74483

PM 2.5 จะมาแล้ว ทุกภาคส่วนเตรียมรับมือรึยัง?

ดูเหมือนว่า ปัญหาฝุ่นควันจะเริ่มกลับมาอีกครั้ง หลากจากที่หลายฝ่ายเริ่มออกมาเตือนแล้ว ประกอบกับปรากฏการณ์เอลนีโญ่ ที่ส่งผลให้ปลายปีนี้ จนถึงปีหน้า ประเทศไทยจะเผชิญกับภาวะแห้งแล้งอย่างหนัก ซึ่งจะทำให้ปัญหาไฟป่าและฝุ่นควันรุนแรงมากขึ้น สำหรับความเคลื่อนไหวฝั่งรัฐบาล ล่าสุดเมื่อว้นที่ 13 ธันวาคม นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ได้แถลงข่าวประเด็นปัญหาหมอกควันล่าสุด โดยปัจจุบันได้มีการผลักดันพระราชบัญญัติอากาศสะอาด ผ่านเข้าสู่คณะรัฐมนตรีแล้ว และจะนำเข้าสู่รัฐสภาหลังจากผ่านขั้นตอนกฤษฎีกาแล้ว รวมทั้งยังได้มีการตั้งคณะกรรมการศึกษาฝุ่นพิษอย่างยั่งยืน คือ คณะกรรมการ PM 2.5 แห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งจะเป็นการทำงานแบบ Quick Win ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ระหว่างที่กฎหมายหรือพระราชบัญญัติกำลังพิจารณาอยู่ในรัฐสภา นอกจากนี้ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลได้เร่งดำเนินการต่างๆ เพื่อวางแผนรับมือปัญหาที่จะเกิดขึ้น เช่น การเพิ่มมาตรการภาษีบริเวณเขตชายแดนของการนำเข้าสินค้าม, การใช้รถยนต์ไฟฟ้า EV , การเพิ่มโทษ (Polluters Pay Principle: PPP) ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย โดยตั้งเป้าหมายว่าปีนี้เป็นปีสุดท้ายที่เกิดปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ขณะที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้เตรียมและยกระดับมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 […]

กรมอนามัย เตือนอากาศเย็นค่าฝุ่นเริ่มสูง แนะหน้ากากสำหรับป้องกันฝุ่น PM2.5

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนจากสถาการณ์อากาศที่เริ่มเย็นลง ความกดอากาศต่ำ ส่งผลให้ปริมาณฝุ่นสูงขึ้น แนะนำวิธีการเลือกและสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นให้ถูกต้อง เพื่อลดการสูดฝุ่นเข้าสู่ร่างกาย ย้ำ เช็กค่าฝุ่น PM2.5 เป็นกิจวัตรประจำวันทุกเช้า แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า สถานการณ์ฝุ่น PM2.5  วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 พบ ปริมาณฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐานอยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพในหลายพื้นที่ ทั้งภาคเหนือ ภาคกลางและตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก สุพรรณบุรี หนองคาย นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ นครปฐม รวมทั้ง กรุงเทพมหานคร โดยค่า PM2.5 สูงสุดที่ ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งจากสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่สะสมตัวมากขึ้น ส่งผลให้ในบางพื้นที่มีค่าฝุ่นอยู่ในระดับสีส้มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ  ประกอบกับช่วงนี้อากาศเริ่มหนาวเย็น ความกดอากาศต่ำ ส่งผลให้ค่าฝุ่นสูง […]

เชียงราย ถอดบทเรียนปัญหาหมอกควันไฟป่า และ PM2.5

เชียงราย ถอดบทเรียนปัญหาหมอกควันไฟป่า และ PM2.5 เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน วันที่ 22 พ.ค.66 ผศ.ดร.นิอร ศิริมงคลเลิศกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเชียงราย ผศ.ดร.จิราพร ขุนศรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผศ.ดร.นพชัย ฟองอิสสระ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ดร.อภิญญา ดิสสะมาน สถาบันพระปกเกล้า ได้เป็นวิทยากรในการ ถอดบทเรียน การเผาและการจัดการเชื้อเพลิงกับปัญหาไฟและฝุ่นในชุมชน ด้วยวิธี “การประชาเสวนา” (Citizen Dialogue) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “การยกระดับการบริหารเชื้อเพลิงหรือการชิงเผาด้วยนวัตกรรม Burn Check ในชุมชนเสี่ยงต่อการเผา” ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงราย เป็นหัวหน้าโครงการ ในการถอดบทเรียนในครั้งนี้ ได้มี นายอุดม ปกป้องบวรกุล นายอำเภอแม่สรวย ได้นำคณะวิจัย พบปะกับ ผู้บริหาร ผู้นำชุมชนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ และองค์การบริหารส่วนตำบลแม่พริก อ.แม่สรวย […]

เดินหน้าประสานเครือข่ายท้องถิ่น เพื่อรู้-รับ-ปรับตัว pm 2.5 ภ.เหนือ

สสส.จับมือ GISTNORTH มช. และเครือข่ายทุกภาคส่วน เดินหน้าประสานพลังเครือข่ายท้องถิ่น เพื่อการ รู้-รับ-ปรับตัว (resilience) จากภัยฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm 2.5 พื้นที่ภาคเหนือ นักวิจัยยืนยัน pm 2.5 ภัยอันตรายถึงชีวิต เชียงใหม่ 18 พ.ค.66 ที่โรงแรมเซ็นทาราริเวอร์ไซด์ เชียงใหม่ นายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ประธานกรรมการกำกับทิศทางของแผนสุขภาวะชุมชน สสส.เป็นประธานเปิดเวที “เวทีวิชาการประสานพลังเครือข่ายท้องถิ่นเพื่อการ รู้-รับ-ปรับตัว (resilience) จากภัยฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm 2.5 พื้นที่ภาคเหนือ โดยศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ(GISTNORTH) คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้น โดยมี ดร.พลภัทร เหมวรรณ ผู้อำนวยการ ศูนย์ GISTNORTH รายงานถึงวัตถุประสงค์ ในฐานะหัวหน้าโครงการจัดเวทีครั้งนี้ โดยมีวิทยากรเกี่ยวข้องร่วมในการ เสวนาวิชาการ “สานพลัง ร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในสังคมไทย” ประเด็น 1. สถานการณ์ปัญหาฝุ่นควัน PM […]

ฝุ่นพิษอ่วม! เชียงใหม่ ขอทุกหน่วยงาน Work from Home 1 วัน

ผวจ.เชียงใหม่ ออกประกาศ ขอความร่วมมือทุกหน่วยงาน Work from Home หลังพบฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินมาตรฐาน ตลอด 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา เพื่อป้องกันและลดผลกระทบ ต่อสุข ภาพของประชาชน วันที่ 6 เมษายน 2566 นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกประกาศจังหวัดเชียงใหม่ ให้หน่วยงานภาครัฐทุกแห่ง จัดระบบการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ในส่วนภารกิจที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการบริการประชาชน เนื่องด้วยจังหวัดเชียงใหม่ มีสถานการณ์หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ผ่านมามีค่าเกินค่ามาตรฐาน (อยู่ระหว่าง 112-398 มคก/ลบ.ม) และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จึงได้ออกประกาศฉบับดังกล่าว เพื่อเป็นการป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ในพื้นที่ โดยขอความร่วมมือให้หน่วยงานภาครัฐทุกแห่ง จัดระบบการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ในส่วนภารกิจที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการบริการประชาชน และหากจัดประชุมให้พิจารณาประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอ นิกส์ ส่วนสถานบริการ […]

กรมสุขภาพจิต ห่วงใยชาวเชียงใหม่ จากภัย PM 2.5

กรมสุขภาพจิต ห่วงใยชาวเชียงใหม่ จากภัย PM 2.5 ประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมแผนเยียวยาทั้งทางกายและใจ เน้นย้ำประชาชนตระหนักแต่ไม่ตระหนก จากการเสพข่าวสาร เพื่อลดความเสี่ยงจากความเครียด นพ.กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง เปิดเผยถึงสถานการณ์ปัญหาหมอหควันที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ และจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนี้กรมสุขภาพจิตได้มอบหมายให้โรงพยาบาลสวนปรุงติดตามสถานการณ์กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนในจังหวัดเชียงใหม่อย่างใกล้ชิด ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5 ) ขึ้นอย่างเป็นทางการ พร้อมเน้นย้ำการประสานงานเพื่อให้ข้อมูลกับประชา ชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ได้รับข่าวสารปลอมและเกิดความตื่นตระหนก ซึ่งจากข้อมูลของศูนย์ระวังคุณ ภาพอากาศ บริเวณโรงพยาบาลสวนปรุงพบว่า คุณภาพของอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างมากหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน สูงถึง 221 (μg/m3) โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว ซึ่งส่งผลทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจ และระบบหลอดเลือด ทั้งนี้จากการสำรวจผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสวนปรุง จำนวน 100 คน พบว่าผู้รับบริการได้รับผลกระทบมากกว่าร้อยละ 70 มีอาการแสบเคืองจมูก มีน้ำมูก และมีอาการระคายเคืองเยื่อบุตา รวมถึงเฝ้าระวังกลุ่มเปราะบางที่มีความเครียดอยู่เดิม […]

สธ. เฝ้าระวังฝุ่น PM 2.5 พบ 3 เดือน ป่วยกว่า 2 ล้านคน

31 มีนาคม 2566 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ข้อมูลวันที่ 31 มีนาคม 2566 ช่วงเวลา 06.00 น. ค่าเฉลี่ยฝุ่น 24 ชั่วโมง พบว่า ภาคเหนือยังอยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยค่าสูงสุดอยู่ที่ ต.เวียงใต้ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน 446 มคก./ลบ.ม. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นมา มีรายงานผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศสะสมแล้ว 2,019,854 ราย เฉพาะเดือนมีนาคมนี้ พบกลุ่มโรคที่เจ็บป่วยสูงสุด ได้แก่ กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ตามด้วยโรคผิวหนังอักเสบ และโรคตาอักเสบ ได้สั่งการให้หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และสื่อสารแจ้งเตือนผลกระทบทางสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้น เตรียมอาคารสถานที่และครุภัณฑ์ต่างๆ การจัดบริการทางการแพทย์ สถานที่สำรองหรือจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเมื่อจำเป็น พร้อมทั้งสำรองยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้เพียงพอต่อการให้บริการ             […]

เชียงใหม่จุดความร้อนพุ่ง! พบมากสุดในไทย

จุดความร้อนในไทยวานนี้ ลดลงเหลือ 2.8 พันจุด พบที่เชียงใหม่มากที่สุด ส่วน PM 2.5 เช้านี้ที่แม่ฮ่องสอน พุ่งกว่า 5 ร้อยไมโครกรัม GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของวันที่ 29 มีนาคม 2566 ไทยพบจุดความร้อน 2,870 จุด โดยมีเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา ขึ้นนำอยู่ที่ 3,964 จุด, สปป.ลาว 2,139 บาท, เวียดนาม 205 จุด, กัมพูชา 195 จุด และมาเลเซีย 53 จุด สำหรับจุดความร้อนในประเทศไทย ส่วนใหญ่พบในพื้นป่าอนุรักษ์ 1,479 จุด, พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 1,080 จุด, พื้นที่ชุมชนอื่นๆ 111 จุด, พื้นที่เกษตร 100 จุด, พื้นที่เขต สปก. […]

สธ.เผยคนป่วยเพิ่ม 1.7 ล้านคนจากมลพิษทางอากาศ

28 มีนาคม 2566 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ของประเทศไทยที่สูงเกินค่ามาตรฐานในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพในหลายพื้นที่ ว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งได้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 17 จังหวัด และพื้นที่ที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน 6 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน และพิจารณาเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขตามสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งดำเนินงานตามแนวทาง “3 มาตรการ 10 กิจกรรมสำคัญ” ได้แก่ 1) มาตรการลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฝ้าระวังสถานการณ์และแจ้งเตือนความเสี่ยงต่อสุขภาพ, เฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ, ยกระดับการสื่อสารเชิงรุก, สร้างความรอบรู้และสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 2) มาตรการจัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลแก่กลุ่มเสี่ยง, เปิดคลินิกมลพิษ/จัดเตรียมห้องปลอดฝุ่น,จัดระบบปฏิบัติการเชิงรุก เพื่อดูแลประชาชน และ 3) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยมีระบบบัญชาการเหตุการณ์เมื่อเข้าสู่ระยะวิกฤต, ส่งเสริมและขับเคลื่อนกฎหมาย พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562 และส่งเสริมองค์กรลดมลพิษ […]

แพทย์ชี้ชัด ฝุ่น PM 2.5 เป็นสาเหตุเกิดมะเร็งปอด

เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2566จากสถานการณ์ปัญหาฝุ่นควัน ไฟป่า และคุณภาพอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ยังคงรุนแรงต่อเนื่องนานนับเดือนแล้ว ทั้งนี้รองศาสตราจารย์นายแพทย์เฉลิม ลิ่วศรีสกุล หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์และอาจารย์ประจำหน่วยวิชาระบบการหายใจ เวชบำบัดวิกฤตและภูมิแพ้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนอย่างแน่นอน ทั้งผลกระทบในระยะสั้น และผลกระทบในระยะยาว โดยผลกระทบระยะสั้นนั้น ในกรณีผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว หากส่วนใดของร่างกายที่สัมผัสฝุ่น จะเกิดอาการตามมาในเวลาไม่นาน เช่น แสบตา,แสบจมูก,ระคายคอ,น้ำมูกไหล,เลือดกำเดาไหล และคันตามผิวหนัง เป็นต้น แต่หากเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหืดหอบ,โรคถุงลม,โรคหัวใจ และโรคเส้นเลือดสอง จะอันตรายกว่า และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เพราะอาการอาจกำเริบหนักและถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งในช่วงนี้ที่เกิดสถานการณ์ปัญหามลพิษอากาศพบว่ามีผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องเข้ารับการรักษาตัวเพิ่มขึ้นมาก ขณะที่ผลกระทบในระยะยาวนั้น การสูดหายใจรับอากาศที่มีฝุ่น PM 2.5 เข้าไปสะสมต่อเนื่องจะส่งผลทำให้การทำงานของปอดแย่ลง และหากสะสมต่อเนื่องยาวนานเป็นสิบปีอาจเลวร้ายถึงขั้นทำให้เป็นมะเร็งปอดได้ โดยที่ผ่านมาจะพบเห็นได้ว่ามีผู้ป่วยมะเร็งปอดที่เป็นกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อยๆ และไม่ได้สูบบุหรี่ รวมทั้งไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเชื่อได้ว่าปัจจัยสำคัญน่าจะมาจากมลพิษฝุ่นควัน ทั้งนี้นอกจากผลกระทบต่อระบบหายใจแล้ว สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นคือ ฝุ่น PM 2.5 ยังมีผลร้ายต่อหัวใจและสมองด้วย เพราะฝุ่น PM2.5 มีองค์ประกอบเป็นฝุ่นขนาดจิ๋วหรือที่เรียกว่าฝุ่นนาโน […]

ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ สั่งยกระดับ ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากหมอกควัน

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ สั่งยกระดับ ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก ระดมทุกภาคส่วนร่วมแก้ปัญหา วันนี้ (28 มี.ค. 66) ที่ห้องประชุม 4 ชั้น 4 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการแถลงข่าวสื่อมวลชนประจำสัปดาห์จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมเปิดเผยถึงสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ ว่าตั้งแต่วันที่ 1-26 มีนาคม 2566 จังหวัดเชียงใหม่ มีจุดความร้อนสะสมแล้วจำนวน 1,751 จุด เป็นลำดับที่ 6 ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม ที่ผ่านมา จุดความร้อนมีจำนวนที่สูง ซึ่งสอดคล้องกับจังหวัดและประเทศข้างเคียงที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้กำชับให้ทุกหน่วยควบคุมจุดความร้อนให้น้อยลงและดับจุดความร้อนให้ได้ภายใน 1 วัน ซึ่งส่วนใหญ่สามารถดำเนินการได้ ขณะที่การส่งเครื่องบินขึ้นไปทำฝนหลวงนั้น พบว่าในช่วง 7 วันนี้ ความชื้นในอากาศยังไม่สูงเพียงพอที่จะทำให้เกิดฝนได้ ประกอบกับในห้วงปัจจุบัน ยังไม่มีแนวโน้มที่จะมีฝนตกจากธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม […]

ศูนย์วิจัยฯ มช. พยากรณ์ค่ามลพิษ ยังหนักไปอีกอย่างน้อย 3 วัน

วันที่ 28 มี.ค.66 รายงานข่าวแจ้งว่า สภาพฝุ่นควันจากไฟป่าที่ปกคลุมทั่วเมืองเชียงใหม่ ตลอดช่วงบ่ายวันนี้ยังไม่มีแนวโน้มจะลดลง โดยพบว่าพื้นที่ฝุ่นหนาแน่นที่สุดอยู่ในอำเภอทางตอนเหนือของจังหวัด โดยเฉพาะที่ อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง อำเภอไชยปราการ และ อำเภอเชียงดาว ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือ ซีซีดีซี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รายงานปริมาณฝุ่นพีเอ็ม 2.5 รายชั่วโมงสูงสุดในเวลา 13.00 น. อยู่ที่ตำบลแมอาย อำเภอแม่อาย 545 มคก./ลบ.ม. ส่วนพื้นที่อำเภอเมืองสูงสุดที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 304 มคก./ลบ.ม.โดยพบว่าตัวเลขพีเอ็ม 2.5 ในพื้นที่บริเวณใกล้ดอยสุเทพมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าจุดอื่น ๆ ในพื้นที่เขตตัวเมือง คาดว่าจะมาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีแนวดอยสุเทพขวางกั้น ทำให้การระบายของลมเกิดขึ้นได้น้อย ทำให้เกิดการกักตัวของฝุ่นควันมากกว่าพื้นที่อื่น และจากการพยากรณ์ค่ามลพิษล่วงหน้าของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานการณ์ของภาคเหนือตอนบน จะเป็นแบบนี้ไปอีกอย่างน้อย 3 วัน ล่าสุดทาง ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกาศแจกหน้ากากอนามัยป้องกันพีเอ็ม 2.5 ให้กับภาคประชาชนและผู้มีความต้องการ โดยเฉพาะในพื้นที่ประสบภัยมลพิษทางอากาศ ในโครงการ Mask4All โดยสามารถแจ้งความประสงค์ขอรับหน้ากากป้องกันฝุ่นได้ที่เพจเฟซบุ๊ก […]

1 2 3 4