นิทรรศการแสดงผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะแรงงานฯ

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะแรงงานนอกระบบกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าฝ้ายเชียงใหม่ ต้อนรับนายกรัฐมนตรี ลงตรวจราชการติดตามการขับเคลื่อนแผนงานตามนโยบายของรัฐบาล พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

วันที่พุธที่ 29 มิถุนายน 2565  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมคณะลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อตรวจราชการติดตามการขับเคลื่อนแผนงานตามนโยบายของรัฐบาล ตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้แก่นักเรียน เยาวชน และกลุ่มสตาร์ทอัพ และโครงการชุมชนแก้ปัญหายาเสพติด ณ โรงเรียนเวฬุวัน ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่  โดยนายประทีป  ทรงลำยอง  อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน  และนางวีรยา  รัตนนิตย์  ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นางณฐมน ปัทมะสุคนธ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมต้อนรับ ทั้งนี้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ ได้ร่วมจัดนิทรรศการนำเสนอผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะแรงงานนอกระบบ กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าฝ้ายเชียงใหม่ ตามแนวทางการพัฒนาศักยภาพแรงงานและคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้าน ด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี  มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามสมัยนิยมและนำองค์ความรู้ด้านดิจิทัลเทคโนโลยี มาต่อยอดการตลาดเพื่อเพิ่มยอดจำหน่าย ให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น สามารถขายสินค้าได้ทั้งในและต่างประเทศ สามารถปรับตัวรับมือกับการทำงาน/งานใหม่ได้อย่างต่อเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภายใต้บริบทโลกใหม่มุ่งสู่การใช้ดิจิทัลในการทำงาน สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ทำให้ชุมชนเข้มแข็งห่างไกลยาเสพติด

โดยผลสัมฤทธิ์ที่นำมาเสนอวันนี้เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าฝ้ายเชียงใหม่ ภายใต้แบรนด์ พินผ้าฝ้ายเชียงใหม่ “โดยนางสาวจุฬาลักษณ์ สุขเกษม ออกแบบ ตัดเย็บและจัดจำหน่ายเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย งานหัตถกรรมบนผืนผ้าสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับสู่สากล (Soft Power) ช่องทางจำหน่ายออกบูธตามศูนย์แสดงสินค้า ห้างสรรพสินค้า และงานงานโอทอป  ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2562 เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนประสบปัญหายอดขายตกต่ำ ขาดสภาพคล่อง สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เขียงใหม่ ได้เข้าให้คำปรึกษาและให้องค์ความรู้ด้านดิจิทัลเทคโนโลยี เพื่อวางกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ โดยจัดฝึกอบรมหลักสูตรการเพิ่มมูลค่าสินค้าเพื่อจำหน่ายในยุคดิจิทัล (E – Commerce) เพิ่มทักษะให้กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน ในการสร้างธุรกิจออนไลน์ การสร้าง Digital Brand เรียนรู้ทักษะการใช้ช่องทางการตลาด บนโลกโซเซียลมีเดีย อย่างเฟซบุ๊ค ไลน์ ยูทูป และการใช้ e – payment ในการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในการชำระค่าสินค้า  เพิ่มช่องทางการจำหน่ายทาง idline ผ่าน Page Facebook

ร่วมแสดงความคิดเห็น