ลอสแอนเจลิส, 3 ก.ค. (ซินหัว) — เมื่อวันพุธ (2 ก.ค.) วารสารเนเจอร์ (Nature) เผยแพร่ผลการศึกษาใหม่ ซึ่งพบว่าการสัมผัสมลพิษทางอากาศอย่างฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) มีความเกี่ยวข้องกับการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่เพิ่มขึ้นในเนื้องอกมะเร็งปอดของผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่อย่างมากการศึกษาที่นำโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ นำเสนอผลการวิเคราะห์จีโนมของมะเร็งปอดในผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ชุดใหญ่ที่สุด ซึ่งมอบข้อมูลเชิงลึกใหม่เกี่ยวกับกรณีมลพิษทางสิ่งแวดล้อมอาจกระตุ้นการเกิดมะเร็งแม้ไม่ได้สูบบุหรี่ได้อย่างไร คณะนักวิจัยจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สังกัดสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ได้ตรวจสอบเนื้องอกในปอดจากผู้ป่วยที่ไม่สูบบุหรี่ 871 รายใน 28 ภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเชอร์ล็อก-ลัง (Sherlock-Lung) ที่มุ่งแกะรอยการกลายพันธุ์ของมะเร็งปอด การตรวจสอบพบว่าการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะจากการจราจรและแหล่งอุตสาหกรรม เชื่อมโยงกับการกลายพันธุ์ที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็ง ซึ่งรวมถึงการกลายพันธุ์ในยีนทีพี53 (TP53) และสัญญาณการกลายพันธุ์อื่นๆ ที่มักเชื่อมโยงกับมะเร็งที่มีต้นตอจากการสูบบุหรี่ นอกจากนั้นมลพิษทางอากาศมีความเกี่ยวข้องกับกรณีเทโลเมียร์ (telomere) หรือส่วนปลายโครโมโซมที่สั้นลง ซึ่งเป็นกรณีที่เกี่ยวพันกับการแก่ชราและความสามารถแบ่งเซลล์ลดลงที่มีแนวโน้มเร่งการลุกลามของมะเร็ง การทำความเข้าใจว่ามลพิษทางอากาศมีส่วนส่งเสริมการกลายพันธุ์ของเนื้องอกในปอดอย่างไรอาจช่วยอธิบายความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ และตอกย้ำความจำเป็นเร่งด่วนในการเพิ่มเกราะปกป้องสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้นอนึ่ง มะเร็งปอดในกลุ่มผู้ไม่สูบบุหรี่ครองสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 25 ของผู้ป่วยมะเร็งปอดทั้งหมดทั่วโลก (แฟ้มภาพซินหัว : ผู้คนสวมหน้ากากอนามัยเดินในเมืองนิวยอร์กของสหรัฐฯ วันที่ 7 มิ.ย. 2023) ร่วมแสดงความคิดเห็น FacebookFacebookXTwitterLINELine
ร่วมแสดงความคิดเห็น