ดอลลาร์แข็งค่า ท่องเที่ยวเชียงใหม่เตรียมรับอานิสงส์

ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือนมิถุนายน 2565 เร่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 40 ปี เป็นสัญญาณเงินเฟ้อ ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นที่ 1.3%MoM อยู่ที่ระดับ 9.1%YoY จากเดิมตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 8.8%YoY หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า เงินเฟ้ออย่างต่อเนื่องเพิ่มแรงกดดันต่อ ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า  Fed คงพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย1.00% เนื่องจากเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยมากสุดในรอบ 40 ปี และนั้นอาจสร้างความวิตกกังวลต่อตลาดได้

ในกรณีที่ปรับขึ้นดอกเบี้ย 1.00% ตลาดมองว่า Fed มีความวิตกกังวลอย่างมากที่จะไม่สามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องใช้ยาแรง แต่นั้นหากจะดำเนินนโยบายอย่างแข็งกร้าวมากขึ้น Fed อาจจะต้องทบทวนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นด้วยเช่นกันถึงแม้ว่า Fed พยายามพลักดันให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ให้ไปสู่ Soft Landing แล้วก็ตามที เศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็ยังมีแนวโน้มจะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค หรือหดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกันในช่วงปี 2566 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ในเดือนมิถุนายน ลดลงมาแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ สะท้อนให้เห็นว่าการบริโภคของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะชะลอลง ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ในประเทศให้ชะลอลงไปกว่าเดิม

สำหรับผลกระทบต่อตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ มีการดำเนินนโยบายการเงินที่เผชิญกับการอ่อนค่าของเงินลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสวนทางกับ Fed ที่อาจมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ยังมีทิศทางแข็งค่า อย่างต่อเนื่องซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยได้ทั้ง 2 ด้าน

EIC ประเมินว่า แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิค (technical recession) แต่จะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อประเทศไทย เนื่องจากอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ และภาคธุรกิจโดยรวมยังคงขยายตัว 

แต่การตึงตัวภาคการผลิต จากปัจจัยต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูงขึ้น อาจส่งผลต่อผลผลิต เกษตรกรเผชิญต้นทุนสูง แม้ว่ารัฐบาลออกมาตรการความช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อน แต่ในมุมมองของ มองว่า ความช่วยเหลือมุ่งเน้นไปยังเฉพาะกลุ่มมากขึ้น และคาดว่าจะลดทอนผลกระทบได้บางส่วน เช่น ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กลุ่มแท็กซี่ หรือเน้นกระตุ้นท่องเที่ยว ฯลฯ

ในส่วนด้านการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวทั้งจากการลงทุนภายในประเทศและการลงทุนจากต่างชาติตามแนวโน้มการเปิดประเทศ แต่การลงทุนบางส่วนอาจชะลอตัวหรือเลื่อนออกไปจาก ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ รวมถึงปัญหาด้านเงินเฟ้อ แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็ได้รับอานิสงส์จากการทยอยเปิดประเทศ เพราะประเทศไทยมีรายหลักจากการท่องเที่ยว

ผลพวงจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นส่งผลราคาสินค้าในประเทศที่เตรียมจะปรับขึ้น ส่งผลกระทบประชาชนโดยตรง คือ ราคาก๊าซหุงต้ม ค่าไฟฟ้าผันแปร ราคาพลังงานที่ส่งผลต่อ ค่าเดินทางและขนส่ง และสินค้าอุปโภคบริโภค อย่างเช่น บะหมี่สำเร็จรูป ผงซักฟอก ปลากระป๋อง เป็นต้น และต้นทุนการผลิตภาคเกษตรสูงขึ้น รวมทั้งค่าเงินบาทที่ผันผวนในทิศทางอ่อน การนำเข้าสินค้าและการผลิตจะมีต้นทุนสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบหนักคนมีรายได้น้อยถึงปานกลางกำลังซื้อของภาคครัวเรือนอ่อนแอและรายได้ที่แท้จริงลดลง ที่สำคัญคือไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาหนี้ครัวเรือนระดับสูง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย และ วิจัยกรุงศรี มองไปในทิศทางเดียวกันว่า สัญญาณเชิงบวกจากการส่งออกที่ยังเติบโตได้ดีจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทอาจจะเป็นผลดีกับผู้ส่งออกและกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวไทยมากขึ้น และภาคท่องเที่ยวนับเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยโดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยว แต่ก็ส่งผลเสียต่อผู้นำเข้าและเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

จังหวัดเชียงใหม่ จัดว่าเป็น จังหวัดที่ได้รับผลกระทบทั้งด้านบวกและลบ เนื่องจากมีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพื่อการเกษตรอย่างเช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ที่ใช้ในการผลิตพืชผลทางการเกษตรส่งออกอย่างเช่น ส้ม ลำไย ลิ้นจี่ เป็นต้น และมีแหล่งท่องเที่ยวเป็นอันดับต้นๆ ของ ประเทศไทย

ถึงแม้ว่ารายได้ภาคเกษตรที่ขยายตัวได้ดีจากอุปสงค์คงค้าง (pent-up demand) ของกลุ่มรายได้สูงและด้านตลาดแรงงานที่เริ่มส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นแต่ยังมีความเปราะบาง ความสามารถในการทำกำไรลดลงเนื่องจาก ราคาปุ๋ยและเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้สินค้าราคาแพงขึ้นทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง กระทบกับการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียงอย่างมาก

ส่วนภาคการท่องเที่ยว วิจัยกรุงศรีและศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แรงหนุนสำคัญจากรายได้นักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น โดยนักท่องเที่ยวที่เข้ามาไทยสูงสุด ได้แก่ อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐฯ และอังกฤษ สำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปี (มกราคม-พฤษภาคม) มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 1.31 ล้านคน ซึ่งทำให้มีรายได้ท่องเที่ยวจากทั้งต่างชาติเที่ยวไทยและไทยเที่ยวไทยเพิ่มขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวภายในประเทศเติบโตขึ้นจากการเริ่มกลับไปใช้ชีวิตตามปกติของประชาชนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาเป็นปกติมากขึ้น

         แม้ว่าจะมีแนวโน้มฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องตามการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงท้ายปีมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น โดย EIC คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยรวม 7.4 ล้านคนในปีนี้ ช่วยให้มีรายได้จากการจับจ่ายและจ้างงานในประเทศ ถึงแม้ว่าปัจจุบัน นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าไทยยังไม่มากนักเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด 

แต่ก็ยังมีความหวังว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศจะเดินทางเข้ามาประเทศไทยมากขึ้นในไตรมาส 4 ของปีนี้ นั้นอาจไม่รวมนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน ที่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักของ เชียงใหม่ เพราะรัฐบาลจีนคงจะยังควบคุมการเดินทางของคนจีนไปอีกนานหลายเดือนเสี่ยงต่อการล็อกดาวน์ระลอกใหม่ ส่วนนักท่องเที่ยวจากยุโรปก็อาจมีน้อย เพราะเศรษฐกิจของยุโรปกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักในหลายด้านจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และการขาดแคลนพลังงาน และยังมีความเสี่ยงจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

ทางรอดกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ที่มีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง และเปลี่ยนจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมาพึ่งพิงนักท่องเที่ยวไทย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่อหัวต่อทริปน้อยลง จะต้องวางแนวทางปรับตัวเพื่อประคองธุรกิจในหลาย ๆ ด้าน

(1) การปรับตัวด้านรายได้ที่จะต้องเน้นการออกโปรโมชั่น ปรับแพ็คเกจห้องพักให้สอดรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น 

– กลุ่ม สเตเคชั่น (Staycation) ที่เน้นการเที่ยวในละแวกบ้าน เที่ยวภายในจังหวัดตัวเอง ไม่ต้องเดินทางไกล กลุ่มนี้เน้นการออกไปเที่ยวแบบครอบครัว หาอะไรทานเป็นมื้อพิเศษในแต่ละครั้ง จบทริปภายใน 1 วัน ไม่เน้นการเข้าพัก ผู้ให้บริการสามารถขายบริการในรูปแบบส่วนลดได้ เช่น ส่วนลดห้องอาหาร ส่วนลดการใช้ห้องออกกำลังกาย หรือ สระว่ายน้ำ เป็นต้น

– กลุ่ม Workcation มาจากคำว่า WORK + VACATION แปลว่า ทำงานบวกพักร้อนหรือพักผ่อนไปพร้อมๆ กัน ที่เน้นทำงานและเที่ยวไปด้วย กลุ่มนี้เน้นที่พักแบบถูกและมีความเป็นส่วนตัวรวมถึงเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก มีระบบอินเตอร์เน็ตที่พร้อมใช้งานตลอดเวลา กลุ่มนี้เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวจะโซนยุโรปและ อเมริกา ที่พร้อมจะเข้าพักระยะยาว ปัจจุบันนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว จากการสำรวจ พบว่าพักอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ไม่น้อยกว่า 30,000 คน และจากการสำรวจในกลุ่มอาชีพดังกล่าวพบว่า จังหวัดเชียงใหม่ คือเป้าหมาย อันดับ 1 ในการเลือกเดินทางของงกลุ่มคนที่กำลังจะเดินทางมา

(2) การปรับตัวด้านการบริหารจัดการต้นทุน ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานและปรับเปลี่ยนจำนวนแรงงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น

– ลดวันหรือชั่วโมงทำงาน เน้นจ้างพนักงานชั่วคราว รวมถึงพนักงานที่มีทักษะการใช้เทคโนโลยีและ Multi-tasking มากขึ้น

– ลดต้นทุนในการบริหารจัดการ โดยการเปิดให้บริการบางส่วนเป็นการชั่วคราว

– ใช้เทคโนโลยีสำหรับดำเนินธุรกิจ โดยชำระค่าบริการผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร รวมถึงขยายช่องทางการรับจองห้องพักผ่านแพลตฟอร์มเพื่อช่วยลดต้นทุนและข้อจำกัดในการเข้าถึง

ดังนั้นถึงเวลาหรือยังที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชียงใหม่จะต้องปรับตัวให้ตอบรับกลับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของนักท่องเที่ยวหากต้องการอยู่รอดในภาวะเศษฐกิจเช่นนี้

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย , วิจัยกรุงศรี

เรียบเรียงโดย : บ่าวหัวเสือ

ร่วมแสดงความคิดเห็น