิป) เดินหน้าอนุรักษ์พัฒนา กำแพงเมืองฯน่าน

น่าน เดินหน้าขับเคลื่อน การบริหารจัดการ อนุรักษ์พัฒนา กำแพงเมือง-คูเมืองน่าน ให้ถูกต้อง

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พร้อมด้วย วัฒนธรรมจังหวัดน่าน โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดน่าน ผู้แทนธนารักษ์จังหวัดน่าน ผู้แทนเทศบาลเมืองน่าน ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณกำแพงเมืองเก่าน่านเพื่อนำข้อมูลเข้าที่ประชุมหารือในการปรับปรุงภูมิทัศน์ต่อคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่านต่อไป ณ บริเวณกำแพงเมืองเก่าน่านข้างบริษัทอีซุซุ และกำแพงเมืองเก่าบริเวณวัดพญาวัด ในการบริหารจัดการที่ดินกำแพงเมือง-คูเมืองน่าน ปรับปรุง ฟื้นฟู สภาพแสดล้อมด้านต่างๆ ให้คุณค่าความเป็นกำแพงเมือง-คูเมืองให้คงสภาพแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์ และยังคงไว้ในอัตลักษณ์ของเมืองเก่าน่าน


สำหรับกำแพงเมืองน่าน จากหลักฐานและร่องรอบที่ยังเหลือปรากฏ สันนิษฐานว่า ได้ก่อสร้างกำแพงเมืองน่าน ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามประวัติศาสตร์เมืองน่านเริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของพญาภูคา เจ้าเมืองย่าง ศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่าง ใกล้เทือกเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอยชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน กำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ต่อมาพญาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คน ไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่น ผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองหลวงพระบาง) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำของ (แม่น้ำโขง) และขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนคร(เมืองปัว) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ การที่ให้ชื่อว่าเมือง “วรนคร” ก็เนื่องมาจาก พญาภูคา ได้เลือกชัยภูมิที่ดี เหมาะสมในการสร้างเมือง เสร็จแล้ว จึงขนานนามว่าเมือง “วรนคร” ซึ่งหมายถึง เมืองดี นับว่าเป็นการเริ่มต้นราชวงศ์ภูคา เมืองน่าน ขึ้นกับกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าผู้ครองนครเมืองน่านในชั้นหลังทุกพระองค์ ต่างปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเที่ยงธรรม มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี

ด้าน นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวว่า การลงพื้นที่บริเวณกำแพงเมืองน่านเก่า เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่ สำรวจข้อมูลความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่บริเวณแนวกำแพงเมืองเก่า และคูเมือง พร้อมสำรวจการถือครองพื้นที่เอกสารสิทธิ์ เป็นโฉนดที่ดินหรือไม่ หรือพื้นที่เช่าของธนารักษ์ เป็นพื้นที่ที่มีการบุกรุกหรือไม่ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมากำหนดแนวทางในการพัฒนาพื้นที่เมืองเก่า เขตกำแพงเมืองน่านต่อไป ทั้งนี้เป้าหมายหลักนั้น เพื่อพัฒนาบริเวณเขตกำแพงเมือง และคูเมืองน่าน ให้มีความสวยงาม พื้นที่บางส่วนอาจสามารถดำเนินการได้ในเวลาอันสั้น แต่พื้นที่อีกบางส่วนต้องใช้เวลาในการดำเนินการ

ร่วมแสดงความคิดเห็น