1168

สดร.เดินหน้ามอบท้องฟ้าจำลอง เพื่อการเรียนรู้ระดับโรงเรียน 2565

สดร.เดินหน้ามอบท้องฟ้าจำลอง เพื่อการเรียนรู้ระดับโรงเรียน ประจำปี 2565 รุ่นที่ 2 เฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เดินหน้าโครงการท้องฟ้าจำลองเพื่อการเรียนรู้ระดับโรงเรียน ประจำปี 2565 รุ่นที่ 2 มอบชุดท้องฟ้าจำลอง DIY ระดับโรงเรียนอีก 50 ชุด เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา เชิญชวนโรงเรียนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่บัดนี้ – 30 พฤศจิกายน 2565 ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สดร. ได้จัดโครงการท้องฟ้าจำลองเพื่อการเรียนรู้ระดับโรงเรียน ประจำปี 2565 คัดเลือกโรงเรียนที่สนใจและมีความพร้อมในการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ทั้งในโรงเรียนและชุมชน รับมอบ “ชุดท้องฟ้าจำลองเพื่อการเรียนรู้ระดับโรงเรียน” […]

5 พ.ย.นี้ เปิด “เทศกาลชมดาว…รับลมหนาว 2565-2566”

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เตรียมเปิด “เทศกาลชมดาว…รับลมหนาว 2565-2566” จัดเต็มกิจกรรมดาราศาสตร์ ประเดิมงานแรก 5 พฤศจิกายน 2565 ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ.เชียงใหม่ และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา พร้อมเปิดโผ 10 กิจกรรมดาราศาสตร์ที่น่าสนใจตลอดช่วงฤดูหนาวนี้ นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการ ศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน–มีนาคม เป็นช่วงที่เหมาะแก่การดูดาวเป็นอย่างยิ่งในเขตภาคเหนือ เนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ท้องฟ้ามีทัศนวิสัยดี ไม่มีเมฆฝนบดบัง จึงถึงเวลาเปิดฤดูกาลชมดาวทุกคืนวันเสาร์อีกครั้ง ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ สำหรับหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา เปิดให้บริการตามปกติเช่นเดิม เพิ่มเติมคือพาเหรด 10 กิจกรรมดาราศาสตร์สุดพิเศษตลอดฤดูหนาว ดังนี้ 1) […]

“จันทรุปราคาเต็มดวง” ในคืนวันลอยกระทง 8 พ.ย. นี้

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผย 8 พฤศจิกายน 2565 จะเกิด “จันทรุปราคาเต็มดวง” เหนือฟ้าเมืองไทย ตรงกับคืนวันลอยกระทง “ดวงจันทร์เต็มดวงจะปรากฏเป็นสีแดงอิฐ” ในช่วงหัวค่ำตั้งแต่ดวงจันทร์โผล่พ้นขอบฟ้าเวลา 17:44 – 18:41 น. นาน 57 นาที สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วไทย  นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. เปิดเผยว่า วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ที่จะถึงนี้ จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา ตั้งแต่เวลาประมาณ 15:02 – 20:56 น. (ตามเวลาประเทศไทย) สามารถสังเกตได้จากหลายพื้นที่ทั่วโลก ได้แก่ ทวีปยุโรปตอนเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย ทวีปอเมริกาเหนือ บางส่วนของทวีปอเมริกาใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย ขั้วโลกเหนือ และบางส่วนของขั้วโลกใต้  ดวงจันทร์จะเริ่มเข้าสู่เงามัวของโลกเวลา […]

เยี่ยมชมการดำเนินงาน ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เยี่ยมชมการดำเนินงานของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โดยมี ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันฯ และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปฯ ทั้งนี้คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับฟังสรุปการดำเนินงานตามภารกิจด้านต่างๆ ของสถาบันฯ ชมท้องฟ้าจำลองระบบฟูลโดมดิจิทัล เยี่ยมชมนิทรรศการดาราศาสตร์แบบ Interactive และชมห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีดาราศาสตร์ขั้นสูง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีทัศนศาสตร์และโฟโตนิกส์ ห้องปฏิบัติการขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง ห้องปฏิบัติการเมคาทรอนิกส์ ห้องปฏิบัติการเคลือบกระจก โครงการพัฒนาเครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันพุธที่ 12 ตุลาคม 2565

27 ก.ย. นี้ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกสุดในรอบ 59 ปี

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผย 27 กันยายนนี้ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบ 59 ปี ปรากฏสว่างมากทางทิศตะวันออก ดูได้ด้วยตาเปล่ายาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว และมีกำลังขยายตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป จะเห็นแถบเมฆบนดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์กาลิเลียนได้อย่างชัดเจน เตรียมตั้งกล้องชวนคนไทยส่องดาวพฤหัสบดีใกล้โลก 4 จุดสังเกตการณ์หลัก เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. เปิดเผยว่า วันที่ 27 กันยายน 2565 ดาวพฤหัสบดีจะโคจรเข้ามาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ โลก และดาวพฤหัสบดีจะเรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีโลกอยู่ตรงกลาง เป็นตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 591 ล้านกิโลเมตร ปกติแล้วดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาใกล้โลกทุกปี และครั้งนี้ยังถือเป็นการโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบ 59 ปี นับตั้งแต่เดือนตุลาคม […]

23 ก.ย. 65 “วันศารทวิษุวัต” เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผย 23 กันยายน นี้ “วันศารทวิษุวัต” เป็นวันที่เวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี นับเป็นวันที่ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง และประเทศซีกโลกใต้ย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่าวันที่ 23 กันยายน 2565 เป็นวัน “ศารทวิษุวัต” (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) เวลากลางวันเท่ากับกลางคืน คำว่า “Equinox” มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน 2 คำ คือ Aequus แปลว่า เท่ากัน และ Nox แปลว่า กลางคืน ดังนั้น Equinox หมายถึงวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ซึ่งตรงกับคำว่า “วิษุวัต” แปลว่า “จุดราตรีเสมอภาค” วันดังกล่าว ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 06:07 น. และจะตกลับขอบฟ้า […]

ชวนเสนอชื่อไทยให้ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ

7 ก.ย. 65 สหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ หรือ IAU (The International Astronomical Union) จัfกิจกรรม #NameExoWorlds ขึ้นอีกครั้ง เปิดโอกาสให้ทุกประเทศทั่วโลกร่วมเสนอชื่อดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ประเทศละ 1 ระบบ ซึ่งในครั้งนี้ กิจกรรมตั้งชื่อดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะน่าสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะระบบนี้ จะเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ในอนาคต ประเทศไทย โดย NARIT ในฐานะหน่วยงานดาราศาสตร์ของไทย และหนึ่งในสมาชิกระดับประเทศของสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ ได้รับสิทธิ์ให้เข้าร่วมเสนอชื่อ “ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเป็นชื่อไทย” ได้แก่ ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ GJ 3470b #GJ3470b เป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงแรก ที่นักดาราศาสตร์ไทยได้ศึกษาวิจัยและสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ของไทย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา หรือหอดูดาวแห่งชาติ ตั้งอยู่บนดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ นับเป็นก้าวแรกในการเริ่มต้นศึกษาเกี่ยวกับดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะของไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งในปี 2566 ที่จะถึงนี้จะครบรอบ 10 ปีที่เปิดใช้งานหอดูดาวแห่งชาติ ดวงตาแห่งเอกภพของไทย หอดูดาวขนาดใหญ่มาตรฐานโลก ซึ่งไม่เพียงแต่ใช้ศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเท่านั้น ยังเป็นห้องปฏิบัติการดาราศาสตร์ที่สำคัญสำหรับศึกษาวัตถุท้องฟ้าแก่นักวิจัยไทยและนานาชาติ […]

มอบชุดท้องฟ้าจําลองให้แก่โรงเรียน 40 แห่ง ทั่วประเทศ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ มอบชุดท้องฟ้าจําลองให้แก่โรงเรียน 40 แห่ง ทั่วประเทศ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ มอบชุดท้องฟ้าจําลอง เพื่อการเรียนรู้ระดับโรงเรียน ให้แก่โรงเรียน 40 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา วันนี้ (27 ส.ค. 65) ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานกล่าวแสดงความยินดี และเปิดพิธีมอบชุดท้องฟ้าจําลอง เพื่อการเรียนรู้ระดับโรงเรียน ประจำปี 2565 ให้แก่โรงเรียน 40 แห่งทั่วประเทศ สำหรับนำไปประกอบการเรียนการสอนด้านดาราศาสตร์ภายในโรงเรียน และเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 โดยมี ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ พร้อมด้วย นายวรญาณ บุญณราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และผู้แทนจาก […]

เผยโฉมโรงเรียน โดดเด่นกิจกรรมดาราศาสตร์ ประจำปี 2565

เผยโฉมโรงเรียนที่มีผลงานโดดเด่นด้านจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ ประจำปี 2565 19 สิงหาคม 2565 – นนทบุรี สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จัดพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่โรงเรียนที่มีผลงานโดดเด่นด้านการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2565 อิมแพ็ค เมืองทองธานี รองศาสตราจารย์ ดร.พีรเดช ทองอำไพ ประธานคณะกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ต่อยอดขยายผลมาจากโครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ ที่ได้ส่งมอบกล้องโทรทรรศน์และสื่อการเรียนรู้ดาราศาสตร์ไปแล้ว 560 โรงเรียนทั่วประเทศ เพื่อให้โรงเรียนนำไปจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งกิจกรรมดาราศาสตร์ภายในโรงเรียน และขยายผลไปสู่กิจกรรมดาราศาสตร์ในชุมชน และการสร้างโครงงานดาราศาสตร์ในโรงเรียน เวทีนี้จึงถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นแบบอย่าง และแนวทางการปฏิบัติที่ดีให้โรงเรียนสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ในโอกาสต่อไปเนื่องจาก ปี 2564 ที่ผ่านมา อยู่ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 โรงเรียนส่วนใหญ่ใช้การเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นหลัก การจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ในโรงเรียนจึงมีอุปสรรคค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามหลายโรงเรียนก็ได้ปรับรูปแบบกิจกรรมเป็นแบบออนไลน์ที่หลากหลาย คู่ขนานไปกับการจัดกิจกรรมที่โรงเรียน สร้างความแปลกใหม่ และสอดรับกับการดูดาววิถีใหม่ได้เป็นอย่างดี สำหรับกิจกรรมดาราศาสตร์เพื่อชุมชน เป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความมุ่งมั่น และทุ่มเทของครูผู้สอนเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการจัดกิจกรรมให้กับประชาชนทั่วไปในโอกาสต่างๆ หลายกิจกรรมต้องออกนอกพื้นที่ในยามค่ำคืน ต้องขอชื่นชมในความมุ่งมั่นตั้งใจของคุณครูทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง ส่วนการศึกษาโครงงานดาราศาสตร์ระดับโรงเรียนในปีนี้ […]

เผยภาพดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี

เผยภาพดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี 15 ส.ค. 65 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผยภาพ “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” วันที่ 15 สิงหาคม 2565 บันทึกผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4 เมตร ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา เห็นวงแหวนของดาวเสาร์ได้อย่างชัดเจน วันที่ 15 สิงหาคม 2565 ดาวเสาร์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ โดยดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์ เรียงอยู่ในเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 1,325 ล้านกิโลเมตร เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวเสาร์สว่างจะปรากฏทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สังเกตได้ด้วยตาเปล่ายาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า คืนดังกล่าวหลายพื้นที่ทั่วไทยไม่สามารถสังเกตการณ์ได้ เนื่องจากตรงกับช่วงฤดูฝน ฟ้าปิด มีเมฆมาก สภาพท้องฟ้าไม่เอื้ออำนวย อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ดาวเสาร์จะยังคงปรากฏบนท้องฟ้าไปจนถึงประมาณเดือนมกราคม 2566 หากคืนไหนสภาพอากาศดีจะสามารถสังเกตดาวเสาร์ได้ สำหรับปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ใกล้โลกครั้งต่อไป […]

สดร. ชวนท่องดินแดน Amazing Dark Sky In Thailand

สดร. ชวนท่องดินแดน Amazing Dark Sky In Thailand เนรมิตเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ชวนดูดาวกลางอิมแพ็ค ในงานมหกรรมวิทย์ฯ 65 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนเธอไปชมดาว ณ บูธนิทรรศการ สดร. ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2565 เนรมิตบรรยากาศ “Amazing Dark Sky In Thailand” รณรงค์ลดมลภาวะทางแสงเพื่อการประหยัดพลังงาน คืนความมืดให้ท้องฟ้า คืนธรรมชาติให้สิ่งมีชีวิต พาไปรู้จัก “เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย” สู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ พร้อมสัมผัสบรรยากาศดูดาวเสมือนจริงในท้องฟ้าจำลองขนาดใหญ่ใจกลางอิมแพ็ค จัดเต็ม 13-21 สิงหาคมนี้ เวลา 09:00-19:00 น. ณ ฮอลล์ 9 – 10ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย  นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. […]

คืน 15 สิงหาคมนี้ “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี”

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยคืน 15 สิงหาคม 2565 “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” ปรากฏสว่างทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ นานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากฟ้าใสไร้ฝนสังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วไทย สดร. เตรียมตั้งกล้องโทรทรรศน์ “ส่องวงแหวนดาวเสาร์” ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ “NARIT Science Week 2022” พบกันได้ที่เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา เวลา 18:00 – 22:00 น. เข้าร่วมฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย  นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. เปิดเผยว่า วันที่ 15 สิงหาคม 2565 ดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ โดยดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์ เรียงอยู่ในเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 1,325 ล้านกิโลเมตร เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวเสาร์สว่างจะปรากฏทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ […]

1 2 3