วิถีเกษตรต้นตอฝุ่น PM 2.5 ที่กำลังจะถูกควบคุมโดย พรบ.อากาศสะอาด

ชาวนากำลังเตรียมทำนาปรังและเกษตรกรปลูกข้าวโพดมีการเร่งเผาตอซังข้าวและตอซังข้าวโพดในหลายอำเภอทำให้ในตอนนี้ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน เกษตรกรยืนยันว่าจำเป็นต้องทำ เพราะถ้าไม่เร่งเผาจะทำนาปรังไม่ทันชลประทานปล่อยน้ำและทันฤดูเก็บเกี่ยวดังนั้นต้องเร่งกำจัดตอซังให้ทันเพื่อเตรียมเพาะปลูก 

หลายๆ จังหวัดที่มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน จึงต้องเฝ้าระวังต้องคอยดูแลกลุ่มเปราะบางเช่น เด็กและผู้สูงอายุ โดยในเขตพื้นที่ภาคเหนือในตอนนี้  4 จังหวัดที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานก็คือ พิษณุโลกลำปาง ลำพูนและสุโขทัย โดยค่าฝุ่นมากที่สุดอยู่ที่พิษณุโลก อยู่ที่ 51.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเชียงใหม่จะมีปริมาณค่าฝุ่นในระดับกลางเนื่องจากสภาพอากาศที่มีฝนโปรยปรายและอากาศหนาวเย็น แต่นั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวเนื่องจากเชียงใหม่จะมีปัญหาหมอกควันและฝุ่นในช่วงเดือนเมษายนของทุกๆ ปี ในห่วงเวลานับย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมาเชียงใหม่เป็นอีก 1 จังหวัดที่ปัญหาฝุ่นควันเป็นปัญหาอันดับ 1 และเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไข ดังนั้นเชียงใหม่ต้องเตรียมตัวเพื่อรับกับปัญหาของการเผาและฝุ่นอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้

ปัญหาการเผาทางการเกษตรไม่ใช่ปัญหาใหม่และยังสร้างมลพิษในอากาศสูง ด้านผู้เผาก็ยืนยันว่าก็มีความจำเป็นต้องเผาเพราะว่าปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวบังคับในขณะที่ พรบ.อากาศสะอาด ที่กำลังผลักดันเพื่อที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาฝุ่นควันทั้งประเทศจะมีวิธีการอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาการเผาพื้นที่การเกษตรและเพื่อจะบรรจุลงไปในพรบอากาศสะอาด

อาจารย์ชัชวาล ทองดีเลิศ ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ ได้กล่าวไว้ว่า กฎหมายควบคุมการเผาพื้นที่การเกษตรมันก็มีอยู่แล้วแต่ทำไมทุกวันนี้ก็ยังพบกันเผากันอย่างชัดเจน การใช้กฎหมายบังคับใช้ไม่ได้หรือว่ายังไง

ประเด็นคือมันไม่ตอบโจทย์เกษตรกรที่เขาทำเขาเรียกว่าเกษตรเชิงเดี่ยว เช่น นาข้าว อ้อย ข้าวโพดวิธีการจัดการพวกวัสดุการเกษตรของเขาที่ง่ายและลงทุนต่ำสุด คือ การเผา เราจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมนี้

แนวทางที่ 1 คือ ต้องมีนโยบายป้องกัน คือ การแปรรูปไปสู่การมีรายได้ทางเศรษฐกิจ เช่น ตอซังข้าว มันน่าจะไปทำอะไรที่เป็นรายได้ทางเศรษฐกิจได้บ้าง คือ เราจะมาแก้ตอนเผาคงไม่ทันมันต้องเป็นนโยบายเชิงป้องกันและการแปรรูปไม่ว่าจะเป็น ตอซังข้าว อ้อยหรือตอซังข้าวโพด ไปเป็นวัสดุที่เป็นรายได้ทางเศรษฐกิจของเกษตรกรด้วย สิ่งนี้คือสิ่งที่จะต้องทำเป็นอย่างแรก เช่น อัดก้อน อัดแท่ง ทำอาหารสัตว์ ทำเชื้อเพลิง สิ่งเหล่านี้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรฯ ที่น่าจะต้องรับผิดชอบ ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรฯ ไม่ได้เน้นกระบวนการป้องกันเหล่านี้ให้ชัดเจน 

แนวทางที่ 2 ถ้าสมมุติว่าเกิดมาตรการเรื่องราคา เช่นมาตรการเรื่องแรงจูงใจ กลุ่มที่เผาราคาสินค้าต่ำเพราะต้องชดใช้ค่าเสียหายที่จะต้องนำมาดูแลสิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นมาตรการจูงใจทางราคา ว่าถ้าเกิดไม่มีการเผาราคาสินค้าจะสูงถ้าเกิดเผาราคาจะปรับลดลงไปในราคาต่ำ

มาตรการสุดท้ายเป็นมาตรการทางกฎหมาย ต้องทำควบคู่กันไป  ต้องทำทั้ง 3 อย่างพร้อมกัน

มาตรการทางกฎหมายตอนนี้มีการผลักดัน พรบ.อากาศสะอาด มาตรการกฏหมายจะมีการบรรจุหรือว่าปรับปรุงใหม่อะไร พรบ.อากาศสะอาด ใส่ลงไปเป็นเนื้อหาถ้า พรบ. นี้สำเร็จขึ้นมา มาตรการทางกฎหมายลงโทษอันนี้ต้องชัดเจน แต่ว่าระดับจะแบ่งเป็นหลายส่วน

1. กลุ่มที่ปล่อยมลพิษในกิจการที่ทำกำไร อย่างเช่นโรงงาน รถบรรทุกขนส่ง ถือว่าเป็นธุรกิจสร้างกำไรจะต้องรับผิดชอบ

2. ผู้ปล่อยที่ทำเป็นวิถีชีวิตประจำวัน เช่น ขับรถยนต์หรือว่าทำกินแบบใช้วิธีปกติ จะอยู่ในกลุ่มกลาง กลุ่มที่อยู่ในป่าและได้รับผลกระทบค่อนข้างสูงแล้วก็มีส่วนร่วมในการลุกขึ้นมาดูแลป่าจะต้องมีมาตรการที่ทำให้เกิดความเป็นธรรม

3. กลุ่มเปราะบาง หรือผู้ทุกกระทำ 

โดยสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ คือ 

1. คณะกรรมการเพื่อการจัดการอากาศสะอาด กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนเชิงนโยบายและเชิงวิชาการ และการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ดังนี้ คณะกรรมการนโยบายอากาศสะอาด ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ โดยมีหน้าที่และอำนาจในการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย 

คณะกรรมการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ซึ่งมี รมว.ทส. เป็นประธานกรรมการ โดยมีหน้าที่และอำนาจในการขับเคลื่อนเชิงวิชาการ และคณะกรรมการอากาศสะอาดจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ และ คณะกรรมการอากาศสะอาดพื้นที่เฉพาะ ซึ่งจะแต่งตั้งเมื่อพบว่ามีสถานการณ์และระดับมลพิษทางอากาศในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยมีหน้าที่และอำนาจในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่

2. ระบบการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดของประเทศ กำหนดให้ คณะกรรมการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดดำเนินการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดของประเทศ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยมาตรฐานคุณภาพอากาศสะอาด ระบบเฝ้าระวังเพื่อคุณภาพอากาศสะอาด ระบบฐานข้อมูลคุณภาพอากาศแห่งชาติ กรอบแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด และแผนปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพอากาศ 

3. มาตรการการลดและควบคุมมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด จำแนกได้ 4 ประเภท แหล่งกำเนิดประเภทสถานที่ถาวร แหล่งกำเนิดประเภทเผาในที่โล่ง แหล่งกำเนิดประเภทยานพาหนะ และแหล่งกำเนิดประเภทมลพิษข้ามแดน

4. เขตเฝ้าระวังและเขตประสบมลพิษทางอากาศ โดยกำหนดการประกาศเขตพื้นที่ในกรณีที่มีสถานการณ์พิเศษเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ

5. เครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่ออากาศสะอาด ดังนี้ ภาษีอากรสำหรับอากาศสะอาด ค่าธรรมเนียมการจัดการมลพิษทางอากาศ การกำหนดและโอนสิทธิในการระบายมลพิษทางอากาศ การประกันความเสี่ยง และมาตรการอุดหนุน สนับสนุน หรือส่งเสริมบุคคลหรือกิจกรรมสำหรับอากาศสะอาด

6. ความรับผิดทางแพ่งและบทกำหนดโทษ

เรียบเรียงโดย : บ่าวหัวเสือ

อ่านข่าวเพิ่มเติม :

PM 2.5 จะมาแล้ว ทุกภาคส่วนเตรียมรับมือรึยัง?

ร่วมแสดงความคิดเห็น