28

เกษตรกรยิ้มได้! พอใจราคาลำไย คุณภาพดี ได้มาตรฐานส่งออก

รองผู้ว่าฯ เชียงใหม่ ลงพื้นที่ อำเภอสันป่าตอง และ อำเภอจอมทอง ติดตามสถานการณ์ลำไย ด้านเกษตรกร เผยพอใจกับราคาในปีนี้ วันนี้ (23 ก.ค. 67) นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ไปยังอำเภอสันป่าตอง และอำเภอจอมทอง เพื่อติดตามสถานการณ์ลำไย รวมถึงให้กำลังใจผู้ประกอบการและเกษตรกร ก่อนเข้าสู่ช่วงเดือนสิงหาคมซึ่งคาดว่าจะเป็นเดือนที่มีผลผลิตลำไยออกสู่ตลาดมากที่สุด โดยจุดแรกได้เดินทางไปยังวิสาหกิจชุมชนลำไยมัดปุ๊ก บ้านร่องขุด ตำบลแม่ก๊า อำเภอสันป่าตอง พบปะกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จากนั้นได้เดินทางไปยัง บริษัท เชียงใหม่เฟรชโปรดักส์ จำกัด หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง เพื่อพบปะผู้ประกอบการที่แปรรูปลำไยลูกสดเป็นลำไยอบแห้งทั้งลูกเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ ก่อนเดินทางต่อไปยังบริษัท ตองแปดผักผลไม้ จำกัด ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง ซึ่งจากการลงพื้นที่ในวันนี้ พบว่าผลผลิตลำไยของเชียงใหม่ปีนี้เนื้อแน่น ลูกใหญ่ มีคุณภาพ สามารถส่งออกขายต่างประเทศได้ตามมาตรฐาน ขณะเดียวกันเกษตรกรที่เดินทางมาขายผลผลิตลำไยให้กับผู้ประกอบการหรือล้งรับซื้อลำไย ต่างพึงพอใจกับราคาลำไยในปีนี้เป็นอย่างมาก

แพลททินัม ฟรุ๊ต แนะเกษตรกรสวนลำไยเปลี่ยนวิธีปลูกเชิงอุตสาหกรรม พัฒนาเกรดส่งออก แก้ปัญหาล้นตลาด

แพลททินัม ฟรุ๊ต แนะเกษตรกรสวนลำไยภาคเหนือเปลี่ยนวิธีปลูกเชิงอุตสาหกรรม พัฒนาเกรดส่งออกมุ่งตลาดจีน อินโดนีเซีย อินเดีย แก้ปัญหาล้นตลาดราคาตก ​นายณธกฤษ เอี่ยมสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลททินัม ฟรุ๊ต จำกัด ผู้ส่งออกผลไม้สดเกรดพรีเมี่ยมรายใหญ่ของไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีความชำนาญในธุรกิจส่งออกลำไยมากกว่า 10 ปี เริ่มต้นก่อตั้งโรงงานลำไยสดแห่งแรกที่ อำเภอจอมทอง เชียงใหม่ เพื่อขยายตลาดการส่งออกและตอบรับความต้องการที่สูงขึ้นจากตลาดต่างประเทศ จากนั้นขยายโรงงานเพิ่มเติมที่อำเภอป่าซาง ลำพูน อำเภอสอยดาว จันทบุรี และล่าสุดคือที่สระแก้วเพิ่งเปิดเมื่อปลายปี 2566 โดยปัจจุบันมีปริมาณการส่งออกลำไยสดและลำไยแกะเม็ดแช่แข็ง รวมปีละกว่า 20,000 ตัน ตลาดหลักในการส่งออก ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย และตลาดล่าสุดที่เข้าไป คือ อินเดีย โดยจะเห็นได้ว่าแต่ละตลาดที่แพลททินัม ฟรุ๊ต เข้าไปเป็นตลาดที่มีจำนวนประชากรสูง ซึ่งจะสัมพันธ์ไปกับปริมาณการบริโภคอย่างมีนัยสำคัญ ​“ประเทศไทยเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่สามารถปลูกและส่งออกลำไยได้ และเชื่อว่ายังมีโอกาสเติบโตที่เปิดกว้างอยู่มากหากนำสินค้าเข้าไปถูกตลาด โดยเฉพาะลำไยสดช่อคุณภาพเกรด AA และ A ที่แพลททินัม ฟรุ๊ต นำไปเจาะตลาดระดับบนของกลุ่มที่มีกำลังซื้อในแต่ละประเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกิดค่านิยม […]

เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เผยสถานการณ์ลำไยปี 2567 คาดผลผลิตคุณภาพดีขึ้น ราคางาม

สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เผยสถานการณ์ลำไยปี 2567 คาดว่าปีนี้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น ราคางาม วันนี้ (16 ก.ค. 67) นายธีรพงษ์ ทาหล้า นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยผ่านการแถลงข่าวสื่อมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 4 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ถึงสถานการณ์ลำไย ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2567 ว่าจังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ให้ผลผลิตลำไย ทั้งหมดจำนวน 448,000 กว่าไร่ โดยมีช่วงการผลิต 2 ช่วง คือ ลำไยในฤดูซึ่งเป็นช่วงที่กำลังให้ผลผลิตอยู่ขณะนี้ จำนวนกว่า 305,000 ไร่ และลำไยนอกฤดู จำนวนกว่า 142,000 ไร่ โดยผลผลิตลำไยในฤดูในช่วงนี้จะมีมากในอำเภอจอมทอง พร้าว เชียงดาว สันป่าตอง ไชยปราการ สารภี และอำเภอดอยหล่อ ซึ่งคาดว่าลำไยในฤดู ของจังหวัดเชียงใหม่จะออกสู่ท้องตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคม ที่กำลังจะถึงนี้ และคาดว่าจะมีจำนวนผลผลิตลำไยในฤดู จำนวนทั้งสิ้น 248,000 ตัน ส่วนลำไยนอกฤดู […]

เกษตรกรแม่ฮ่องสอน พลิกผืนดินดอยแนวชายแดน ปลูกทุเรียนหมอนทอง

เกษตรกรแม่ฮ่องสอน พลิกผืนดินดอยแนวชายแดน ปลูกทุเรียนหมอนทอง ปีที่ 6 เห็นผล ทุเรียนดกเต็มต้น ดีเดย์สิ้นเดือนกรกฏาคมนี้ เตรียมตัดขาย คาดรายได้งามเป็นแสน ที่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านคาหาร ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน นายสมหมาย อายุ 48 ปี ทิ้งอาชีพรับจ้างทำสวนลิ้นจี่ที่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ กลับมาพลิกผืนดินดอยเนื้อที่กว่า 3 ไร่ 31 ตารางวา ปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง จำนวนกว่า 50 ต้น ลองผิดลองถูกเพราะไม่มีความรู้เรื่องการปลูกทุเรียนเลย การปลูกทุเรียนของนายสมหมาย เป็นแบบการพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การตัดแต่งควบคุมทรงพุ่มและการให้น้ำ สำหรับต้นทุเรียน จะต้องคอยตัดแต่งทรงพุ่มไม่ให้สูงเกินกว่า 5 เมตร เพื่อให้ทรงต้นโปร่ง แสงแดดสามารถเข้าถึงลำต้นได้อย่างทั่วถึง นายสมหมาย ได้ทำการปลูกทุเรียน จนเข้าสู่ปีที่ 4 ทุเรียนติดดอก แต่ไม่มีผล ปีที่ 5 คือปีที่ผ่านมาทุเรียนติดผล สามารถจำหน่ายได้เงินกว่าห้าหมื่นบาท และในปีนี้ นับเป็นปีที่ […]

ปั้นโมเดลปลูกถั่วเหลือง ผลผลิตสูง สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร

วันที่ 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.30 น. สยามคูโบต้า ร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร และ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (วษท.)   เปิดตัวโครงการ “คูโบต้า ต้นกล้า พัฒนาถั่วเหลือง” ปั้นโมเดลปลูกถั่วเหลือง ผลผลิตสูง สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยนายรัชกฤต สงวนชีวิน ผู้จัดการฝ่าย Business Value Creation บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น นายปรีชา กาเพ็ชร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ นายสุรศักดิ์ เทียบรัตน์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (วษท.) จังหวัดเชียงใหม่ ณ อาคารศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ นายปรีชา กาเพ็ชร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ กล่าวว่า “กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินงานเพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลและร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองของประเทศ โดยกรมวิชาการเกษตรได้มีโมเดลต้นแบบการผลิตถั่วเหลืองที่มีประสิทธิภาพแบบ Low carbon เป็นการใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้สามารถได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า […]

รัฐบาลเดินหน้าช่วยเหลือเกษตรกร ผลักดันโครงการ “ปุ๋ยคนละครึ่ง”

“คารม” เผยข่าวดี รัฐบาลเดินหน้าช่วยเหลือเกษตรกร ผลักดันโครงการ “ปุ๋ยคนละครึ่ง” เตรียมเสนอ ครม. พิจารณาเร็วๆ นี้ วันที่ 23 มิ.ย. 67 นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ได้มีมติเห็นชอบหลักการโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายปัจจัยการผลิตลดต้นทุนการผลิตข้าวแก่เกษตรกร โดยจะสนับสนุนปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และชีวภัณฑ์ ไม่เกินไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2567/68 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เป้าหมาย 4.68 ล้านครัวเรือน วงเงินงบประมาณ 29,994.3445 ล้านบาท โดยที่ประชุมมอบหมายให้กรมการข้าวนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็วที่สุด เพื่อช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนการทำเกษตรให้กับเกษตรกร นายคารม กล่าวว่า ปุ๋ยที่เข้าร่วมโครงการ เป็นปุ๋ยที่ได้รับการขึ้นทะเบียน หรือหนังสือสำคัญรับแจ้งถูกต้องตามพ.ร.บ.ปุ๋ยและชีวภัณฑ์ ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนถูกต้องตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ซึ่งเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถเลือกรับการสนับสนุนปุ๋ยสำหรับนาข้าวที่ขึ้นทะเบียน เบื้องต้นจำนวน 13 รายการ […]

ประเมินคัดเลือกสถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทานดีเด่นประจำปี 2568 (ระดับกรม)

รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ตรวจประเมินคัดเลือกสถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทานดีเด่นประจำปี 2568 (ระดับกรม) กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานโซน 9 จังหวัดเชียงใหม่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง เพื่อติดตามข้อมูลเชิงพื้นที่เตรียมแผนแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพใช้น้ำ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2567 เวลา 08.30 น. นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการดำเนินการคัดเลือกสถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2568 พร้อมด้วย รศ.ดร.อภิชาติ อนุกูลอำไพ ประธานอนุกรรมการวิชาการและการจัดตั้งคลังข้อมูลน้ำแล้ง นายธเนศ ดิษฐปัญญา ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ สำรวจวางแผนแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและตรวจประเมินการคัดเลือกสถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2568 (ระดับกรม) กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานโซน 9 จังหวัดเชียงใหม่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แตง” โดย นายอัฏฐวิชย์ นาควัชระ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 มอบหมายให้ นายอภิวัฒน์ ภูมิไธสง รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 เป็นผู้แทน พร้อมด้วย นายนพดล […]

อ.สูงเม่น ขับเคลื่อนการปลูกผัก สร้างความมั่นคงทางอาหาร

เมื่อวันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2567 ณ บ้าน นางสาวจีรนันท์ กำยาน เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญงาน เลขที่ 207 หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำชำ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ได้ขับเคลื่อนกิจกรรม “น้อมนำแนวพระราชดำริของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร รอบที่ 2 สร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน ภายใต้แนวคิด “จะพัฒนาใครเขาต้องพัฒนาเราก่อน” รณรงค์ปลูกผักสวนครัวผ่าน “ผู้นำต้นแบบตัวอย่างที่แท้จริง” เป็นกลไกขับเคลื่อนปฎิบัติการสู่ทุกครัวเรือนคือคลังอาหาร ทุกหมู่บ้านคือศูนย์แบ่งปัน เกิดทักษะชีวิตใหม่ ในการสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

ปศุสัตว์แม่สะเรียง เตือนผู้เลี้ยงโค-กระบือ ระวังโรคปากเท้าเปื่อยในช่วงฤดูฝน

ปศุสัตว์อำเภอแม่สะเรียง เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือ ระวังโรคปากเท้าเปื่อยในช่วงฤดูฝน วันนี้ 13 มิย.67 นายทองรัตน์ สิงห์แก้ว ปศุสัตว์อำเภอแม่สะเรียง เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ช่วงฤดูฝน ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกหนัก บางพื้นที่น้ำท่วมขังและเปียกชื้นส่งผลต่อสุขภาพสัตว์โดยตรง ทำให้สัตว์อ่อนแอ ภูมิคุ้มกันโรคลดต่ำลง มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย โรคคอบวม และโรคติดเชื้ออื่น ๆ ที่สามารถพบบ่อยในช่วงฤดูฝน เช่น โรคไข้สามวัน เป็นต้น ขอให้เกษตรกรหมั่นตรวจสอบอาการสัตว์เลี้ยงของตนเอง รวมทั้งสถานที่เลี้ยงสัตว์หากมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบหรือความเสี่ยงจากอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ควรเคลื่อนย้ายนำสัตว์ไปยังที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยง หากเกษตรกรรายใดพบว่า โค กระบือที่เลี้ยงไว้ป่วยลง ด้วยอาการผิดปกติ ยืนซึม มีแผลบริเวณปากและกีบเท้า น้ำลายฟูมปาก ให้สงสัยทันทีว่าป่วยด้วยโรคปากเท้าเปื่อย รีบแจ้งปศุสัตว์อำเภอทันทีเพื่อออกไปตรวจสอบ เมื่อพบว่าป่วยจริงจะทำการกักบริเวณห้ามเคลื่อนย้ายเพื่อป้องกันการระบาดของโรค ขณะนี้ สำนักงานปสุสัตว์อำเภอแม่สะเรียง ได้ดำเนินการโครงการรณรงค์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรค ปากและเท้าเปื่อย รอบที่ 1/2567 โดยออกดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยและวัคซีนโรคคอบวมให้แก่ โค-กระบือ แพะ แกะ ทุกหมู่บ้าน/ตำบล […]

ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง และส้มสายน้ำผึ้งฝาง ได้ขึ้นทะเบียนรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ระบุ ผม พร้อมด้วย หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ และ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้าและการตลาด สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ ได้ร่วมกันแถลงข่าวประชาสัมพันธ์สินค้าที่ได้ขึ้นทะเบียนรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย ลิ้นจี่จักรพรรดิ และส้มสายน้ำผึ้งฝาง ผลไม้ชื่อดังของอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ แปลงลิ้นจี่จักรพรรดิ บ้านโป่งถืบใน ม.15 ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เพื่อประชาสัมพันธ์ไม้ผลอัตลักษณ์จังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายของผู้บริโภค โดยอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญและมีศักยภาพสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะ “ลิ้นจี่จักรพรรดิ” และ “ส้มสายน้ำผึ้งฝาง” ซึ่งที่ผ่านมาจังหวัดเชียงใหม่ได้ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตผลไม้ทั้งสองชนิดนี้ให้มีคุณภาพดีและได้มาตรฐาน และได้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) กับทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา จนล่าสุด สินค้าเกษตรทั้ง 2 ชนิด ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ สินค้า GI ของจังหวัดเชียงใหม่เพิ่มเติมเรียบร้อยแล้ว ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการประกาศขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับ “ลิ้นจี่จักรพรรดิฝาง” เป็นผลไม้ที่ปลูกได้ในพื้นที่อำเภอฝาง แม่อาย และไชยปราการ […]

เกษตรกรเชียงใหม่ยิ้มได้ ผลผลิตมะม่วงปีนี้ราคาดี

วันนี้ (7 มิ.ย. 67) ที่บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เดินทางมาเยี่ยมเยือนผู้ประกอบการที่มาออกบูธในงานวันมะม่วงของดีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2567 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-7 มิถุนายน 2567 ภายในงานมีพ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบการจำนวนมากนำผลผลิตมะม่วงที่ดีได้มาตรฐานจากสวนของตนเองและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วงมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรงในราคาย่อมเยาว์ โดยมีคนมาจับจ่ายเลือกซื้อผลผลิตกันเป็นจำนวนมาก นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า เชียงใหม่ ขึ้นชื่อในเรื่อง “มะม่วงล่าฤดู” คือมะม่วงที่ออกหลังฤดูกาล ออกชุดสุดท้ายหลังจากที่จังหวัดอื่นออกหมดแล้ว เป็นมะม่วงที่มีคุณภาพดี รูปทรงสวยงาม ผิวดีสีสวย รสชาติดี ในปี 2565 มะม่วงที่ปลูกในจังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนล้นตลาด ทำให้ต้องนำไปเลี้ยงช้างเพื่อระบายผลผลิต และในปี 2566 ที่ผ่านมา จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการ แมชชิ่งจับคู่ผู้ซื้อกับผู้ขายให้มีความตรงกัน ส่งผลให้ราคามะม่วงในปีนี้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก ด้านภาพรวมของสถานการณ์ผลผลิตมะม่วงในจังหวัดเชียงใหม่ปีนี้ มีผลผลิตประมาณ 70,000 ตัน น้อยกว่าปีที่ผ่านมากว่า 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งมากเกินไปทำให้ผลผลิตมะม่วงน้อยกว่าปีที่ผ่านมา แต่เนื่องจากการจับคู่ตลาดเชื่อมรวมกลุ่มเกษตรกรที่มีและสิทธิภาพนั้น ทำให้ปีนี้เกษตรกรสามารถจำหน่ายมะม่วงได้ในราคาที่สูงกว่าปีที่ผ่านมาเกือบร้อยเปอร์เซ็นในบางสายพันธุ์ จึงขอเชิญชวนประชาชน […]

ประชุมขับเคลื่อนแนวทางการส่งเสริมและผลักดันยกระดับผลผลิตทางการเกษตรสู่การส่งออก

ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนแนวทางการส่งเสริมและผลักดันยกระดับผลผลิตทางการเกษตรสู่การส่งออก การจำหน่ายผลผลิตผลไม้จังหวัดแพร่ร่วมกับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เมื่อวันพุธที่ 5 มิถุนายน 2567 เวลา 09.30 น. นายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนแนวทางการส่งเสริมและผลักดัน ยกระดับผลผลิตทางการเกษตรสู่การส่งออก การจำหน่ายผลผลิตผลไม้จังหวัดแพร่ ร่วมกับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดแพร่ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแพร่ และหน่วยงานสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมหารือกับกลุ่มเกษตรกรชาวสวนผลไม้ (ทุเรียน ลองกอง) ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เพื่อรับทราบปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ จากการหารือพบว่า เกษตรกรมีปัญหาในเรื่องการขนส่ง เนื่องจากเส้นทางคมนาคมไม่สามารถปรับปรุงหรือก่อสร้างใหม่ให้สะดวกได้ เนื่องจากอยู่ในเขตป่าไม้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลไทรย้อยประสานการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่โดยเร็ว การประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ณ ห้องประชุมไทรงาม องค์การบริหารส่วนตำบลไทรย้อย

สมาพันธ์เกษตรยั่งยืน​ จัดกิจกรรมเพื่อสังคม​ พร้อมสัมมนาและอบรม

ด้วยในวันที่ 7 – 8 มิถุนายน 2567 ที่จะถึงนี้ สมาพันธ์เกษตรยั่งยืน เชียงใหม่ จะได้จัดกิจกรรมที่ดีมีประโยชน์แก่พี่น้องชาวเกษตรกร กับการประชุมสัมมนาอบรมในหัวข้อ ระบบนิเวศเกษตรสู่ความยั่งยืนของพี่น้องเกษตรกรไทย ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 7​ อาคาร 30 ปีคณะวิศวกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยได้รับเกียรติจากนายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่และ ผศ.ดร.ปฏิรูป ผลจันทร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรม-สิ่งแวดล้อมคณะวิศวกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาเป็นประธานในการเปิดและร่วมบรรยาย โดยมีหัวข้อสำคัญๆที่น่ารู้มากมาย ทั้งสองวัน อาทิ​ คาร์บอนและการประเมินคาร์บอนในระบบนิเวศเกษตรสู่การซื้อขายคาร์บอนเครดิตและดินและการตรวจสอบศักยภาพในการเก็บกักคาร์บอนในพื้นที่เกษตร อีกทั้งการบรรยายและฝึกปฏิบัติในหัวข้อ การบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ การฝึกปฏิบัติการลงบันทึกข้อมูลในระบบ OAN ทุกหัวข้อจะมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ที่รอบรู้ในเรื่องของเกษตรมาเป็นผู้บรรยาย จึงขอเชิญชวนพี่น้องชาวเกษตรกรเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ เพราะนี่คือประโยชน์ล้วนๆ ที่พี่น้องชาวเกษตรกรไม่ควรพลาดโอกาส 7 – 8 มิถุนายนนี้ ที่ห้องประชุม 2 ชั้น 7 อาคาร 30 ปี คณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ […]

สุดทึ่ง!! ชาวสวนพะเยาปลูกทุเรียนสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว

เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ฤดูทุเรียนราชาผลไม้ยอดฮิตที่กำลังวางขายตามตลาดในหลายจังหวัดของภาคเหนือ ทั้งนี้พบว่าส่วนใหญ่ราคาพุ่งสูงถึง กก.ละ 200 – 250 หากเป็นลูกที่แกะแล้วก็จะอยู่ที่ 800 – 1,000 บาท ส่วนใหญ่ทุเรียนที่พบจะเป็นพันธุ์หมอนทองและก้านยาว รองลงมาจะเป็น หลง – หลินลับแล กระดุมรวมไปถึงพันธุ์อื่น ๆ ที่กำลังเริ่มมีมาขาย ทั้งนี้ในพื้นที่ของ จ.พะเยา โดยเฉพาะ อ.ปง และ อ.เชียงคำ ได้มีชาวสวนหลายรายเริ่มหันมาปลูกทุเรียนกินเองรวมทั้งนำขายอีกด้วย ซึ่งทำให้ผู้ที่ทราบข่าวเริ่มที่จะหันมาสนใจลองชิมทุเรียนในพื้นที่ของตัวเองเช่นกัน นางนารี ศรีสมบัติ อายุ 47 ปี ชาวบ้านปางค่าใต้ ม.1 ต.ผาช้างน้อย อ.ปง จ.พะเยา ได้เล่าว่า ในเรื่องของการปลูกทุเรียนนั้นต้องบอกก่อนว่าตนเองชื่นชอบในการกินทุเรียนอยู่แล้ว โดยเมื่อก่อนเวลาถึงฤดูทุเรียนออกผลและมีมาวางขายตนเองจะซื้อกินเป็นประจำ แต่นานวันเข้าก็เห็นว่าช่วงต้นฤดูกาลทุเรียนจะราคาแพงพอสมควร จึงได้คุยกับสามีรวมทั้งลูก ๆ ว่าอยากลองปลูกทุเรียนที่บ้านซึ่งหลังจากนั้นตนเองก็ได้เริ่มหันมาทดลองปลูกทุเรียน โดยรอบบ้านมีทั้งหมดเกือบ 40 ต้นมากกว่า 10 สายพันธุ์ ซึ่งผลผลิตนั้นออกมาให้ชิมได้ 2 […]

หนุ่มแม่พุง อ.วังชิ้น จ.แพร่ พลิกวิกฤติโควิดเป็นโอกาส สร้างรายได้จากผักกูด

หนุ่มแม่พุง อ.วังชิ้น จ.แพร่ พลิกวิกฤติโควิดเป็นโอกาส สร้างรายได้จากผักกูด ส่งขายทั้งต้นกล้าและตัดยอดสร้างรายได้งาม พร้อมเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ดูงานไม่หวงวิชา ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดแพร่ว่า จากวิกฤติโควิด ทำให้หลายคนที่ประกอบอาชีหลัก ต่างทยอยกลับภูมิลำเนาเพื่อตั้งหลัก ในการหาอาชีพที่สามารถอยู่บ้านตนเองและลดรายจ่ายลง เช่นเดียวกับเป็น นายเอก ปาคำ เจ้าของสวนผักกูด ตั้งอยู่ ม.10 ต.แม่พุง อ.วังชิ้น จ.แพร่ ที่ต้องหยุดงานประจำ แล้วกลับมาตั้งหลักที่บ้านเกิด นายเอกเปิดเผยว่า เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ได้มีวิกฤตเรื่องโรคโควิดซึ่งตอนนั้น มีอาชีพได้ขับรถยนต์แกร็บคาร์รับ-ส่งนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ แต่หลังโควิดระบาดทำให้นักท่องเที่ยวลดลงรายได้ก็ลดลงตาม จึงต้องกลับมาพักผ่อนที่บ้านเกิดในอำเภอวังชิ้นจังหวัดแพร่ ซึ่งก็ได้ทำการเกษตรได้มากรีดยางและปลูกกล้วยไข่กำแพงเพชรไปด้วย จากนั้นก็หาข้อมูลตามสื่อที่จะทำอาชีพเสริม ได้หาข้อมูลในเฟซบุ๊กพบว่าต้นผักกูดสามารถปลูกได้จึงทำการสั่งซื้อจากคนขายทางภาคใต้มาปลูกทิ้งไว้ในสวนกล้วย ผ่านฤดูฝนไปต้นผักกูดสวยมากจึงลองถ่ายลงเฟซบ้างในกลุ่มเกษตรบ้างจึงมีคนสอบถามซื้อต้นพันธุ์ผักกูดไปปลูก ราคามีตั้งแต่ 2 บาท ไปถึงถึงหลักสิบ แล้วแต่ขนาด จากนั้นจึงเริ่มมองหาแหล่งที่ผักกูดในป่าเขาที่ใกล้บ้าน และเริ่มโพสขายทางออนไลน์ประมาน 1-2 ปี ยอดขายตันผักกูดดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ฟาร์มผักกูดนั้นได้ปลูกเพื่อเป็นแหล่งเรียนสำหรับผู้ที่สนใจและเป็นแรงบันดาลใจให้ทั้งตัวเองและคนที่เข้ามาชมฟาร์มฯจะได้เห็นสถานที่ปลูก,วิธีปลูก,ขนาดต้น,ลักษณะต้น,ใบ,ของผักกูดและได้เก็บยอดอ่อนไปทานฟรีปลอดสารเคมีแบบ 100% แบบเกษตรเชิงท่องเที่ยวซึ่งได้เรียนรู้ จากการเห็นเขาทำที่เชียงใหม่ตอนขับแกร็บคาร์ส่งนักท่องเที่ยว สำหรับผู้ที่สนใจ เข้ามาศึกษาเรียนรู้ ฟาร์มผักกูด ยินดีต่อยอดให้ไปสร้างอาชีพ สามารถขายได้ทั้งต้นกล้าและตัดยอดขาย สร้างรายได้อย่างดี […]

ลำไย 8 จังหวัดภาคเหนือ ผลผลิตในฤดู 6.37 แสนตัน เริ่มออกตลาดปลาย มิ.ย.

นายธวัชชัย  เดชาเชษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 เชียงใหม่ (สศท.1) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตามสถานการณ์ผลิตลำไยของ 8 จังหวัดภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา ลำปาง ตาก แพร่ และน่าน) โดย สศก. ร่วมกับคณะทำงานย่อยเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกภาคเหนือ จัดทำข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคเหนือ ครั้งที่ 2/2567 (ข้อมูล ณ 14 พฤษภาคม 2567) พบว่า ปี 2567 ลำไยของ 8 จังหวัดภาคเหนือ มีเนื้อที่ยืนต้น จำนวน 1,254,937 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ที่มีจำนวน 1,269,344 ไร่ (ลดลง 14,407 ไร่ หรือร้อยละ 1.13 เนื่องจากเกษตรกรโค่นต้นลำไยที่มีอายุมากและให้ผลผลิตน้อย โดยปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น เช่น ยางพารา ทุเรียน มะม่วง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ด้านผลผลิตรวม มีจำนวน 978,974 […]

กลุ่มเกษตรกรฯ บ้านตอนิมิตร รับพระราชทานโล่รางวัลสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ

กลุ่มเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านตอนิมิตร ปลาบปลื้มใจ รับพระราชทานโล่รางวัล สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2567 จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 นายสมศักดิ์ ปานดอนไพร สหกรณ์จังหวัดแพร่ เปิดเผยว่า จังหวัดแพร่ มีสถาบันเกษตรกรที่ได้รับรางวัลดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 ประเภท กลุ่มเกษตรกรทำนา ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านตอนิมิตร จังหวัดแพร่ โดย ด.ต. สุนทร จำรูญ ประธานกรรมการกลุ่มเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านตอนิมิตร เข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี พ.ศ. 2567 เมื่อวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง สหกรณ์จังหวัดแพร่ กล่าวว่า กลุ่มเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านตอนิมิตร มีสมาชิก 39 คน คณะกรรมการ 9 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ 1 คน มีทุนดำเนินงาน 821,850 […]

เกษตรเชียงใหม่ ยกระดับการผลิตอะโวคาโดแบบครบวงจร

วันที่ 9 พฤษภาคม 2567 เวลา 11.00 น. นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ยกระดับการผลิตอะโวคาโดโดยใช้ถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม สร้างรายได้พัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน เกษตรจังหวัดร่วมบูรณางานกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ (เกษตรที่สูง) ดำเนินโครงการพัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัย ตามแผนปฏิบัติราชการของจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2567 กิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอโวคาโดและกิจกรรมปรับปรุงและพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อะโวคาโด ได้แก่ การสกัดน้ำมันอะโวคาโด สบู่อะโวคาโด ครีมทาผิวอะโวคาโด สครับผิวอะโวคาโด แฮร์โค้ทอะโวคาโด รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดอะโวคาโด ระหว่างวันที่ 1-9 พฤษภาคม 2567 ณ ที่ทำการแปลงใหญ่อะโวคาโดบ้านโป่งแยงนอก ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผู้เข้าร่วมโครงการหมด 60 ราย โดยอบรมรุ่นที่ 1วันที่ 1-5 พฤษภาคม 2567 เรื่องการแปรรูป รุ่นที่ 2 วันที่ 8-9พฤษภาคม 2567 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต นางรัชนีวรรณ์ เป็งพรม เกษตรอำเภอแม่ริม กล่าวว่าสำหรับตำบลโป่งแยง พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ […]

แม่ออนแล้งหนัก! กระทบนาข้าว-ลำไย ขาดน้ำยืนต้นตาย

วันนี้ (8 พ.ค.67) นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่, เกษตรจังหวัดเชียงใหม่, ชลประทานเชียงใหม่, ปภ.เชียงใหม่, นายอำเภอแม่ออน ลงพื้นที่ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง และช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนลำไย ในแปลงที่ไม่มีสระน้ำในสวนของตนเอง และปีนี้ได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง และสภาพอากาศร้อนจัดที่ยาวนาน ส่งผลให้ต้นลำใยมีอาการแห้ง ขาดน้ำ และถ้าไม่มีน้ำมาหล่อเลี้ยงจะทำให้ต้นลำไยที่มีอายุมากกว่า 20 ปีแห้งตายได้ เมื่อวันจันทร์ที่ 6 พ.ค.67 ปฏิบัติการในวันนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้มีน้ำหล่อเลี้ยงรักษาต้นลำไย ไว้ไม่ให้ยืนต้นตาย เพื่อที่เกษตรกรจะได้ไม่ต้องตัดทิ้ง และต้องปลูกใหม่ ซึ่งจะใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะเก็บผลผลิตได้ สำหรับการแก้ปัญหาระยะยาว ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้สั่งการให้นายอำเภอแม่ออน ตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุภัยพิบัติเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง เพื่อรับแจ้งเหตุจากผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งโดยแจ้งได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ออน และให้เดินสำรวจสระน้ำใกล้เคียง ที่ใช้การไม่ได้ ว่าจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร ในเบื้องต้นทราบว่า มีสภาพที่ตื้นเขิน ทางจังหวัดเชียงใหม่ จะได้บูรณาการทุกหน่วยงาน ที่มีรถขุด มาขุดลอกให้อย่างเร่งด่วน เพื่อที่จะได้เก็บน้ำฝนในช่วงฤดูฝนนี้ ให้มีน้ำมากเพียงพอที่จะให้เกษตรกรได้ใช้ในฤดูแล้งต่อไปได้ในทุกปี . ทั้งนี้ อำเภอแม่ออน มีพื้นที่ได้รับผลกระทบประมาณ 1,800 ไร่ […]

1 2 3 141