งานกำฟ้า ไทยพวน บ้านทุ่งโฮ้ง ไม่หาญกล้าต้านภัยโควิด-19 ปีนี้งดจัดงานใหญ่ พิธีบวงสรวงบรรพบุรุษ

เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2564 นอกจากจะเป็นครูแห่งชาติประจำปี 2564 ยังตรงกับ วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นการขึ้นปีใหม่ของชาวไทยพวน

เนื่องจากในปีนี้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทางเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง โดยการนำของ นายสมเพชร ศรีทิพงศ์ นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งโฮ้ง จึงงดจัดงานประเพณีกำฟ้าไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง เพื่อรักษามาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ละปี “ประเพณีกำฟ้า” จะจัดงานใหญ่โตมโหฬาร ถือว่าเป็นอีกหนึ่งงานที่ขึ้นชื่อของจังหวัดแพร่ และกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวนด้วย แต่เดิมกิจกรรมภายในงาน “ประเพณีกำฟ้า” ประกอบด้วย พิธีบวงสรวงบรรพบุรุษไทยพวน การแสดงนิทรรศการชาวไทยพวน ตลาดไทยพวน การประกวดตัดเย็บผ้าหม้อห้อม การประกวดฟ้อนแอ่น การประกวดทำอาหารของชาวไทยพวน การเดินแฟชั่นโชว์ผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อม การประกวดเทพีกำฟ้า และการแสดงอื่น ๆ อีกมากมาย สิ่งที่ไม่ควรพลาดมาชม คือ “ขบวนแห่งานประเพณีกำฟ้า

แต่ก็ยังคงรักษาประเพณีวัฒนธรรมของชาวไทยพวนอยู่ คือ การบวงสรวงอนุเสาวรีย์ “เจ้าชมพู” บรรพบุรุษแห่งตำนานกำฟ้า ได้รับเกียรตินายอนุวัธ วงศ์วรรณ นายกอบ จ.แพร่ ไปเป็นประธาน

ปีนี้ทุกคนจะตื่นแต่เช้าตรู่ เตรียมอาหารคาวหวานไปถวายพระ โดยใส่บาตรข้าว หลังจากการถวายอาหารแด่พระสงฆ์แล้วจะมีการทำพิธี จากนั้นจะรับประทานอาหารร่วมกัน และแยกย้ายกลับบ้าน หรือบางบ้านอาจกินเลี้ยงสังสรรค์ ร้องรำทำเพลงจนถึงค่ำ

“กำ” หมายถึง การบูชาสักการบูชาฟ้า การแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อสิ่งที่ท่านได้รับการคุ้มครอง ให้ศาลอนุญาตให้เช่าบูชาดี มีฝนตกต้องตามฤดูกาล มีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ โดยชาวไทยพวนทุกคนจะหยุดทำงานทุกประเภท คือ หยุดทำไร่ทำนา ทอหูก ปั่นฝ้าย ตีเหล็ก ฝึกซ้อม เครื่องมือทำไร่ทำนาก็ต้องเก็บเข้าที่ให้หมด และอุปกรณ์ในการหาอาหาร ในการทำงาน ใน “วันกำ” ชาวไทยพวนจะมีกิจกรรมร่วมกัน คือการทำบุญในตอนเช้า การแสดงความคิดเห็น และการพบปะสังสรรค์ระหว่างกลุ่มด้วยกันใน “วันกำฟ้า” จะเริ่มตั้งแต่รุ่งขึ้น ไปถึง ค่ำ

กำฟ้า ครั้งที่ 2 ตรงกับ วันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ตอนเช้าทำบุญที่วัด และทำงานกันอย่างปกติ

ร่วมแสดงความคิดเห็น