72447

คืน 14 ธันวาคมนี้ ชวนชม “ฝนดาวตกเจมินิดส์”

คืน 14 ธันวาคมนี้ ชวนชม “ฝนดาวตกเจมินิดส์” พร้อมปักหมุด 3 จุดหลักชมดาวกับ สดร. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยคืน 14 ธันวาคม 2565 มีปรากฏการณ์ “ฝนดาวตกเจมินิดส์” เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 20:00 น. เป็นต้นไป อัตราการตกสูงสุด 150 ดวงต่อชั่วโมง ชมได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วไทยในพื้นที่มืดสนิท เตรียมจัดสังเกตการณ์ในเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ณ อ่างเก็บน้ำห้วยลาน อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่ และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา และฉะเชิงเทรา นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 4-20 ธันวาคมของทุกปี เป็นช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ “ฝนดาวตกเจมินิดส์” หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ มีศูนย์กลางกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ […]

พิธีเปิดนิทรรศการ Koyori Project 2022

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2565 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ Koyori Project 2022 ในงานเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ (Chiang Mai Design) ภายใต้โครงการ “การยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในภาคเหนือตอนบนด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์และทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากรท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่มูลค่าของผลิตภัณฑ์ ปีที่ 2” โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ ท่านสมาชิกวุฒิสภา ศิลปินแห่งชาติและกวีซีไรต์ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้ให้เกียรติร่ายบทกวี ในพิธีเปิด โดยผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาการแทนอธิการบดี มทร.ล้านนา คณาจารย์และนักศึกษาคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ดำเนินการร่วมกับสมาคมวัฒนหัตถศิลป์ล้านนา จัดนิทรรศการ Koyori Project 2022 ในส่วนกิจกรรมของโครงการ “การยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในภาคเหนือตอนบนด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์และทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากรท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่มูลค่าของผลิตภัณฑ์ ปีที่ 2” โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือเพื่อพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ และเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรและผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมือง ในเขตภาคเหนือตอนบนให้มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นเมืองที่มีความแตกต่าง และโดดเด่นที่ตรงกับความต้องการของตลาด ในยุค New […]

4 อีเวนท์ดาราศาสตร์ยิ่งใหญ่ส่งท้ายปี

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เตรียมจัดเต็ม 4 อีเวนท์ใหญ่ส่งท้ายปี 2565 ชวนชมปรากฏการณ์สำคัญและร่วมกิจกรรมดาราศาสตร์อัดแน่นทุกสัปดาห์ตลอดเดือนธันวาคมนี้  1 ธ.ค. – ดาวอังคารใกล้โลก / 14 ธ.ค. – ฝนดาวตกเจมินิดส์ / 23-25 ธ.ค. – Night at the Museum และ 31 ธ.ค. – ชมพาเหรดดาวเคราะห์ พร้อมเคาท์ดาวน์ ดูดาวข้ามปีกับ NARIT พบกันที่ 4 จุดสังเกตการณ์หลัก ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ และหอดูดาวภูมิภาค นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา  นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ เปิดเผยว่า ตลอดเดือนธันวาคมนี้ สดร. เตรียมจัดเต็ม 4 […]

1 ธันวาคม ชวนจับตา “ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด” 

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนจับตา “ดาวอังคารใกล้โลก” 1 ธันวาคม 2565  ปรากฏสีส้มแดงสว่างเด่นชัดตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า เตรียมจัดส่องพื้นผิวและขั้วน้ำแข็งดาวอังคารผ่านกล้องโทรทรรศน์ 4 แห่งที่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือรับชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ผ่านทาง https://www.facebook.com/NARITpage  นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 ธันวาคม 2565 ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ห่างจากโลกประมาณ 81.5 ล้านกิโลเมตร จากนั้นจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 (ดวงอาทิตย์ โลก และดาวอังคารจะเรียงตัวอยู่ในเส้นเดียวกัน) ในช่วงดังกล่าว หลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าดาวอังคารจะปรากฏสว่างมากทางทิศตะวันออก มีสีส้มแดง และสว่างเด่นชัดอยู่บนท้องฟ้าตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากชมผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาด 10 นิ้ว กำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะสามารถมองเห็นรายละเอียดของพื้นผิว […]

สัญญาณเมเซอร์แรกของกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยทีมวิศวกรศูนย์ปฏิบัติการดาราศาสตร์วิทยุ และนักวิจัยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกันทดสอบระบบการทำงานกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติในโหมดสังเกตการณ์สเปกตรัม และประสบความสำเร็จในการรับสัญญาณแรกของ “เมเซอร์” จากบริเวณก่อกำเนิดดาวฤกษ์มวลมาก Westerhout 49 North (W49N) ด้วยอุปกรณ์รับสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุย่านแอล (L-band) เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา หลังจากก่อนหน้านี้รับสัญญาณจากทางช้างเผือกและพัลซาร์ได้สำเร็จ เมเซอร์ (MASER: Microwave Amplification by Stimulated Emission of Radiation) คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ พบในวัตถุอวกาศ เช่น แก๊สรอบดาวหาง ชั้นบรรยากาศดาวฤกษ์ กลุ่มแก๊สก่อกำเนิดดาวฤกษ์ ฯลฯ เกิดจากอนุภาคหรือโมเลกุลถูกกระตุ้น (excited state) ทำให้ปลดปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มสูงออกมาพร้อม ๆ กันและเหนี่ยวนำให้อนุภาคอื่นเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ถ้าผลลัพธ์ออกมาเป็นคลื่นแสงที่ตามองเห็น เรียกว่า Laser (Light Amplification by Stimulated Emission […]

ชาวไทยแห่ชมจันทรุปราคาเต็มดวงคืนวันลอยกระทงคึกคักทั่วประเทศ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยภาพปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงเหนือฟ้าเมืองไทย ขณะเกิดคราสเต็มดวง ดวงจันทร์เต็มดวงปรากฏเป็นสีแดงอิฐ มีดาวยูเรนัสปรากฏอยู่ด้านขวา บันทึกภาพ ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา เวลาประมาณ 18:29 น. ช่วงหัวค่ำวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งตรงกับวันลอยกระทงในปีนี้ มีประชาชนชาวไทยให้ความสนใจติดตามชมปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ครั้งนี้กันอย่างคึกคักทั่วประเทศ นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 เกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 15:02 – 20:56 น. (ตามเวลาประเทศไทย) เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่ดวงจันทร์โผล่พ้นขอบฟ้า เวลาประมาณ 17:44 น. เป็นต้นไป ทางทิศตะวันออกตรงกับช่วงที่กำลังเกิดคราสเต็มดวง มองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงปรากฏเป็นสีแดงอิฐ จนถึงเวลาประมาณ 18:41 น. จากนั้นเริ่มเห็นดวงจันทร์ปรากฏเว้าแหว่งบางส่วนและค่อยๆ ออกจากเงามืดของโลก […]

เริ่มแล้ว! “เทศกาลชมดาว…รับลมหนาว 2565-2566”

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิด “เทศกาลชมดาว…รับลมหนาว 2565-2566” จัดเต็มกิจกรรมดาราศาสตร์ โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเปิดงาน ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ พร้อมหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา พร้อมเปิดโผ 10 กิจกรรมดาราศาสตร์ที่น่าสนใจตลอดช่วงฤดูหนาวนี้ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในจุดมุ่งหมายของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังการระบาดของโรคโควิด-19 เช่นนี้ ผู้คนเริ่มกลับมาท่องเที่ยวกันมากขึ้น จังหวัดของเราก็มีศักยภาพที่จะรองรับนักท่องเที่ยวเหล่านั้นให้มาสัมผัสกับสถานที่ท่องเที่ยว ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม และกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ อีกบทบาทที่ควรส่งเสริมและพัฒนา คือการเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นับเป็นกลไกหลักประการหนึ่งที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนและนำพาประเทศให้สามารถพัฒนาสู่ความก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศภายใต้กระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญยิ่งในการผลักดันให้จังหวัดเชียงใหม่พัฒนาเป็นศูนย์กลางทางดาราศาสตร์ของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้าง “หอดูดาวแห่งชาติ” ที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์และมีสำนักงานใหญ่ที่เรียกว่า “อุทยานดาราศาสตร์ […]

สดร.เดินหน้ามอบท้องฟ้าจำลอง เพื่อการเรียนรู้ระดับโรงเรียน 2565

สดร.เดินหน้ามอบท้องฟ้าจำลอง เพื่อการเรียนรู้ระดับโรงเรียน ประจำปี 2565 รุ่นที่ 2 เฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เดินหน้าโครงการท้องฟ้าจำลองเพื่อการเรียนรู้ระดับโรงเรียน ประจำปี 2565 รุ่นที่ 2 มอบชุดท้องฟ้าจำลอง DIY ระดับโรงเรียนอีก 50 ชุด เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา เชิญชวนโรงเรียนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่บัดนี้ – 30 พฤศจิกายน 2565 ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สดร. ได้จัดโครงการท้องฟ้าจำลองเพื่อการเรียนรู้ระดับโรงเรียน ประจำปี 2565 คัดเลือกโรงเรียนที่สนใจและมีความพร้อมในการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ทั้งในโรงเรียนและชุมชน รับมอบ “ชุดท้องฟ้าจำลองเพื่อการเรียนรู้ระดับโรงเรียน” […]

5 พ.ย.นี้ เปิด “เทศกาลชมดาว…รับลมหนาว 2565-2566”

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เตรียมเปิด “เทศกาลชมดาว…รับลมหนาว 2565-2566” จัดเต็มกิจกรรมดาราศาสตร์ ประเดิมงานแรก 5 พฤศจิกายน 2565 ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ.เชียงใหม่ และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา พร้อมเปิดโผ 10 กิจกรรมดาราศาสตร์ที่น่าสนใจตลอดช่วงฤดูหนาวนี้ นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการ ศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน–มีนาคม เป็นช่วงที่เหมาะแก่การดูดาวเป็นอย่างยิ่งในเขตภาคเหนือ เนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ท้องฟ้ามีทัศนวิสัยดี ไม่มีเมฆฝนบดบัง จึงถึงเวลาเปิดฤดูกาลชมดาวทุกคืนวันเสาร์อีกครั้ง ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ สำหรับหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา เปิดให้บริการตามปกติเช่นเดิม เพิ่มเติมคือพาเหรด 10 กิจกรรมดาราศาสตร์สุดพิเศษตลอดฤดูหนาว ดังนี้ 1) […]

“จันทรุปราคาเต็มดวง” ในคืนวันลอยกระทง 8 พ.ย. นี้

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผย 8 พฤศจิกายน 2565 จะเกิด “จันทรุปราคาเต็มดวง” เหนือฟ้าเมืองไทย ตรงกับคืนวันลอยกระทง “ดวงจันทร์เต็มดวงจะปรากฏเป็นสีแดงอิฐ” ในช่วงหัวค่ำตั้งแต่ดวงจันทร์โผล่พ้นขอบฟ้าเวลา 17:44 – 18:41 น. นาน 57 นาที สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วไทย  นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. เปิดเผยว่า วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ที่จะถึงนี้ จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา ตั้งแต่เวลาประมาณ 15:02 – 20:56 น. (ตามเวลาประเทศไทย) สามารถสังเกตได้จากหลายพื้นที่ทั่วโลก ได้แก่ ทวีปยุโรปตอนเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย ทวีปอเมริกาเหนือ บางส่วนของทวีปอเมริกาใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย ขั้วโลกเหนือ และบางส่วนของขั้วโลกใต้  ดวงจันทร์จะเริ่มเข้าสู่เงามัวของโลกเวลา […]

27 ก.ย. นี้ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกสุดในรอบ 59 ปี

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผย 27 กันยายนนี้ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบ 59 ปี ปรากฏสว่างมากทางทิศตะวันออก ดูได้ด้วยตาเปล่ายาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว และมีกำลังขยายตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป จะเห็นแถบเมฆบนดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์กาลิเลียนได้อย่างชัดเจน เตรียมตั้งกล้องชวนคนไทยส่องดาวพฤหัสบดีใกล้โลก 4 จุดสังเกตการณ์หลัก เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. เปิดเผยว่า วันที่ 27 กันยายน 2565 ดาวพฤหัสบดีจะโคจรเข้ามาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ โลก และดาวพฤหัสบดีจะเรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีโลกอยู่ตรงกลาง เป็นตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 591 ล้านกิโลเมตร ปกติแล้วดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาใกล้โลกทุกปี และครั้งนี้ยังถือเป็นการโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบ 59 ปี นับตั้งแต่เดือนตุลาคม […]

23 ก.ย. 65 “วันศารทวิษุวัต” เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผย 23 กันยายน นี้ “วันศารทวิษุวัต” เป็นวันที่เวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี นับเป็นวันที่ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง และประเทศซีกโลกใต้ย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่าวันที่ 23 กันยายน 2565 เป็นวัน “ศารทวิษุวัต” (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) เวลากลางวันเท่ากับกลางคืน คำว่า “Equinox” มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน 2 คำ คือ Aequus แปลว่า เท่ากัน และ Nox แปลว่า กลางคืน ดังนั้น Equinox หมายถึงวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ซึ่งตรงกับคำว่า “วิษุวัต” แปลว่า “จุดราตรีเสมอภาค” วันดังกล่าว ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 06:07 น. และจะตกลับขอบฟ้า […]

1 2 3