28

จังหวัดแม่ฮ่องสอน kickoff โครงการสนับสนุนพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มอบหมายให้ นายสมชาย ลีหล้าน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประธานในพิธีเปิดตัวโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/2567 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกรชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอนเข้าร่วมในโครงการ สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 ให้แก่เกษตรกรผู้ได้รับเงินช่วยเหลือในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท โดยเริ่มกำหนดการโอนเงินผ่านทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้กับเกษตรกรพร้อมกันทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 โดยจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีผู้ได้รับสิทธิ์เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566/2567 ที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2566/2567 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 2,960 […]

กลุ่มเกษตรกรยุติการชุมนุม หลังเข้าพบ รมต.ที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 66 กลุ่มเกษตรกรที่ชุมนุมเรียกร้องราคารับซื้อข้าวโพดตกต่ำ ประกาศยุติการชุมนุม หลังนำเรื่องการชดเชยการเกษตรปรึกษาและนำเข้าพิจจาราณาในช่วงเย็นของวันนี้โดยกลุ่มเกษตรกรยื่นข้อเสนอไป 2 ข้อ คือ 1.งดรับซื้อและนำเข้าข้าวสาลีและข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้าน 2.ชดเชยราคาไร่ละ 1,000 บาท ต่อหนึ่งครัวเรือน ครัวเรือนละไม่เกิน 40 ไร่ ทั้งนี้ กลุ่มเกษตรกรแจ้งว่า ร.อ.ธรรมนัส พรมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเดินทางมารับเรื่องในพื้นที่จังหวัดน่านในช่วงประมาณกลางเดือนธันวาคม โดยกลุ่มเกษตรกรเตรียมยื่นเรื่องย้าย หัวหน้าสำนักงานพานิชจังหวัดน่าน เนื่องจากไม่พอใจในการแก้ปัญหาและส่งเรื่องร้องเรียนล่าช้าประกาศยุติการชุมนุมเมื่อเวลา 12.40 น. เหตุการณ์ทั่วไปเข้าสู่ภาวะปกติ

เกษตร จ.เชียงใหม่ ชวนส่งสุขปีใหม่ ด้วยส้มสายน้ำผึ้งฝาง GI

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตร จังหวัดเชียงใหม่ ส่งเสริมพืช GI ส้มสายน้ำผึ้งฝาง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้สินค้าอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ในส้มสายน้ำผึ้งฝาง ณ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เกษตร จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า “ ส้ม”เป็นผลไม้ที่สื่อถึงความมงคล และมีประโยชน์ต่อร่างกาย รสชาติดี หาซื้อได้ง่ายทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ไทย,ปีใหม่จีนหรือตรุษจีน ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งผลิตส้มคุณภาพที่สำคัญเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ปีการผลิตที่ผ่านมาสามารถสร้างมูลค่าแก่จังหวัดได้ประมาณ 4,320 ล้านบาท นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่ที่สำคัญชนิดหนึ่งของจังหวัด ที่มีพื้นที่การผลิต 34,899 ไร่ พันธุ์ที่นิยมปลูกคือพันธุ์สายน้ำผึ้ง ซึ่งมีปลูกมากที่อำเภอฝาง แม่อาย คาดว่าปีนี้จะมีผลผลิตส้มออกสู่ตลาดประมาณ 137,880 ตัน โดยจะให้ผลผลิตในช่วงเดือนกันยายนถึงเมษายน ออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนธันวาคม ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลปีใหม่ของไทย กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ คำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยทั้งระบบการผลิต จึงดำเนินการส่งเสริมการผลิตส้มปลอดภัยแก่เกษตรกร โดยใช้ระบบการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ ตั้งเป้าให้เกษตรกรได้GAPทุกราย โดยมีการบริหารจัดการครบวงจร รวมถึงต่อยอดการท่องเที่ยว และจากการดำเนินโครงการส่งเสริมพืชอัตลักษณ์ประจำถิ่น […]

มทร.ล้านนา ร่วมลงนาม MOU สหกรณ์เชียงใหม่ และ สหกรณ์การเกษตรจอมทอง เดินหน้างานวิจัยและพัฒนาศักยภาพสหกรณ์การเกษตรจอมทอง

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร พัชรประกิติ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยงานวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพสหกรณ์การเกษตรจอมทอง จำกัด กับ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ สหกรณ์การเกษตรจอมทอง จำกัด โดยมีนางสาวกมลวรรณ นุชัย สหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ นายธีระทรัพย์ วงศ์ยุพล ประธานกรรมการ สหกรณ์การเกษตรจองทอง จำกัด เป็นผู้ร่วมลงนาม ณ แปลงลำไยคุณภาพสมาชิกสหกรณ์การเกษตรจอมทอง จำกัด ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่การลงนามความร่วมมือดังกล่าวฯ ว่าด้วยงานวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพสหกรณ์การเกษตรจอมทอง จำกัด มีหลักการสำคัญคือการเพิ่มมูลค่าผลผลิตลำไยในพื้นที่จอมทอง-ดอยหล่อ ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตและปัญหาหนี้สินเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์การเกษตรจอมทอง จำกัด โดยเน้นการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในเรื่องการพัฒนาศักยภาพของคน พัฒนาระบบ และกลไกของชุมชนให้มีทักษะ ความรู้ และความสามารถในด้านการบริหารจัดการที่ดี การจัดระบบข้อมูล และองค์ความรู้ของงานวิจัยเพื่อพัฒนาและสื่อสารงานพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยด้านการให้บริการวิชาการที่มุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

สำนักงานเกษตรอำเภอสันกำแพง ขอความร่วมมือเกษตรกรในพื้นที่หยุด!! ตั๊กแตน

สำนักงานเกษตรอำเภอสันกำแพง ขอประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ และขอความร่วมมือเกษตรกรในพื้นที่หยุด!!! ตั๊กแตนเป็นศัตรูของพืชหลายชนิด!หมั่นป้องกันกำจัด และห้ามปล่อยออกสู่ธรรมชาติคำแนะนำสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยง “ตั๊กแตน” และวิธีการป้องกันกำจัดในแปลงปลูก “ตั๊กแตน”วิธีการป้องกันกำจัดในแปลงปลูก “ตั๊กแตน” หากมีการเลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้าในพื้นที่ ขอความร่วมมือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือเกษตรกร ประสานให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสันกำแพง ได้ที่เบอร์โทร 053-331096

รับสมัครผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

​นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 จากการประชุมคณะอนุกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ ครั้งที่ 1/2566 เพื่อเข้าเป็นคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการสรรหาและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2566 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติงานการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินการ 24 วัน หากดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในวันที่กำหนดสามารถขออนุมัติขยายระยะเวลาในการดำเนินการต่อไปได้ และเห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดังกล่าว โดยมีกำหนดการรับสมัครระหว่างวันที่ 16 – 21 พฤศจิกายน 2566 ไม่เว้นวันหยุดราชการ (08.30 น. – 16.30 น.) และ เห็นชอบใบสมัครผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเป็นกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งคณะกรรมการทำหน้าที่เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีกำหนดนโยบายด้านการฟื้นฟูและการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกร เสนอคณะรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ออกระเบียบและประกาศ เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร และคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆโดยคณะกรรมการมีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ คณะกรรมการตามที่พระราชบัญญัติกำหนด จำนวน 10 คน ผู้แทนเกษตรกร จำนวน 20 คน […]

พช.แพร่ จัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคี โคก หนอง นา โมเดล ที่อำเภอ​เด่นชัย​

เมื่อวันพุธ​ที่ 15 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. ณ แปลงโคก หนอง นา โมเดล นางอนงค์​ ปราบปราม บ้านต้นม่วง หมู่​1 ตำบลปงป่าหวาย​ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ สำนักงาน​พัฒนา​ชุมชนอำเภอ​เด่นชัย​ นำโดย นางสาวนภัทร แสนดำรง นักวิชาการ​พัฒนา​ชุมชน​ชำนาญ​การ​ รักษา​ราชการแทนพัฒนาการอำเภอเด่นชัย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พัฒนา​ชุมชน​อำเภอ​เด่นชัย​ จัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคี​ โคก หนอง นา โมเดล อำเภอเด่นชัย โดยมีนายอำเภอเด่นชัย, ปลัดอำเภอ หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง​ อำเภอ​เด่นชัย, ปลัดอำเภอประจำตำบลปงป่าหวาย, เกษตรประจำตำบลปงป่าหวาย, กำนันตำบลปงป่าหวาย, ผู้ใหญ่บ้าน, ชมรมอาสาพัฒนาชุมชนอำเภอเด่นชัย และเครือข่ายโคกหนองนาอำเภอเด่นชัย​ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว นายวีรกานต์ บุญตัน พัฒนาการจังหวัดแพร่ มอบหมายให้ นางวิลาสินี จองไพจิตรสกุล นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการพิเศษ และ นางสาวเจนจิรา สารพันธ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน […]

สส.แพร่เขต2 ลุยต่อเนื่องเร่งแก้ปัญหาราคาข้าวและข้าวโพดตกต่ำ

หารือเร่งด่วนกับรองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์สส.แพร่เขต2 ลุยต่อเนื่องเร่งแก้ปัญหาราคาข้าวและข้าวโพดตกต่ำเข้าพบและหารือเร่งด่วนกับรองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เมื่อบ่ายวันที่ 15 พฤศจืกายน 256666 เวลา 15.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล “หมออุ๋ย”นพ.นิยม วิวรรธนดิฐกุล สส.แพร่ เขต 2 พร้อมด้วยคณะนายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ,อธิบดีและรองอธิบดีกรมการค้าภายในได้เข้าพบ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อร่วมหารือในการหาแนวทางเพื่อแก้ปัญหา ข้าวและข้าวโพดราคาตกต่ำ โดยมีทิศทางที่ดี และจะรีบดำเนินการโดยเร็ว เพื่อให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกทั้งประเทศ นพ.นิยม วิวรรธนดิฐกุล สส.แพร่ เขต 2 กล่าวว่า หลังจากที่ตนเองรับทราบปัญหาจากพี่น้องกลุ่มเกษตรกรชาวอำเภอสอง เมื่อวันที่13พฤศจิกายน 2566ที่ผ่านมา ตนเองในฐานะที่เป็นสส.ในเขตพื้นที่จึงรีบประสานไปยังรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและวัน สส.แพร่ เขต 2กล่าวอีกว่าต่อมาวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เวลา 11.300 น. จึงได้เข้าพบ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้รายงานปัญหาราคาข้าวและข้าวโพดตกต่ำที่เป็นปัญหาของกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ จึงนำมาถึงการหารือกับคณะรัฐมนตรี ในวันนี้ เพื่อหาทางออกช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรเพือบรรเทาความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วนต่อไป

ปศุสัตว์จังหวัดแม่ฮ่องสอนรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องโรคในโค กระบือ

ปศุสัตว์จังหวัดแม่ฮ่องสอนเปิดการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย โรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมีย และการทำลายเชื้อในพื้นที่เสี่ยง รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (Kick-off)” วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน 2567 นายสมพงษ์ พิพัฒพงค์ชัย ปศุสัตว์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานเปิดกิจกรรมการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย โรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมีย และการทำลายเชื้อในพื้นที่เสี่ยง รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (Kick-off) และปล่อยขบวนเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลห้วยผา อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน นำโดย นายธีรชัย ชัยธรรม ปศุสัตว์อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาสุขภาพ เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งจัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ออกเป็น 4 ชุด ออกให้บริการฉีดวัคซีนกระจายครอบคลุมทั้งพื้นที่ โดยได้ดำเนินการฉีีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยใน โค 170 ตัว กระบือ 265 ตัว รวม 435 ตัว เกษตรกร จำนวน 23 ราย และฉีดวัคซีนป้องกันโรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมียในกระบือ […]

(มีคลิป)กลุ่มเกษตรกรข้าวโพด จ.น่าน เข้ายื่นหนังสือขอความช่วยเหลือราคาผลผลิตตกต่ำ

กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดจังหวัดน่าน เข้ายื่นหนังสือเรื่องขอความช่วยเหลือราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปักหลัก ปิดสำนักงานพาณิชย์จังหวัดน่าน จนกว่าจะรู้ผล เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ณ. สำนักงานพานิชย์จังหวัดน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดจังหวัดน่าน โดยมีนายรัตน์ ครุทนา ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดกลุ่มเกษตรกร , นายเล่าโอง ภัทระเคหา และนางอิศราานันท์ กันทา รวมตัวชุมนุมที่ด้านหน้าสำนักงานพาณิชย์จังหวัดน่าน เพื่อติดตามการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2566/67 โดยมีประเด็นที่เสนอขอราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์(ชนิดเมล็ด) ความชื้น 30% ราคา 8 บาทต่อกิโลกรัม และความชื้น 14% กิโลกรัมละ 11.50-12.00 บาท โดยก่อนหน้านี้ผู้ชุมนุมได้ยื่นหนังสือแจ้งขอรับความช่วยเหลือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดน่านเพื่อให้มีมาตรการช่วยเหลือ นายรัตน์ ครุทนา ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดกลุ่มเกษตรกร กล่าวว่า ได้รับฟังคำชี้แจ้งสถานการณ์ราคาข้าวโพด เรื่องการแจ้งผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ และทางภาคส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมหารือและนัดหมายให้มารับฟังชี้แจง เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566 […]

ปศุสัตว์ร้องกวาง รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมีย

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 น.สพ.ปรัชญา โสภารัตน์ นายสัตวแพทย์ชำนาญการ รักษาราชการแทน ปศุสัตว์อำเภอร้องกวาง พร้อมด้วย น.สพ.ศิษฎา สินธุศักดิ์ นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ นายอิสรา ค้าไม้ เจ้าพนักงานสัตวบาล นางสาวณัฐวรา สืบหงษ์ พนักงานจ้างเหมาบริการช่วยงานด้านสัตวแพทย์ลงพื้นที่ตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง เพื่อรณรงค์การฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และวัคซีนป้องกันโรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมีย โดยการบรรยายให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคที่สำคัญ และการใช้วัคซีนในโคและกระบือ ตามโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมีย รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2567 และให้บริการขึ้นทะเบียน และปรับปรุงข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ณ ห้องประชุมสภา องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง พร้อมทั้งเข้าตรวจเยี่ยม และทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมีย ให้กระบือของเกษตรกรในพื้นที่ และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกัน และควบคุมโรคแก่เกษตรกร จากการตรวจเยี่ยมได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรในพื้นที่เป็นอย่างดี

เศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้าน

กำนันนุ้ย นำศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนในพื้นที่ตำบลเชิงดอย ดูงานเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้าน เพื่อนำองค์ความรู้เทคนิควิธีการไปพัฒนาบุคลากร เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น.ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลเชิงดอยนำโดย นางสาวโสรัตยา บัวชุม หรือกำนันนุ้ย กำนัน ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ร่วมนำ ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลเชิงดอย ศึกษาดูงาน โดยร่วมประสานติดต่อบริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด (โอ้กะจู๋) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา(ดอยสะเก็ด) ศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนในพื้นที่ตำบลเชิงดอย เพื่อนำองค์ความรู้เทคนิควิธีการไปพัฒนาบุคลากร และบริหารจัดการในสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม กลุ่มอาชีพ เศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้าน โดยเข้าร่วมศึกษาดูงานตาทลำดับดังนี้ เวลา 08.30 น.- 12.00 น. ร่วมอบรม ด้านเทคนิคการบริหารจัดการบริษัทโอ้กะจู๋ ให้ประสบความสำเร็จในระดับประเทศ และลงพื้นที่เพื่อศึกษาการทำปุ๋ยอินทรีย์การปลูกผักออแกนิค โดย คุณชัดชาญ เอกชัยพัฒนกุล ที่ปรึกษาผู้บริหารชั้นสูง และลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ขั้นตอนหมักปุ๋ยอินทรีย์ ที่ได้นำเศษใบไม้ หรือวัสดุต่างๆ ที่สามารถนำกลับมาทำเป็นปุ๋ยได้ […]

ทีมปศุสัตว์อ.หนองม่วงไข่ รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรค

ทีมปศุสัตว์อ.หนองม่วงไข่ รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย โรคเฮมรายิกเซปทิซีเมีย โดยทำลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยง รอบที่1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 น. สพ.ญ.ปิยะวดี นุ่มนวล นายสัตวแพทย์ชำนาญการ รักษาราชการแทนปศุสัตว์อำเภอหนองม่วงไข่ สพ.ญ.กวินันท์ อนุกุล นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ นายณัชพล มั่นเหมาะ เจ้าพนักงานสัตวบาล นางสาวทิวาพร ดอนศิลา พนักงานเฝ้าระวังโรคฯ และนางสาวแพรพลอย ธนพลเดชาพิศุทธ์ ผู้ช่วยสัตวแพทย์ ลงพื้นที่เข้าตรวจเยี่ยม และได้ทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย โรคเฮมรายิกเซปทิซีเมีย และได้ทำกิจกรรมพ้นยาฆ่าเชื้อโรคในฟาร์มโคเนื้อ ในพื้นที่อำเภอหนองม่วงไข่ ตามโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย โรคเฮมรายิกเซปทิซีเมีย และทำลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยง รอบที่1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำลายเชื้อและควบคุมโรค และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคแก่เกษตรกร จากการตรวจเยี่ยมได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรในพื้นที่เป็นอย่างดี

ทิศทางราคาข้าวตลาดโลก ปี 2023 – 2024 มีความเสี่ยงพุ่งสูง?

ราคาข้าวในตลาดโลกยังมีความเสี่ยงพุ่งสูง? อินเดียสั่งงดส่งออกข้าวเพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพราคาข้าวให้กับคนในประเทศ แต่ก็ทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งสูงทำสถิติในรอบ 10 ปี ถ้ามองในแง่ดีบรรดากลุ่มผู้ส่งออกข้าว ซึ่งรวมถึงไทยด้วยน่าจะได้อานิสงส์ แต่ราคาที่พุ่งขึ้นคือภาระของคนในประเทศ และนักวิเคราะห์หลายคนออกมาแสดงความกังวลถึงสถานการณ์ที่จะส่งผลต่อเงินเฟ้อทั่วโลกที่อาจจะพุ่งสูงขึ้นตามอีกระลอกเป็นไปได้ ปัจจุบันราคาข้าวในตลาดโลกผันผวนพอสมควร โดยเฉพาะหลังจากอินเดียประกาศระงับการส่งออกข้าวเมื่อปลายเดือนที่แล้ว เพียง 3 วัน หลังจากข้อตกลงส่งออกธัญพืชรัสเซียล่ม รัฐบาลอินเดียก็เริ่มบังคับใช้คำสั่งห้ามส่งออกข้าว เพื่อรับมือกับปัญหาในประเทศ ทั้งราคาอาหารที่พุ่งสูง อัตราเงินเฟ้อถีบตัวสูงขึ้นและความกังวลถึงผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนินโญ ที่อาจจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงในช่วงที่ตรงกับการเลือกตั้งพอดี  แต่การแก้ปัญหาในครั้งนี้ของอินเดียกลับยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารของโลกให้ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก โดยราคาข้าวในตลาดโลกทะยานขึ้นสูงสุดในรอบมากกว่า 10 ปี ท่ามกลางความกังวลว่าข้าวในฐานะอาหารหลักของคนมากกว่าครึ่งโลกจะกลายเป็นโดมิโน่ตัวแรกที่ล้มก่อนที่ราคาอาหารประเภทอื่นๆ จะพุ่งสูงตามไปด้วยซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลไปถึงราคาพลังงานและค่าครองชีพในที่สุด  นับตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมาอินเดียในกระโดดแซงหน้าไทยและก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก ข้อมูลจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ เอฟเอโอ(FAO) ชี้ว่า เมื่อปีที่แล้วอินเดียครองส่วนแบ่งการส่งออกข้าวมากถึง 40% ของทั้งโลกทิ้งห่างไทยที่เป็นอันดับ 2 เกือบ 3 เท่า ตามมาด้วย เวียดนามปากีสถาน และ สหรัฐฯ ข้าวจากอินเดียถูกส่งไปขายยัง 140 ประเทศทั่วโลก ดังนั้นประเทศที่พึ่งพิงการนำเข้าข้าวอินเดีย อย่าง บังกลาเทศ เนปาล เบนินโตโกและมาลี ต้องรับแรงกระแทกจากนโยบายข้าวของอินเดียไปแบบเต็มๆแต่อาจจะมีทางออกอยู่บ้าง เพราะว่ารัฐบาลอินเดียยังเปิดโอกาสให้ชาติอื่นๆ สามารถเข้าไปขอเจรจาซื้อข้าวแบบจีทูจี(G2G) หรือว่ารัฐต่อรัฐได้ซึ่งหลายประเทศเริ่มมีติดต่อเข้าไปแล้ว แต่อินเดียไม่ใช่ผู้ส่งออกข้าวเจ้าเดียวที่ทำให้ตลาดโลกกังวล นั้นเพราะตอนนี้เมียนมากลายเป็นประเทศล่าสุดที่ออกมาประกาศระงับการส่งออกข้าวนาน 45 วัน เพื่อควบคุมราคาในประเทศ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้สิ้นเดือนนี้และแม้ว่าเมียนมาจะไม่ติด 5 อันดับแรกของประเทศผู้ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลกในปัจจุบัน แต่หลายคนกังวลเขาว่าประเทศอื่นๆ อาจจะเคลื่อนไหวตามเมียนมา เพื่อชะลอผลกระทบในประเทศและเตรียมตัวรับมือกับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่วนกลับมาเกิดอีกครั้งในรอบ 7 ปีก็เป็นไปได้ สถานการณ์นี้เคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อปี 2008 ตอนนั้น เวียดนาม เริ่มจำกัดการส่งออกข้าวตามมาด้วยอินเดีย กัมพูชา และอีกหลายประเทศ จนกลายเป็นวิกฤตข้าวโลกและทำให้ราคาข้าวพุ่งทะลุ 3 เท่าในเวลาเพียงไม่กี่เดือน แต่สถานการณ์ในตอนนี้อาจย่ำแย่และต่างออกไป เพราะว่าวิกฤติโลกร้อนและสงครามรัสเซียยูเครน  เอฟเอโอ รวบรวมข้อมูลราคาส่งออกข้าวรายเดือนในหลายประเทศมาจัดทำเป็นดัชนีราคาข้าวในตลาดโลก พบว่านับตั้งแต่ สองยักษ์ใหญ่ผู้ส่งออกธัญพืชอย่างรัสเซียและยูเครนเปิดฉากทำสงครามเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามความต้องการข้าวที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อทดแทนธัญพืชที่มีลดลงในตลาดโลก สถานการณ์ในปีนี้กระโดดขึ้นไปเลวร้ายกว่าเก่า โดยเฉพาะหลังจากอินเดียระงับส่งออกข้าวราคาข้าวพุ่งสูงขึ้นประมาณ 20% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วหรือสูงที่สุดในรอบ 12 ปี และดูจากแนวโน้มในปัจจุบันนักวิเคราะห์บางส่วนบอกว่าสถานการณ์นี้อาจจะยังไม่ดีขึ้นในเร็วๆ นี้ แต่อย่าพึ่งวิตกกังวลมากเกินไป เพราะว่าเกษตรกรและพ่อค้าในเวียดนามเองก็เล็งเห็นถึงโอกาสจากราคาส่งออกข้าวของประเทศที่ปรับตัวกระโดดขึ้นสูงถึง 35% ถือว่าสูงที่สุดในรอบ 15 ปี ก็เลยหันมาเร่งปลูกข้าวเพื่อป้อนความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในตลาดโลก แต่ในไทยยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนเรื่องข้าวที่ราคาภายในประเทศนั้นตกต่ำลงจนเหลือไม่ถึง 10 บาท ขณะที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประเมินว่าในปีหน้าประเทศผู้ส่งออกข้าวรายอื่นๆ เช่น บราซิล ปากีสถาน และเวียดนาม น่าจะเพิ่มการส่งออกทดแทนส่วนต่างของข้าวอินเดียที่หายไป ส่วนปลายปีนี้ไปจนถึงปีหน้ามีการคาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวของทั้งโลกน่าจะเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยโดยเฉพาะในรัสเซีย ยูกันดา และสหรัฐอเมริกา ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า ภาพรวมราคาอาหารในปีนี้จะต่ำกว่าปีที่แล้วแม้ว่าจะเจอคำสั่งห้ามส่งออกข้าวของอินเดียก็ตาม เพราะว่าผลผลิตข้าวรวมไปถึงธัญพืชอื่นๆ น่าจะเพิ่มขึ้นหลังจากนี้ เพราะสภาพอากาศไม่เลวร้ายมากอย่างที่คิด   ท้ายที่สุดแล้วฟ้าฝนเกิดไม่เป็นใจขึ้นมาหรือว่าปรากฏการณ์เอลนีโญเองก็มีผลกระทบที่ร้ายแรงมากขึ้นก็ต้องมาประเมินสถานการณ์กันใหม่ เรียบเรียงโดย : บ่าวหัวเสือ อ่านข่าวเพิ่มเติม : ชาวนาเจียงใหม่น้ำตาตกขายข้าวนึ่งได้กิโล 9 บาท…

ชาวนาเจียงใหม่น้ำตาตกขายข้าวนึ่งได้กิโล 9 บาท…

ชาวนาหลายอำเภอในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ยื่นเรื่องเจรจากับนายวีรพงษ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากราคาข้าวเหนียวสันป่าตองส่งขายได้แค่กิโลกรัมละ 9 บาท จากเดิมกิโลกรัมละ 14 บาท ด้านอธิบดีกรมการค้าภายในบอกว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สั่งการให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและกำชับให้แก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เบื้องต้นได้มีการเปิดจุดรับซื้อใน 7 จังหวัดได้แก่ เชียงราย, เชียงใหม่, แพร่, น่าน, พะเยา, ลำพูน, ลำปาง จำนวน 16 จุด พร้อมกับประสานสหกรณ์โรงสีและผู้รับซื้อจากนอกพื้นที่ให้ช่วยซื้อ โดยช่วยค่าบริการการจัดการค่าขนส่ง ซึ่งคาดว่าจะสามารถพยุงราคาข้าวเปลือกเหนียวใหม่ได้ ส่วนมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ กรมการค้าภายในจะทำแผนเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว ให้กรมบังคับภายในการเปิดจุดรับซื้อถ้ามีความจำเป็นก็พร้อมที่จะเชื่อมโยงผู้ซื้อในต่างจังหวัดเข้ามาเพิ่มเติม เช่น ชัยนาท, พิจิตรและสิงห์บุรี ราคาข้าวเปลือกเหนียวในตอนนี้ทางอธิบดีกรมการค้าภายในบอกว่ายังถือว่าไม่ต่ำกว่าช่วงปีที่ผ่านมาและจากการลงพื้นที่ติดตามการเปิดจุดรับซื้อข้าวเหนียวพบว่าชาวนานั้นเริ่มทยอยเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกเหนียวปี 2566 – 2567 ออกสู่ตลาดผลผลิตข้าวเหนียวในภาพรวมปีนี้มีอยู่ 5.85 ล้านตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 4% แต่ผลผลิตกระจุกตัวในช่วง ตุลาคม – ธันวาคม มากถึง 80%  ถ้าดูแล้วในภาพรวมทางภาคเหนือก็จะมีผลผลิต 1.46 ล้านตันมากที่สุดคือ เชียงราย 0.43 ล้านตันเชียงใหม่ 0.20 ล้านตัน ส่วนสถานการณ์ด้านราคาปีนี้ถือว่าข้าวเปลือกเหนียวที่เกษตรกรได้รับอยู่ในเกณฑ์ดีมาตลอด เฉลี่ยปีนี้ราคาข้าวเปลือกเหนียวแห้ง 12,800 บาทต่อตัน เดือนกันยายนสูงถึง 15,300 บาทต่อตัน แต่จากการที่ผลผลิตออกกระจุกตัวในช่วงนี้ทำให้ราคามีแนวโน้มเริ่มต่ำลง ข้าวเปลือกเกี่ยวสดอยู่ที่ 9,300 บาท ถึง 9,500 บาทตามคุณภาพข้าวที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวแต่ก็ยืนยันว่ายังไม่ใช่ราคาที่ถือว่าต่ำกว่าปีที่ผ่านมา จากสถานการณ์ในปัจจุบัน ข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตองที่ครบกำหนดอายุเก็บเกี่ยวจนเหลืองอร่ามครบกำหนดอายุที่ต้องเก็บเกี่ยวเต็มทุ่งนา ส่งผลให้ชาวนาในพื้นจังหวัดเชียงใหม่ เร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตประเด็นหลัก คือ ราคาไม่แน่นอนไม่สามารถคำนวณราคาต้นทุนการผลิตได้ นั้นทำให้กลุ่มชาวนา จังหวัดเชียงใหม่ พยายามเรียกร้องขอให้กรมการค้าภายในและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องช่วยมาแก้ไข ขณะที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ใช้พื้นที่สหกรณ์การเกษตรแม่ริมเป็น หนึ่ง ใน 3 จุดรับซื้อข้าวเหนียวสันป่าตองจากเกษตรกรแต่ก็ไม่สามารถช่วยเกษตรกรได้มากนัก เนื่องจากราคารับซื้อยังต้องอิงกับโรงสีตามกลไกตลาด จากการลงพื้นที่พบว่าชาวนาในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตองเนื่องจากเกรงว่าราคาข้าวจะตกลงไปมากกว่าตอนนี้  ชาวนาบอกว่าสาเหตุที่ต้องเร่งเก็บเกี่ยวเนื่องจากไม่มั่นใจเรื่องราคา ถ้าราคาถูกกว่านี้จะยิ่งขาดทุนและข้าวก็ถึงเวลาที่จะต้องเก็บเกี่ยวแล้วถ้าเกี่ยวช้ากว่านี้ก็จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพ สภาพอากาศที่แปรปรวนหากเกิดฝนตกลงมาอีกก็จะยิ่งทำให้ผลผลิตเสียหาย ประเด็นหลักคือราคาไม่แน่นอน เราไม่สามารถคำนวณราคาหรือพยุงราคาหรือประวิงราคาไม่ให้ขึ้นลงได้มันอยู่ที่นายทุนทั้งนั้นอีกอย่างก็คือระยะเวลาเก็บเกี่ยวต้องเกี่ยว […]

ค้าปลีกจำกัดการซื้อน้ำตาลทรายบรรจุถุงก่อนปรับราคาอีก 4 บาท

ค้าปลีกขนาดใหญ่ขึ้นป้ายจำกัดการจำหน่ายน้ำตาลทรายบรรจุถุงขนาด 1 กิโลกรัม ทุกยี่ห้อระบุเอาไว้ว่าซื้อได้ไม่เกิน 6 ถุงต่อ หนึ่ง ใบเสร็จ โดยราคาขณะนี้ยังอยู่ที่กิโลกรัมละ 24 ถึง 25 บาท ก่อนที่จะปรับขึ้นอีก 3 บาท ในวันพรุ่งนี้  ขณะที่ร้านสะดวกซื้อบางแห่งพบว่าน้ำตาลทรายบางยี่ห้อไม่มีจำหน่าย จากการสอบถามพนักงานขายระบุว่าสินค้าหมดสต็อก ลูกค้ามาซื้อกันอย่างต่อเนื่อง ร้อยตรีจักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ระบุว่าจากการส่งเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบการจำหน่ายน้ำตาลทรายตาม ห้างค้าส่ง ค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ เพราะมีน้ำตาลทรายวางจำหน่ายและยืนยันสต็อกยังมีของอยู่ ส่วนกรณีที่ห้างจำกัดการซื้อไม่เกิน 6 ถุงต่อ 1 ใบเสร็จ เพื่อป้องกันการกักตุน เพียงแต่ว่าการที่จำกัดการซื้อเนื่องจากมีข่าวออกมาว่าน้ำตาลจะขึ้นราคา 4 บาท ต่อกิโล อาจจะทำให้ผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่ทำการซื้อเก็บไว้ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็จะไม่เกิดผลดีจึงอยากจะขอความร่วมมือว่าไม่จำเป็นต้องซื้อเก็บไว้มากๆ เพราะว่าของไม่ได้ขาด เพราะบริโภคในประเทศแค่ 2.5% ส่งออก 7.5% ในเรื่องของปริมาณคงไม่มีปัญหาอะไร ในส่วนของผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างผู้ประกอบการที่ทำขนมที่ใช้น้ำตาลทรายในทุกๆ วัน วันละกว่า 150 กิโลกรัม ในการผลิต การขึ้นราคาน้ำตาลทรายสร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการอย่างมาก เพราะว่ากระทบกับต้นทุนการผลิตมาก แต่ไม่สามารถปรับขึ้นราคาขนมได้ แต่ต้นทุนสูงขึ้นและไม่ใช่เฉพาะตัวน้ำตาลอย่างเดียว วัตถุดิบตัวอื่นๆ ที่มันมีส่วนประกอบของความหวานก็จะขึ้นมาอีกเท่าตัวนั้นคือปัญหาที่จะตามมากระทบต่อผู้ประกอบการอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ตอนนี้จะปรับราคาขึ้นหรือจะแก้ไขปัญหาอย่างไรก็ต้องยอมรับตรงนี้ไปก่อน ส่วนผู้ประกอบการโรงงานผลิตซอสหวานในจังหวัดเชียงใหม่บอกว่าราคาน้ำตาลทรายที่สูงขึ้นทำให้ทางโรงงานต้องปรับราคาสินค้าขึ้นตามราคาวัตถุดิบ เพราะฉะนั้นผลกระทบถามว่ามีหรือไม่ก็ต้องตอบว่าไม่ได้มีผลกระทบเพราะต้องขึ้นราคาตามวัตถุดิบที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้น และเราก็ปรับขึ้นราคาสินค้าเรา ดังนั้นผู้บริโภคคือผู้แบกรับรายจ่ายที่แท้จริง ถ้าพูดกันแบบตรงๆ ก็คือ ผู้บริโภคต้องเป็นผู้จ่ายเงินในส่วนต่างพวกนี้ ให้เราผู้บริโภคก็ต้องแบกรับภาระตรงนี้ไป ในส่วนของชาวไร่อ้อย อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี บอกว่าการปรับราคาน้ำตาลในประเทศที่สูงขึ้นจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชาวไร่เพราะว่าปีนี้ผลผลิตอ้อยน้อยคุณภาพอ้อยต่ำซึ่งเป็นผลกระทบจากภัยแล้งและต้นทุนการเพาะปลูกสูง ค่าน้ำมัน ค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้นแล้วก็ยังมีค่าเช่ารถตัดอ้อยเพราะที่ไร่ตัดอ้อยสด คาดหวังว่ารัฐบาลจะช่วยค่าตัดอ้อยสด 120 บาท ต่อตัน รวมไปถึงประกาศราคาอ้อยขั้นต่ำอยู่ที่ 1,300 ถึง 1,400 บาท ต่อตัน อ้อยจะครอบคลุมต้นทุนการผลิต ถ้าหากว่ามีการปรับขึ้นก็คือจะมีต้นทุนต่อไป สำหรับปริมาณผลผลิตอ้อยปีนี้คาดว่าจะต่ำกว่าเป้าหมายเหลือ 75 […]

กรมวิชาการเกษตรแจ้งเกิดส้มโอพันธุ์ใหม่ กวก.พิจิตร 1

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ส้มโอเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญ มีแหล่งปลูกที่สำคัญในจังหวัด พิจิตร สมุทรสงคราม เชียงราย นครปฐม นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี ชัยภูมิ กาญจนบุรี ชัยนาท และสุราษฎร์ธานี พันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก ได้แก่ ทองดี ขาวใหญ่ ขาวแตงกวา ขาวน้ำผึ้ง ท่าข่อย และทับทิมสยาม โดยทั่วไปส้มโอให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ส่วนใหญ่บริโภคภายในประเทศ และมีการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ได้แก่ จีน เวียดนาม และฮ่องกง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่าสายพันธุ์ส้มโอมีการกระจายตัวอย่างหลากหลายในแต่ละแหล่งปลูก ทำให้ส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิตในบางพื้นที่ไม่ได้คุณภาพและผลผลิตต่ำ ผลผลิตไม่สม่ำเสมอ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร กรมวิชาการเกษตร จึงพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ส้มโอเพื่อให้มีความหลากหลายในด้านของสีเนื้อและรสชาติ ทนทานต่อโรคและแมลง ให้ผลผลิตสูง ผลมีคุณภาพดี เหมาะสำหรับส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้า เพิ่มโอกาสทางการตลาดตลอดจนการส่งออกในอนาคต เพื่อตอบสนองของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตรได้คัดเลือกสายต้นจากการเพาะเมล็ดซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการปรับปรุงพันธุ์ส้มโอ โดยขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์เริ่มในปี 2545 – 2549 คัดเลือกพันธุ์ส้มโอพันธุ์ทองดีจากการเพาะเมล็ดจำนวน 200 ต้น สามารถคัดเลือกได้สายต้นส้มโอที่มีรสชาติดี […]

(มีคลิป) พณ.ประสานผู้ประกอบการโรงสีภาคกลาง รับซื้อข้าวเหนียวใน 7 จังหวัดภาคเหนือ

พณ.ประสานผู้ประกอบการโรงสีในภาคกลาง เพื่อรับซื้อข้าวเหนียวใน 7 จังหวัดภาคเหนือ กระตุ้นราคาข้าวในพื้นที่ วันที่ 21 ต.ค. 66 นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในการเปิดจุดรับซื้อข้าวเหนียว ณ สหกรณ์การเกษตรแม่จัน ม.8 ต.แม่จัน อ.แม่จัน จ.เชียงราย เพื่อแก้ปัญหาราคาข้าวสารเหนียวตกต่ำ โดยประสานผู้ประกอบการโรงสีใน 3 จังหวัดภาคกลาง มารับซื้อผลผลิตข้าวของเกษตรกร ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว และจะดำเนินการไปจนกว่าราคาข้าวในพื้นที่จะกลับมาเป็นไปตามกลไกของตลาดที่แท้จริง ซึ่งวันนี้ก็ได้มีเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ รวมไปถึงจนท.จากสนง.ชั่งตวงวัด และเกษตรกรมาร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน ได้ติดตามสถานการณ์การรับซื้อข้าวเหนียวในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งที่ผ่านมาจะประสบปัญหาข้าวล้นตลาด ราคาถูก ปีนี้ในพื้นที่ จ.เชียงราย ก็เจอสถานการณ์แบบเดียวกันกับที่ผ่านมา ทางกรมการค้าภายในจึงได้เข้ามาบรรเทาปัญหาให้พี่น้องเกษตรกร โดยประสานผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคกลางเพื่อมารับซื้อผลิตผลของเกษตรกร ซึ่งนอกจาก จ.เชียงราย ก็ยังมีอีก 6 จังหวัด ที่กรมการค้าภายในได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหา มีการกำหนดจุดรับซื้อข้าวรวม 16 จุด ซึ่งจากการคาดการพบว่าจะมีผลผลิตข้าวลดลงจากปีก่อนหน้า […]

ชาวนาแม่ริมโอดราคาข้าวตกต่ำ​ วอนภาครัฐช่วยอุ้ม

นายนิมิตร​ ขยัน​ ประธานเกษตรกรชาวนาอำเภอแม่ริม​ นำสมาชิกชาวนาในอำเภอแม่ริม และตัวแทนชาวนาจากหลายอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่เข้าพบนายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พานิชย์จังหวัดเชียงใหม่ นายภัควัต​ ขันธหิรัญ​ นายอำเภอแม่ริม​ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง​ ได้เดินทางมารับทราบปัญหาความเดือดร้อนของชาวนา​ ณ​ สหกรณ์การเกษตรแม่ริม​ ต.ห้วยทราย​ เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากราคาผลิตผลิตตกต่ำทำให้ประสบกับปัญหาการขาดทุน​ หลังราคาข้าวเหนียวสันป่าตอง ซึ่งเป็นข้าวนาปีที่กำลังเก็บเกี่ยวมีราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง​จจากเดิมราคากิโลกรัมละ 14 บาท ปัจจุบันเหลือไม่ถึง 10 บาทต่อกิโลกรัม​ จึงวอนให้รัฐบาลช่วยเหลือ​พยุงราคาอย่างเร่งด่วนในขณะที่ข้าวยังอยู่ในมือเกษตรกร​ ไม่ตกอยู่ในยุ้งฉางของโรงสีหรือพ่อค้า เพราะจะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรโดยตรง​ ทั้งนี้จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 5 แสนไร่ ได้ผลผลิต กว่า 3 แสนตันในแต่ละปี​ ในจำนวนนี้ร้อยละ 65 เป็นข้าวเหนียวสันป่าตองที่เกษตรกรชาวนาในหลายอำเภอนิยมปลูก

1 2 3 4 5 135