53

“ลัดดาแลนด์” ตำนานเรื่องเล่าผีเชียงใหม่ ที่ไม่มีใครไม่รู้จัก

เชื่อว่าชาวจังหวัดเชียงใหม่คงไม่มีใครไม่รู้จัก “ลัดดาแลนด์” ที่เป็นที่เลื่องลือเรื่องความเฮี้ยนของที่แห่งนี้ 50 ปีแห่งความเฮี้ยน ได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ ยิ่งทำให้ลัดดาแลนด์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ความเฮี้ยนจากระดับท้องถิ่นสู่ความเฮี้ยนระดับประเทศ วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” ขอนำจุดกำเนิดความเฮี้ยนของสถานที่อันโด่งดังแห่งนี้มาให้ได้อ่าน และนึกถึงอีกครั้ง สถานที่แห่งนี้ในอดีตถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงปี 2520 แต่เหตุการณ์การฆาตกรรมในบ้านหลังหนึ่ง เป็นจุดเริ่มต้นของความสยองพองเกล้า จนนำไปสู่จุดจบของหมู่บ้านลัดดาแลนด์ และเป็นตำนานผีที่ว่ากันว่าน่ากลัวที่สุดแห่งหนึ่ง ลัดดาแลนด์ เป็นสวนพฤกษศาสตร์ ผสมผสานกับลานแสดงศิลปวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ในราวปี พ.ศ.2512 เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วย สวนสนุก การแสดงมหรสพต่างๆ ตั้งอยู่ริมถนนเลียบคลองชลประทาน ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเจ้าของคือ “พลตรีประดิษฐ์ พันธาภา” นายทหารผู้เป็นเจ้าของกิจการ “โรงหนังเวียงพิงค์” และ “นางลัดดา พันธาภา” นักธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พื้นที่ผืนนี้ได้พัฒนาเป็น “อุทยานการท่องเที่ยวขนาดใหญ่” มีการจัดศูนย์แสดงสาธิตศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งพิพิธภัณฑ์ชาวเขา การทำเครื่องเขิน การแกะสลักไม้ การทอผ้าไหม การแสดงฟ้อนรำต่างๆ มีการให้บริการ ช้าง ม้า และรถไฟเล็กให้นั่ง มีค่าบริการประมาณ 8 – 10 บาท เป็นที่ถูกอกถูกใจของเด็กๆ และครอบครัวอย่างมาก เล่ากันว่า วัยรุ่นสมัยนั้นจะไปออกเดทกัน เพราะมีความเชื่อว่าคู่ไหนไปอธิฐานขอโชคเรื่องความรักกับต้นไทรหน้าลัดดาแลนด์แล้ว คู่นั้นจะได้รักกันไปตลอดชีวิต แต่แล้วเมื่อครอบครัวหนึ่งถูกโจรปล้น และฆ่ายกครัว ทำให้บ้านใกล้เรือนเคียงต้องพบกับเรื่องแปลกๆ […]

สายธารศรัทธา ฟื้นวัดป่าแดง อ.เชียงดาว วัดร้าง 600 ปี คืนมรดกล้านนาสู่ความทรงจำของสังคม

4 พ.ย. 2566 – วัดป่าแดง หมู่ที่ 6 ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ จัดทอดกฐินสามัคคี เพื่อสร้างกุฏิสงฆ์ และงานสาธารณะประโยชน์ภายในวัดป่าแดง โดยมีคุณศุภมิตร กิจจาพิพัฒน์ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว จ.เชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี ร่วมกับคุณธนกิจ พานิชชีวะ ผู้จัดการใหญ่โครงการไอคอน ปาร์ค และไอคอนไอทีเชียงใหม่ โดยบริษัทอัครพร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เป็นประธานอุปถัมภ์  วัดป่าแดง อ.เชียงดาว ถือว่าเป็นวัดร้างเก่าแก่อายุกว่า 600 ปี ที่ร่วมประวัติศาสตร์กับล้านนามาตั้งแต่ยุคพญามังรายสร้างบ้านแปลนเมือง และวัดป่าแดงถือเป็นตัวแทนนิกายพระสงฆ์ล้านนาที่จะมี 2 คณะ คือ คณะสวนดอกที่นิยมสร้าง พระอารามในสวนดอกไม้ มีวัดสวนดอกเป็นหัวคณะใหญ่ละคณะปายป่า มีวัดป่าแดงเชิงดอยสุเทพเป็นหัวหน้าคณะใหญ่ ยาวมาถึงยุคพระพญาแก้ว ที่ท่านทรงนำนิกายปายป่า ผ่านการสร้างวัดป่าแดง ตามหัวเมืองโบราณของล้านนาและหนึ่งในหัวเมืองโบราณหลายแห่ง ก็คือ ‘เวียงเชียงดาวปัจจุบัน’  จุดเริ่มต้นครั้งสำคัญในปี พ.ศ. 2550 มีการสร้างพระเจดีย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสร้างศาลาอเนกประสงค์ ที่เราเห็นในปัจจุบัน ในปัจจุบันวัดป่าแดงมีพื้นที่ 10 […]

พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ขัติยนารีของเมืองเชียงใหม่

ถ้าหากย้อนถึงอดีตของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระองค์ทรงเป็นพระธิดาองค์ที่ 11 ของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 กับแม่เจ้าทิพเกษร ทรงประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 10 (เหนือ) ขึ้น 4 ค่ำปีระกา ในเวลา 03.00 น.ตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2416 ที่คุ้มหลวงเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศาลากลางหลังเก่าและหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ เมื่อทรงพระเยาว์ได้ศึกษาอักษรไทยเหนือและไทยกลาง ทรงมีความสนใจและเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณีของล้านนาเป็นอย่างดี ปี พ.ศ.2429 ได้เสด็จตามพระบิดาลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพแล้วเลยอยู่รับราชการฉลองพระเดชพระคุณฝ่ายในเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อทรงประสูติพระราชธิดาแล้วทรงโปรดเกล้าฯให้เลื่อนฐานะศักดิ์เป็นพระสนมเอก กระทั่งปลายปี พ.ศ.2451 หลังจากที่เสด็จกลับมาเยี่ยมนครเชียงใหม่เป็นครั้งแรกด้วยเรือหางแมงป่อง ประทับอยู่ไม่นานจึงเสด็จกลับกรุงเทพฯจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็นพระราชชายา ในระหว่างที่ทรงรับราชการในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งรวมเป็นระยะเวลานานถึง 28 ปีนั้น พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้ทรงดำรงพระองค์อย่างเหมาะสม พระองค์ทรงยึดมั่นในการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของล้านนาเอาไว้ โดยโปรดให้ข้าหลวงในวังนุ่งซิ่นไว้ผมมวย แต่งกายแบบชาวเชียงใหม่ พูดภาษาคำเมืองและกินเมี่ยง ขณะเดียวกันก็ทรงเรียนดนตรีไทยภาคกลาง จนกระทั่งพระองค์ทรงดนตรีได้หลายอย่าง นอกจากนั้นยังทรงสนับสนุนให้พระญาติและข้าหลวงเรียนและฝึกเล่นดนตรีไทยภาคกลางจนสามารถตั้งวงเครื่องสายได้ พระราชชายาเจ้าดารารัศมียังทรงสนพระทัยในเรื่องการถ่ายรูป ซึ่งสมัยนั้นเป็นของใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในประเทศไทย พระญาติของท่านคนหนึ่งที่อยู่ร่วมพระตำหนักได้ชื่อว่าเป็นช่างภาพผู้หญิงคนแรกของไทยรับงานถ่ายรูปของราชสำนัก การที่พระองค์ทรงมีพระจริยาวัตรงดงามตลอดเวลาที่ทรงประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง จึงทำให้ทรงได้รับการโปรดเกล้าฯพระราชทานตราปฐมจุลจอมเกล้าสำหรับฝ่ายในแก่พระราชชายาเป็นรุ่นแรกพร้อมกับพระภรรยาเจ้าและพระราชธิดา ซึ่งมีเพียง 15 […]

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) วัดงาม 700 ปีแห่งเขตอรัญญิก เมืองเชียงใหม่

วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ตั้งอยู่เชิงดอยสุเทพ วัดอุโมงค์เป็นวัดที่สำคัญอีกแห่งของเชียงใหม่ เป็นวัดที่ร่มรื่นและมีขนาดกว้างขวาง ลักษณะการออกแบบเป็นไปตามแบบพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ เดิมสร้างขึ้นในสมัยพญามังรายบริเวณ ป่าไผ่ 11 กอ ต่อมาในสมัยพญากือนา โปรดให้สร้างอุโมงค์ขึ้นในบริเวณวัด วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะพามาเดินลอดอุโมงค์ใต้พระเจดีย์ สัมผัสศิลปะพุทธแบบลังกาวงศ์ที่ “วัดอุโมงค์” ประวัติของวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ในสมัยพระเจ้ามังรายมหาราช ทรงทำนุบำรุงพระศาสนาาเป็นการส่วนพระองค์ พระองค์ได้ทรงทราบว่า พระเจ้ารามคำแหงมหาราช พระสหายผู้ครองนครสุโขทัย ได้ส่งคนไปนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองลังกา จึงประสงค์จะได้พระลังกามาเป็นหลักพระพุทธศาสนาในเมืองเชียงใหม่บ้าง และได้สร้างวัดฝ่ายอรัญวาสีเฉพาะพระลังกา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการนำพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์มาประดิษฐานในลานนาไทยเป็นครั้งแรก โดยยึดเอาแบบอย่างการสร้างวัดของเมืองลังกาเป็นแบบฉบับ โดยแบ่งออกเป็นเขตพุทธาวาส และสังฆาวาส ทรงขนานนามว่า วัดเวฬุกัฏฐาราม (วัดไผ่ 11 กอ) ในที่สุดได้กลายเป็นวัดที่พระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนศรัทธาเลื่อมใสเป็นอันมาก เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว และตั้งหลักได้มั่นคงในลานนาไทยเป็นครั้งแรกในสมัยของพระองค์ ต่อมาเมื่อพระเจ้ามังรายสวรรคต ศาสนาพุทธขาดการทำนุบำรุง เพราะมัวแต่ทำศึกสงครามกันเองในเชื้อพระวงศ์ในการแย่งชิงราชสมบัติ จนมาถึงสมัยสมัยพระเจ้ากือนาธรรมาธิราช ศาสนาพุทธก็ได้รับการฟื้นฟู ทรงมีความเลื่อมใสในพระมหาเถระจันทร์ พระเจ้ากือนาจึงสั่งให้คนบูรณะวัดเวฬุกัฏฐาราม เพื่ออาราธนาพระมหาเถระจันทร์จำพรรษาทีวัดแห่งนี้ และตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดอุโมงค์เถรจันทร์” ตามชื่อของพระมหาเถระจันทร์ มีการซ่อมแซมเจดีย์โดยการพอกปูน สร้างอุโมงค์ไว้ทางทิศเหนือจากเจดีย์ ในอุโมงค์มีทางเดิน 4 ช่องซึ่งเชื่อมต่อกันได้ ลัทธิลังกาวงศ์ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองมาครั้งหนึ่งสมัยพระเจ้ามังรายมหาราช และได้เสื่อมทรามไปเกือบ 70 […]

18 มิ.ย. 2507 วันเปิดเรียนวันแรกของ มช.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ตามโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค พ.ศ.2501 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งอยู่ ณ ดินแดนล้านนา อันเป็นแหล่งสะสมวัฒนธรรมอันล้ำค่ามานานกว่า 700 ปี มีสภาพภูมิประเทศงดงามท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันเป็นธรรมชาติ บริเวณเชิงดอยสุเทพ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นับตั้งแต่มีการเรียกร้องให้ขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาออกสู่ภูมิภาค โดยขอให้รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 ในที่สุดการเรียกร้องก็สัมฤทธิ์ผลก่อให้เกิดความภูมิใจและดีใจเป็นอย่างยิ่งแก่ชาวล้านนา วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้น โดยกำหนดให้เปิดสอนในปีการศึกษา 2507 และให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการเตรียมการจัดตั้ง วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2507 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 81 ตอนที่ 7 ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2507 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป วันที่ […]

เปิดประวัติ “ครูบาบุญชุ่ม” เกจิดัง สู่ศรัทธาแห่งล้านนา

ครูบาบุญชุ่ม เกิดเมื่อวันอังคารที่ 5 ม.ค. 2508 เวลา 09.00 น. ที่หมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนโตของนายคำหล้าและนางแสงหล้า ทาแกง แม้ครอบครัวจะยากจนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่โยมมารดาก็ปลูกฝังท่านให้ทำบุญ สวดมนต์ ทำสมาธิอยู่เสมอ ทำให้ท่านสนใจออกบวช หลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2519 ขณะอายุได้ 11 ปี ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี 2526 ต่อมาได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2529 เวลา 9.19 น. ณ อุโบสถวัดพระเจ้าเก้าตื้อ (ปัจจุบันรวมกับวัดสวนดอก (จังหวัดเชียงใหม่)) โดยมีพระราชพรหมาจารย์ (ดวงคำ ธมฺมทินฺโน) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเวฬุวันพิทักษ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระครูศรีปริยัตินุรักษ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ระหว่างบรรพชามีหลวงพ่อธุดงค์องค์หนึ่งอยู่อำเภอจุน จ.พะเยา ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมามอบให้พระครูบาเจ้าฯ เมื่อท่านได้รับพระบรมสารีริกธาตุมาแล้ว ได้น้อมจิตพิจารณาว่า กระดูกของสัตว์โลกทั้งหลายนั้น นับตั้งแต่เวียนว่าย […]

ตำนานผ้าพระบฏ 100 ปี ในพิธีเลี้ยงดงผี “ปู่แสะ-ย่าแสะ”

เปิดตำนานผ้าพระบฏ 100 ปี ในพิธีเลี้ยงดงผี “ปู่แสะ-ย่าแสะ” ประเพณีเลี้ยงดงผีปู่แสะย่าแสะ ถือเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่มีการสืบทอดมาหลาย 100 ปี โดยจะจัดขึ้นทุกวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี ณ ผืนป่าเชิงดอยคำ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยนอกเหนือจากการเซ่นไหว้ผีปู่แสะย่าแสะแล้ว พิธีแห่ผ้าพระบฏถือเป็นอีกไฮไลท์สำคัญของประเพณีนี้ ย้อนกลับไปในอดีตในสมัยพุทธกาล ณ ที่แห่งนี้มีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับปู่แสะย่าแสะ ยักษ์ที่คอยจับมนุษย์กินทุกวัน จนสร้างความเดือดร้อนให้ชาวลัวะ ชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยในระมิงค์นคร เมืองโบราณที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำปิงกับดอยสุเทพ ต้องพากันหนีตายออกนอกเมือง เมื่อพระพุทธเจ้าได้รับรู้ถึงความเดือดร้อนของชาวลัวะ จึงได้เสด็จมาโปรดปู่แสะย่าแสะ เพื่อแสดงธรรมและอภินิหารจนยักษ์ทั้งคู่ต่างเลื่อมใส พร้อมหันมาถือศีล 5 แต่ด้วยความที่ยักษ์ต้องกินเนื้อสัตว์เพื่อประทังชีวิต จึงได้ขอพระพุทธเจ้ากินเนื้อควายสดปีละครั้ง แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสใดๆกลับมา ปู่แสะย่าแสะจึงได้ไปขอเจ้าเมืองลัวะแทน พร้อมทำหน้าที่เป็นผู้ปกปักรักษาดอยสุเทพ และดอยคำ พร้อมอำนวยฝนฟ้าให้ตกตามฤดูกาล ดังนั้นแล้ว เมื่อถึงคราวจัดพิธีเลี้ยงดงขึ้น จะมีการแห่ผ้าพระบฏโบราณ อายุเก่าแก่ 100 กว่าปีจากวัดป่าจี้ นำมาผูกห้อยต้นไม้ในบริเวณพิธี โดยผืนผ้าที่วาดเป็นรูปของพระพุทธเจ้าปางห้ามญาติ ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2469 เมื่อถูกลมพัดแกว่งไปมา เปรียบเสมือนภาพแทนของพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาโปรดมนุษย์ […]

ประเพณีเลี้ยงดงปู่-ย่าแสะ ประเพณีเลี้ยงผีเมืองเชียงใหม่

วันที่ 2 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานการเลี้ยงดง ที่บริเวณเชิงวัดพระธาตุดอยคำ (ศาลปู่แสะ – ย่าแสะ) และลานพิธีเลี้ยงดง ช่วงเช้า เริ่มเวลา 07.00 น.ผู้ร่วมพิธีพร้อมกันที่บริเวณเชิงวัดพระธาตุดอยคำ (ศาลปู่แสะย่าแสะ) เพื่ออัญเชิญดวงวิญญาณปู่แสะย่าแสะ มีการฟ้อนบวงสรวงดวงวิญญาณ โดยชมรมช่างฟ้อน จำนวน 1 เพลง จากนั้นขบวนอัญเชิญพระบฎจากวัดป่าชี เดินทางถึงศาลปู่แสะย่าแสะ ที่ศาลปู่แสะย่าแสะ มีเจ้าภาคินัย ณ เชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือ พร้อม นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกอบจ.เชียงใหม่ พร้อม นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายก ทม.แม่เหียะ นำจุดธูปเทียนและถวายเครื่องบวงสรวง พร้อมเจ้านายฝ่ายเหนือ ข้าราชการประชาชน นักเรียน นักศึกษา และนักท่องเที่ยว เดินทางมาร่วมพิธีจำนวนมาก จากนั้น พ่อหนานอุทัย กาวิโล กล่าวบทสวดอัญเชิญดวงวิญญาณปู่แสะย่าแสะ ให้เป็นไปตามประเพณีที่สืบทอดกันมานานหลายร้อยปี ช่วงสายๆของวันเดียวกัน หลังจากพิธีที่เชิงดอยวัดพระธาตุดอยคำ ประกอบพิธีเสร็จสิ้น ได้เคลื่อนขบวนแห่พระบฎถึงลานเลี้ยงดง มีการฟ้อนถวายพระบฎ จากชมรมช่างฟ้อน […]

ดอกลมแล้งบานสะพรั่ง สวยงามทั่วเมืองเชียงใหม่

ดอกลมแล้งบานสะพรั่ง สวยงามทั่วเมืองเชียงใหม่ รับสภาพอากาศร้อนจัด ออกช่อเหลืองอร่าม อวดสายตาประชาชน-นักท่องเที่ยว สภาพอากาศที่ร้อนจัดในระยะนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ส่งผลทำให้ต้นราชพฤกษ์ หรือต้นลมแล้ง ออกดอกอวดช่อสีเหลืองอร่ามสวยงาม จนปกคลุมเต็มต้นตามจุดต่างๆ ในพื้นที่ โดยเฉพาะตามบริเวณรอบคูเมืองเชียง ใหม่ ที่ในขณะนี้พบว่าดอกทองรกต้นลมแล้งนั้น ได้เบ่งบานจนถนนบางสายที่มีต้นไม้ชนิดนี้ปลูกอยู่กลายเป็นถนนสายสีเหลือง จากการที่ช่อดอกเบ่งบานและโบกสะบัดรับลมร้อน ทำให้กลีบดอกที่ผลิบานเต็มที่ร่วงหล่นลงมาจนเต็มพื้นต้น และถูกลมพัดปลิวไปตามพื้นต้น ด้วยกลีบดอกที่เป็นสีเหลืองเด่นชัด จึงทำให้โดยรอบนั้นกลายเป็นสีเหลืองอร่ามสวยงาม ขณะที่บริเวณคูเมืองเชียงใหม่ พบว่ามีหลายจุดที่มีต้นราชพฤกษ์ หรือต้นลมแล้งปลูกอยู่จำนวนมาก ที่ตอนนี้ต่างพากันผลิบานอย่างเต็มที่ จากสภาพอากาศที่ร้อนจัด เนื่องจากยิ่งมีสภาพอากาศร้อน ดอกไม้จากต้นก็จะยิ่งผลิดอกเบ่งบานมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้บริเวณจุดที่มีต้นลมแล้งนั้น สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน จากการที่ทั้งต้นในขณะนี้กลายเป็นสีเหลืองอร่าม นอกจากนี้ ดอกไม้ที่เบ่งบานยังอวดสายตาประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ได้เห็น แวะเวียนมาถ่ายภาพความสวยงามของดอกไม้ชนิดนี้อีกด้วย สำหรับดอกลมแล้งเป็นดอกไม้ที่จะบานสะพรั่ง ในช่วงเดือนเมษายน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือ “ปี๋ใหม่เมือง” ที่หลายๆ คนเมื่อเห็นดอกไม้ชนิดนี้เบ่งบาน ก็จะคิดถึงช่วงของเทศกาลดังกล่าว ที่ถือเป็นดอกไม้เอกลักษณ์ประจำฤดูกาลด้วย โดยจุดเด่นของดอกลมแล้ง จะมีสีเหลืองสดใส สวยงามทั้งลำต้น โดย “ดอกลมแล้ง” เป็นชื่อเรียกท้องถิ่นล้านนา หรือภาคเหนือ ซึ่งก็คือ “ดอกราชพฤกษ์” หรือ “ดอกคูณ” คนไทยในสมัยโบราณเชื่อว่า “ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย […]

พิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานบนรถบุษบก เตรียอมออกแห่สรงน้ำสงกรานต์

13 เม.ย. 66 พิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานบนรถบุษบก เตรียมออกแห่ให้ประชาชนสรงน้ำ-สักการะ ในงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ประจำปี 2566 ต๋ามฮีตต๋ามฮอยเมืองเจียงใหม่ ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นประเพณี “พิธีอาราธนาอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์” ออกจากวิหารลายคำ ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ประดิษฐานบนรถบุษบก โดยช่วงบ่ายจะมีขบวนแห่พร้อมกับพระพุทธรูปสำคัญจากวัดต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ปพุทธศาสนิกชนสักการะบูชา สรงน้ำขมิ้นส้มป่อยตามประเพณีที่ปฏิบัติในเทศกาลปี๋ใหม่เมืองทุกปี ด้วยความเชื่อที่ว่าหากได้สรงน้ำพระสรงน้ำพระพุทธรูปอันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองในวันปีใหม่จะได้เป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว ซึ่งพระพุทธสิหิงค์จะถูกอัญเชิญออกมาจากวิหารลายคำเพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น และประเพณีนี้ได้สืบทอดกันมาชั่วอายุคนจนมิอาจจะแยกออกจากชีวิตของคนเชียงใหม่ได้

ย้อนอดีต “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” จ.เชียงใหม่

ประเพณีสงกรานต์หรือที่คนเมืองเหนือเรียกว่า ‘ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง’ เป็นเทศกาลที่ผู้คนมีความสุขสนุกสนานมาก เด็ก ๆ ได้ออกมาเล่นสาดน้ำกันให้คลายร้อนโดยไม่มีใครว่าเพราะเป็นประเพณีที่สาว ๆ แต่งตัวสวยงามทัดดอกไม้สีเหลืองออกไปทำบุญและเล่นน้ำสงกรานต์ หนุ่ม ๆ ได้ออกมาเล่นน้ำหยอกเย้าสาว ๆ โดยไม่ถือว่าเป็นการแทะโลมเกี้ยวพาราสี สำหรับผู้ใหญ่ก็ถือว่าสงกรานต์เป็นงานบุญใหญ่ประจำปี ต่างพากันช่วยตระเตรียมข้าวของสำหรับทำบุญกันอย่างคึกคัก เทศกาลสงกรานต์ในเมืองเชียงใหม่จัดเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่และยาวนาน โดยเริ่มต้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 13-15 เมษายน แต่จริง ๆ แล้วประชาชนเริ่มเล่นสงกรานต์ก่อนวันที่ 13 และเลิกเล่นหลังจากวันที่ 15 โดยเฉพาะเด็ก ๆ ในเขตอำเภอรอบนอกมักจะออกมาเล่นน้ำสงกรานต์ตั้งแต่วันที่ 10 เรื่อยมาจนวันที่ 17-18 เมษา เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่อากาศร้อนจัดเด็ก ๆ จึงออกมาเล่นน้ำให้คลายร้อน ในเทศกาลสงกรานต์มีประเพณีสำคัญหลายประการที่ชาวเชียงใหม่ยึดถือปฏิบัติ แต่ละประเพณีล้วนมีความหมายและสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม ธรรมชาติ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่รอบตัวแทบทั้งสิ้น ประเพณีต่าง ๆ เริ่มจากวันที่ 13 จนถึง 15 เมษายนดังนี้ วันที่ 13 เมษา หรือวันสังขานต์ล่อง ถือว่าเป็นวันสิ้นสุดของปีและส่งท้ายปีเก่า ในวันนี้ชาวเมืองจะได้ยินเสียงปืนและจุดประทัดกันตั้งแต่เช้ามืด เพราะชาวบ้านยิงปืนเพื่อขับไล่ปู่สังขานต์ย่าสังขานต์หรือตัวเสนียดจัญไร มีการทำความสะอาดบ้าน ปัดกวาดหิ้งพระ […]

727 ปี สถาปนาเมืองเชียงใหม่ ”ยอสวยไหว้สา พระญามังราย ปีที่ 11”

เช้าวันนี้ (12 เม.ย. 66) ที่ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นำคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนชาวเชียงใหม่ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร พระสงฆ์ 51 รูป และพิธียอสวยไหว้สาพญามังราย เนื่องในโอกาสครบรอบ 727 ปี การก่อตั้งเมืองเชียงใหม่ เพื่อถวายสักการะแด่บูรพกษัตริย์ และเจ้าเมืองผู้ครองเมืองตามประเพณีล้านนา ทั้งยังให้ลูกหลาน ประชาชนในยุคปัจจุบัน ได้ร่วมระลึกถึงคุณงามความดีของผู้ก่อตั้งเมืองเชียงใหม่ และรับรู้ประวัติการก่อตั้งเมือง โดยภายในงาน มีการจัดขบวนแห่ตามแบบวัฒนธรรมล้านนา ประกอบด้วย ขบวนขันดอก เครื่องสักการะแบบล้านนา การตีกลองสะบัดชัย พร้อมด้วย การฟ้อนเล็บจากช่างฟ้อนจากชุมชนต่าง ๆ ในตัวเมืองเชียงใหม่ จำนวน 599 คน โดยเริ่มเคลื่อนขบวนจากลานประตูท่าแพสู่ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ เพื่อมาสักการะพญามังราย และเสริมสร้างสิริมงคลให้กับตนเอง ครอบครัวให้มีความสุข ความปลอดภัย ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือ งานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ที่จะถึงนี้

1 ปีเวียนมาบรรจบ “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่”

“ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่” ถ้าพูดถึงประเพณีปี๋ใหม่เมืองเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่คงจะเคยได้ยิน และคุ้นหูกันแล้ว เพราะประเพณีจะจัดขึ้นในช่วงของเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 13-15 ของทุกปี นอกจากจะมีการเล่นน้ำสงกรานต์แล้ว ยังมีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ สรงน้ำพระ ขนทรายเข้าวัด และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “ขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์” ก่อนจะถึงวันปี๋ใหม่เมือง หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทยนั้น ชาวเชียงใหม่มักจะทำความสะอาดบ้านเรือน และชำระล้างร่างกายให้สะอาด เพราะจะถือว่าล้างสิ่งที่ไม่ดี ไม่เป็นสิริมงคลออกจากชีวิต และเตรียมต้อนรับสิ่งใหม่ๆ สิ่งดีดีเข้ามาในชีวิต ตามประเพณีเก่าแก่นั้น ชาวเชียงใหม่จะถือวันสำคัญอยู่ 4 วัน คือ วันที่ 13 14 15 และ 16 เมษายน วันที่ 13 เมษายน คือ วันสังขานต์ล่อง เป็นวันที่ชาวเชียงใหม่จะลอยทุกข์ลอยโศก ลอยความไม่เป็นสิริมงคลให้ออกจากชีวิตไป และชำระล้างบ้านเรือน ร่างกายให้สะอาด อีกทั้งในวันนี้จะมีขบวนแห่สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ บริเวณรอบเมืองเชียงใหม่ ให้ประชาชนได้สรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล วันที่ 14 เมษายน คือ วันเน่า ชาวล้านนาเชื่อกันว่าจะไม่ทำอะไรที่ไม่เป็นสิริมงคล ไม่ด่าทอ และเคร่งครัดในศีล 5 […]

ปั๊กกะตืนปีใหม่พื้นเมืองปีเถาะ พ.ศ.2566

ร้านหนังสือประเทืองวิทยา เชียงใหม่ อนุเคราะห์ “เชียงใหม่นิวส์” ให้เผยแพร่ “ปั๊กกะตืนปีใหม่พื้นเมืองปีก่าเหม้าหรือหนใต้เรียกปีเถาะ” จุลศักราช 1385 พุทธศักราช 2566 ระบุรายละเอียดไว้ว่า ปั๊กกะตืนปีใหม่พื้นเมืองปีก่าเหม้าหรือหนใต้เรียกปีเถาะ จุลศักราช ๑๓๘๕ พุทธศักราช ๒๕๖๖ ปีนี้เป็นปีอธิกมาส (เดือนแปดใต้เดือนสิบเหนือสองหน) ปรกติวารปรกติสุรทิน พระอาทิตย์จักย้ายออกจากราศีมีนอาโปธาตุเข้าสู่ราศีเมษเตโชธาตุ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๙ ค่ำเดือน ๗ เหนือเดือน ๕ ใต้ ตรงกับวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๖ นาฬิกา ๐๔ นาที ๔๘ วินาที ถือเป็นวันสังขารล่อง รวิสัง ขานต์แต่งองค์ทรงเครื่องสีขาว เครื่องประดับวิทูรย์ หัตถ์ขวาบนถือกระจกเงาหัตถ์ขวาล่างถือสร้อยประคำ หัตถ์ซ้ายบนถือหอกหัตถ์ซ้ายล่างพาดตักไว้ ทรงนั่งยองๆมาบนหลังควาย รุกจากหนอาคเนย์ไปพายัพ มีนางลิตานั่งรอรับ ตามฮีตฮอยโบราณวันนี้ต้องปัดกวาดเช็ดถูบ้านช่องห้องหอร้านค้าร้านขายหื้อสะอาดสอ้านน่าอยู่น่าค้า รุ่งขึ้นเป็นวันเสาร์ที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๖ เป็นวันเนาว์หรือวันเน่า บ่ดีกล่าวผรุสวาจาอย่าคิดอาฆาตมาดร้ายใดใดให้เป็นอกุศลต่อชีวิต […]

หลวงพ่อทันใจ วัดพระธาตุดอยคำ ตำนานความศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่

“พุทธศาสนา” เป็นศาสนาหลักของคนไทย ต่างมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรื่องผีสางเทวดาควบคู่กันไปด้วยมาตั้งแต่โบราณกาล ในภาคเหนือล้านนา จะพบเห็นได้ว่ามีวัดวาอารามอยู่มากมาย ประจำทุกหมู่ บ้าน ยิ่งในเขตพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่ มีวัดเก่าแก่ชนิดวัดติดวัดกันเลยทีเดียว เป็นแหล่งอารยธรรมโบ ราณสถานที่สำคัญ มีประวัติที่ยาวนาน จึงจะเห็นได้ว่าในแต่ละวันไม่เฉพาะชาวไทยเท่านั้น รวมชาวต่างชาติหลากหลายเชื้อชาติ หลั่งไหลเข้ามาศึกษา กราบไหว้สักการะขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมืองเชียงใหม่ ในแต่ละวันจะเนืองแน่นไปด้วยผู้คน และเป็นที่สังเกตว่า วัดพระธาตุดอยคำ ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.แม่เหียะ อ.เมืองเชียงใหม่ เป็นวัดดาวรุ่งพุ่งแรง ถึงแม้ว่าจะเป็นวัดเก่าแก่สร้างในปี พ.ศ.1230  รัชสมัยพระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งหริภุญชัย โดยพระโอรสทั้ง 2 เป็นผู้สร้างในปี พ.ศ. 1230 ประกอบด้วยเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ศา ลาการเปรียญกุฏิสงฆ์ และพระพุทธรูปปูนปั้น เดิมชื่อวัดสุวรรณบรรพต แต่ชาวบ้านเรียกว่าวัดดอยคำ กลายเป็นวัดร้างมายาวนาน เมื่อราวปี พ.ศ. 2509 วัดดอยคำกรุแตก ชาวบ้านพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น พระรอดหลวง พระหินทรายปิดทององค์ใหญ่ พระสามหมอ (เนื้อดิน) เป็นต้น ต่อมามีพระครูสุนทรเจติยารักษ์ หรือ ”ครูบาพิณ” เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยคำ […]

“ปั๊มน้ำมันสามทหาร” หนึ่งเดียวในประเทศกับคุณค่าทางใจของชาวลำพูน

หากจะกล่าวถึงความสำคัญของปั๊มน้ำมันสามทหารลำพูน คงต้องกล่าวถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมน้ำมันในประเทศไทยก่อน ประเทศไทย เริ่มนำเข้าน้ำมันปิโตรเลียมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ประมาณปี พ.ศ.2431 หรือ 10 ปีหลังจากมีการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันในอเมริกา และก่อนมีการใช้ปิโตรเลียมเป็นเชื้อเพลิงอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยเริ่มจากการใช้น้ำมันก๊าดสำหรับตะเกียง และน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องจักรไอน้ำในโรงสีข้าว และโรงเลื่อย ในระยะแรกคนไม่ค่อยกล้าใช้น้ำมันก๊าด เพราะกลัวไฟไหม้เนื่องจากติดไฟง่าย แต่เมื่อพบว่าน้ำมันก๊าดใช้สะดวก มีควันและเขม่าน้อยกว่าน้ำมันมะพร้าว ความนิยมก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต่อมาความนิยมน้ำมันก๊าดเริ่มลดลง พร้อมกับการเข้ามาแทนที่ของไฟฟ้า รถยนต์เครื่องยนต์เบนซินคันแรก ถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ.2439 โดยพระยาสุรศักดิ์มนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร อีก 2 – 3 ปีต่อมา รถสองแถวคันแรกถูกดัดแปลงขึ้นมาจากรถม้า ใส่เครื่องยนต์ฟอร์ดตัวถังรถทำมาจากไม้สัก มีที่นั่งยาวทั้ง 2 ข้าง เมื่อมีถนน และผู้คนนิยมใช้รถยนต์มากขึ้นปริมาณการบริโภคน้ำมันนำเข้ามาจากต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงมีการก่อตั้งบริษัทน้ำมันขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงเทพฯ คือ บริษัทรอยัล – ดัทช์ ปิโตรเลียม ในปี พ.ศ.2435 และบริษัทสแตนดาร์ดออยส์ ในปี 2437 นับเป็นผู้ค้าน้ำมันรายแรกในประเทศไทย เมื่อน้ำมันปิโตรเลียมกลายเป็นสิ่งสำคัญต่อเศรษฐกิจ และความมั่นคงของชาติ รัฐบาลไทยก็ตระหนักถึงผลกระทบจากการที่ประเทศไทยไม่สามารถจัดหา ผลิต […]

19 กันยายน 2542 “สันป่าตองวิปโยค”

ย้อนรอยเหตุสะเทือนใจชาวเชียงใหม่ 19 กันยายน 2542 เมื่อโรงงานอบลำไยระเบิด ที่บ้านหนองแท่น หมู่ 2 ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เหตุกาณ์นี้คร่าชีวิตคนไปมากกว่า 40 คน พร้อมกับความสูญเสีย สะเทือนขวัญ และเสียหายอีกมหาศาล ในช่วงเวลานั้นชาวบ้านต่างใช้ชีวิตกันอย่างปกติ จนกระทั่งคนงานในโรงงานกำลังนำสารโปแตสเซียมคลอเรตผสมกับสารอื่นๆ ตามสูตรเร่งดอกลำไย แต่กลับเกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่ไม่คาดคิด ทำให้สารเคมีการเกษตรแปรสภาพเป็นสารก่อระเบิดที่มีอานุภาพร้ายแรง ทำให้คนงานเสียชีวิตทันทีมากกว่า 30 คน และแรงระเบิดทำให้บ้านเรือนระแวกนั้นได้รับแรงสั่นสะเทือน พังเสียหาย และที่น่าสลดใจคือพวกเขาพบเห็นเศษชิ้นเนื้อคนกระจัดกระจายตามพื้น เกิดก๊าซพิษฟุ้งทั่วบริเวณ และเกิดสารตกค้างที่ทำให้ดินเป็นกรด เหตุการณ์นี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 45 คน บาดเจ็บหลายร้อยราย บ้านเรือนประชาชนในรัศมีรอบจุดเกิดเหตุ 1 กม.ได้รับความเสียหายกว่า 500 หลังคาเรือน มูลค่าความเสียหายอยู่ที่ 500 ล้านบาท จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2559 ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ออกหมายจับเจ้าของโรงงานดังกล่าว ฐานความผิด คือ ผิด พ.ร.บ.โรงงาน, ความผิดต่อชีวิต, ผิด พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ขอบคุณภาพจาก : […]

งานปอย งานที่มีหลายความหมาย

เชื่อว่าคนเหนือส่วนใหญ่คงจะรู้จักงานบุญที่อยู่คู่กับชาวล้านนามาอย่างยาวนาน นั้นก็คืองานปอย งานบุญประเพณีพื้นเมืองที่จัดขึ้นเฉลิมฉลอง แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะคำว่างานปอยยังมีอีกหลายความหมาย วันนี้เชียงใหม่นิวส์จึงอยากจะพาทุกคนมารู้จักความหมายของงานปอย รวมไปถึงงานปอยแต่ละแบบเป็นอย่างไรบ้าง ในส่วนของความหมายนั้น คำว่า ปอย  ในภาษาเหนือหมายถึงประเพณี พิธีกรรม งานรื่นเริง ที่ใหญ่โต จัดโดยใช้ผู้คนมาร่วมมือหลายฝ่าย โดยเว็บไซต์ประเพณีดอทคอมได้กล่าวว่า ปอยนั้นมีความหมายหลายแบบ โดยจะอธิบายความหมายแต่ละงานปอยดังต่อไปนี้ ปอยส่างลอง ปอยส่างลอง หรือ งานบวชลูกแก้ว เพื่อทำการบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา โดยจะพบเห็นการจัดปอยส่างลองกันมากที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะในเขตอำเภอเมือง อำเภอขุนยวม และอำเภอปาย คนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมประเพณีนี้สืบเชื้อสายมาจากไทใหญ่ ซึ่งก็ได้ร่วมกันสืบทอดงานประเพณีนี้มาเป็นเวลาช้านาน ปอยหน้อย ปอยบวชหรือปอยเป็ก ที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะเป็นงานรื่นเริงส่วนบุคคลระหว่างพ่อแม่ของนาคญาติและมิตรใกล้เคียงเท่านั้น เป็นการฉลองไม่ใหญ่โต จึงเรียกว่า ปอยหน้อย หมายถึงปอยหรืองานเล็ก ๆ หน้อย ภาษาเหนือ คือเล็กน้อย ปอยหลวง หมายถึงงานสมโภชใหญ่ ได้แก่การฉลองถาวรวัตถุประจำหมู่บ้าน เช่น โบสถ์ วิหาร กุฏิสงฆ์ เจดีย์ เป็นงานมหกรรมที่ใช้เวลาหลายวัน มีประชาชนและหัววัดต่าง ๆ ที่มาจากวัดอื่น ๆ มาร่วมเป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่า […]

เมื่อ 100 ปีที่แล้ว ประเทศไทยเคยเกิดโรคระบาดใหญ่

ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 27 กรกฏาคม พ.ศ. 2462 หรือเมื่อราว 100 ปีที่แล้ว ประเทศสยามเคยเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ ทำให้มีคนตายถึง 8 หมื่นกว่าคน โดยข้อความในราชกิจจานุเบกษาเขียนไว้ว่า แจ้งความกระทรวงมหาดไทย ไข้หวัดหรืออินฟูเอนซา ได้เริ่มเป็นขึ้นในพระราชอาณาจักรภาคใต้ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2461 ก่อน แล้วกระจายแพร่ไปทั่วพระราชอาณาจักร พึ่งสงบลงเมื่อเดือนมีนาคมที่ล่วงมานั้นในส่วนหัวเมือง 17 มณฑล โดยพระมหากรุณาธิคุณได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดส่งแพทย์ ส่งยาและคำแนะนำออกไปช่วยป้องกันรักษาสมทบ กับแพทย์ประจำเมือง เมื่อโรคสงบแล้วได้บัญชีจำนวนคนที่ป่วยเจ็บและตายด้วยโรคนี้ ตามบัญชีท้ายแจ้งความนี้ ศาลาว่าการมหาดไทย แจ้งความมา ณ วันที่ 14 กรกฏาคม พ.ศ.2462 (ลงนาม) มหาเสวกเอก เจ้าพระยาสุรสีห์ วิสิษฐศักดิ์ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2462 ประเทศสยามมีประชากรทั้งหมดประมาณ 9,207,355 คน ซึ่งป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ประมาณ 2,317,622 คน และมีคนเสียชีวิตด้วยโรคระบาดในครั้งนั้น ประมาณ […]

1 2 3 23