การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวชาติพันธุ์กำลังได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังจากภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือของไทย (ล้านนา) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชน และสร้างรายได้ที่ยั่งยืนผ่านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
การสร้างรายได้และยกระดับภาพลักษณ์นั้นคือการส่งเสริมกิจกรรมเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างรายได้ให้กับชุมชน แต่ยังช่วยยกระดับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล
เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายอิทธิรัฐ สินารักษ์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำผู้ประกอบการและสื่อมวลชนจังหวัดเชียงใหม่เดินทางสำรวจแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ของชุมชนชาติพันธุ์ ในจังหวัดเชียงใหม่และจ.แม่ฮ่องสอน โดยน.ส วริชญา ชะอุ่ม ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ให้ข้อมูลและพูดคุยแลกเปลี่ยนแหล่งท่องเที่ยวของทั้ง 2 จังหวัด
ทั้งนี้ สะพานชูตองเป้ ถือเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งที่สำคัญกับประชาชนและชาวแม่ฮ่องสอนเนื่องจาก สะพานซูตองเป้เป็นแหล่งกำหนดจากแรงกายแรงใจของทั้งพระภิกษุ สามเณร ชาวบ้านกุงไม้สัก และคณะศรัทธาต่างๆ ที่ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อให้พระภิกษุสามเณรจากสวนธรรมภูสมะ และชาวบ้านในบริเวณนั้น ได้สัญจรไปมาสะดวกขึ้น ระหว่างหมู่บ้านกุงไม้สัก และ สวนธรรมภูสมะ ซึ่งเป็นสถานปฏิบัติธรรมที่ไม่ได้ใหญ่โตโอ่อ่า แต่เต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งความศรัทธา และทำให้เกิดศรัทธาในคำอธิฐานขอให้สร้างสะพานนี้ได้สำเร็จตามคำอธิฐานของทุกคน เพราะฉะนั้นสะพานชูตองเป้ จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มาจากศรัทธาแรงกล้า
นอกจากนี้ “บ้านรักไทย” ก็เป็นแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมจีนยูนาน ซึ่งประกอบด้วย 5 ชาติพันธุ์ อาทิจีนยูนาน ไทใหญ่ ลังวะ กะเหรี่ยง และปะโอ โดยหมู่บ้านมีทั้งหมด 327 ครัวเรือน ประชาชนโดยเฉลี่ย 1,500 คน ที่นี่รองรับนักท่องเที่ยวได้ถึง 5,000 คน กิจกรรมหลักๆ ก็คือมาพักผ่อน กินแบบชิวล์ๆ ถ่ายรูป ล่องเรือชมความงามโดยรอบๆ ทะเลสาบ รายได้ชุมชนนั้นเกิดจากการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ซื้อสินค้าที่ชุมชนผลิตและจำหน่าย ช่วงไฮซีชั่นของทุกๆ ปี ถือว่าเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวเยอะที่สุด และฤดูกาลอื่นๆ นักท่องเที่ยวก็จะลดน้อยบ้าง
และมารู้จัก เสน่ห์ธรรมชาติ “ บ้านแพมบก ” เป็นหมู่บ้าน ไทใหญ่ และมีกิจกรรมท้องถิ่นที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ในสภาพแวดล้อมที่งดงาม “บ้านแพมบก” ตั้งอยู่ ใจกลางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านในหมู่บ้านแพมบกยังคงรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม โดยมุ่งเน้นการทำเกษตรแบบผสม ผสาน เช่น การปลูกพืชผักสวนครัวและการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หมู่บ้านแพมบกเริ่มได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสกับ วิถีชีวิตของชาวบ้านและธรรรมชาติที่สวยงาม ทั้งน้ำตกและทุ่งนา ทำให้ชุมชนมีการพัฒนาปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว โดยยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของ วัฒนรรรมและวิถีชีวิตดั้งเดิมไว้
อย่างไรก็ตาม ทกจ.ชม.เชื่อมั่นว่าการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาติพันธุ์เหล่านี้ของทั้ง 2 จังหวัดจะก่อให้เกิดนักท่องเที่ยวเดินทางหมุนเวียนแบบไม่ขาดสาย ทำให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วิถีชีวิตและแหล่งท่องเที่ยวของชาติพันธุ์ที่งดงามแพร่หลายมากยิ่งขึ้น










ร่วมแสดงความคิดเห็น